ภาพความทรงจำของคนไทยต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ตราตรึงใจคนไทยชั่วนิรันดร์ คือ ภาพพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัดต่างๆในท้องถิ่นทุรกันดาร และทรงมีพระราชปฏิสันถารกับประชาชนโดยไม่ถือพระองค์ คนไทย 78.5 % รู้สึกว่า การได้ติดตามพระราชกรณียกิจของพระองค์จากข่าวพระราชสำนักเป็นช่วงชีวิตที่รู้สึกว่าได้เข้าไปอยู่ใกล้ พระองค์ท่าน มากที่สุด และคนไทยกว่า 60 % ได้น้อมนำคำสอนเรื่อง ความพอดี ความเพียร ความซื่อสัตย์ ไปปฏิบัติแล้ว
กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นของประชาชนเรื่อง “ความทรงจำของคนไทยที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน ทั่วประเทศ จำนวน 1,150 คน พบว่า
ภาพความทรงจำของคนไทยต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ตราตรึงใจคนไทยชั่วนิรันดร์ คือ ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปจังหวัดต่างๆ ในถิ่นทุรกันดาร ทรงขับรถลุยน้ำ ลุยโคลน เดินเท้า เพื่อเข้าไปพบปะประชาชนและมีพระราชปฏิสันถารโดยไม่ถือพระองค์ (ร้อยละ 38.8) รองลงมาคือทรงมีพระเสโท(เหงื่อ)ไหลลงมาที่ปลายพระนาสิก(จมูก)และทรงปาดพระเสโท ที่พระนลาฏ (หน้าผาก) (ร้อยละ 12.8) และ ทรงแย้มพระสรวลและโบกพระหัตถ์ให้กับประชาชนที่เข้าเฝ้าในโอกาส เสด็จออก ณ สีหบัญชร (ร้อยละ 11.8)
เมื่อถามถึงเหตุการณ์ในช่วงชีวิตที่รู้สึกว่าได้เข้าไปอยู่ใกล้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มากที่สุด เมื่อพระองค์ท่านยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ประชาชนร้อยละ 78.5 ระบุว่า ได้ติดตาม พระราชกรณียกิจของพระองค์จากข่าวพระราชสำนัก รองลงมาร้อยละ 44.8 ระบุว่าได้เข้าเฝ้าตามเส้นทางเสด็จฯ ขณะพระองค์เสด็จพระราชดำเนินตามสถานที่ต่างๆ อาทิ พระบรมมหาราชวัง พระราชวังไกลกังวล รพ.ศิริราช เป็นต้น และร้อยละ 32.6 ระบุว่าได้ไปเยี่ยมชมโครงการหลวงต่างๆ ตามรอยพระราชดำริ
ทั้งนี้ จาก 9 คำพ่อสอน ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ประชาชนยึดถือและได้น้อมนำไปปฏิบัติแล้ว ประชาชนร้อยละ 78.3 ระบุว่า “ความพอดี” รองลงมาร้อยละ 62.7 ระบุว่า “ความเพียร” และร้อยละ 62.3 ระบุว่า “ความซื้อสัตย์”
ดังรายละเอียดในต่อไปนี้
ทรงมีพระเสโท(เหงื่อ)ไหลลงมาที่ปลายพระนาสิก(จมูก)และทรงปาดพระเสโทที่พระนลาฏ (หน้าผาก) ร้อยละ 12.8 ทรงแย้มพระสรวลและโบกพระหัตถ์ให้กับประชาชนที่เข้าเฝ้าในโอกาส เสด็จออก ณ สีหบัญชร ร้อยละ 11.8 ทรงงานเพื่อประชาชนไม่เคยหยุดพักแม้จะทรงพระประชวร ร้อยละ 9.5 ทรงพระราชทานแนวคิดในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การขาดน้ำเพื่อการเกษตรในหน้าแล้ง ให้แก่ประชาชน เช่น โครงการแก้มลิง ร้อยละ 7.5 โครงการฝนหลวง และการสร้างเขื่อน และทรงลงพื้นที่ต่างๆ ด้วยพระองค์เอง 2. เหตุการณ์ในช่วงชีวิตที่รู้สึกได้ว่าเข้าไปอยู่ใกล้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มากที่สุด เมื่อพระองค์ท่านยังมีพระชนม์ชีพอยู่ (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ) ได้ติดตามพระราชกรณียกิจของพระองค์จากข่าวพระราชสำนัก ร้อยละ 78.5 ได้เข้าเฝ้าตามเส้นทางเสด็จฯ ขณะพระองค์เสด็จพระราชดำเนินตามสถานที่ต่างๆ อาทิ พระบรมมหาราชวัง พระราชวังไกลกังวล รพ.ศิริราช เป็นต้น ร้อยละ 44.8 ได้ไปเยี่ยมชมโครงการต่างๆ ตามรอยพระราชดำริ ร้อยละ 32.6 ได้อยู่อาศัยในพื้นที่/สถานที่ที่พระองค์เคยเสด็จพระราชดำเนิน ร้อยละ 21.9 ได้เข้าเฝ้าในโอกาส เสด็จออก ณ สีหบัญชร เมื่อครั้งครองราชย์ครบ 60 ปี ร้อยละ 12.2 ได้เข้าเฝ้าเมื่อครั้งพระองค์ประทับอยู่โรงพยาบาลศิริราช ร้อยละ 10.8 อื่นๆ อาทิ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ของพระองค์ท่าน ได้ประดับยศทางทหาร เป็นต้น ร้อยละ 7.0 3. จาก 9 คำพ่อสอน ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่ประชาชนยึดถือและได้น้อมนำไปปฏิบัติแล้ว (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ) ความพอดี ร้อยละ 78.3 ความเพียร ร้อยละ 62.7 ความซื่อสัตย์ ร้อยละ 62.3 คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ ร้อยละ 39.8 อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ ร้อยละ 38.2 พูดจริงทำจริง ร้อยละ 36.9 การเอาชนะใจตน ร้อยละ 36.6 ความรู้ตน ร้อยละ 33.3 หนังสือเป็นออมสิน ร้อยละ 19.2
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นประชาชนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำต่างๆ ที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และคำสอนของพระองค์ที่ได้น้อมนำไปปฏิบัติ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็น ของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทั่วประเทศด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นจึงสุ่มพื้นที่ไปยัง ประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นคน เป็นเพศชายร้อยละ 48.3 และเพศหญิงร้อยละ 51.7
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview)โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบตอบได้เองอย่างอิสระ(Open Ended) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและ ประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 11 – 14 พฤศจิกายน 2559 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 17 พฤศจิกายน 2559
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 555 48.3 หญิง 595 51.7 รวม 1,150 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 284 24.7 31 ปี - 40 ปี 230 20 41 ปี - 50 ปี 225 19.6 51 ปี - 60 ปี 222 19.3 61 ปี ขึ้นไป 189 16.4 รวม 1,150 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 753 65.5 ปริญญาตรี 343 29.8 สูงกว่าปริญญาตรี 54 4.7 รวม 1,150 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 136 11.8 ลูกจ้างเอกชน 344 29.9 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 359 31.2 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 29 2.5 ทำงานให้ครอบครัว 14 1.2 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 153 13.3 นักเรียน/ นักศึกษา 94 8.2 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 21 1.9 รวม 1,150 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--