ภาพพระราชกรณียกิจด้านสาธารณสุขที่อยู่ในความทรงจำของคนไทยคือการมีหน่วยแพทย์พระราชทานคอยช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารส่วนด้านโภชนาการคือ ทรงทดลองเพาะพันธุ์ข้าว และพระราชทานพันธุ์ข้าวแก่เกษตรกรและคนไทย 78.5% ได้น้อมนำการใช้ชีวิตแบบพอเพียงมาปฏิบัติใช้ในการดำเนินชีวิต โดยได้แรงบันดาลใจจากพระราชกรณียกิจ ของพระองค์ท่าน
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก ต่อสู้กับปัญหาความยากจน รวมถึงปัญหาด้านสาธารณสุขและด้านโภชนาการตลอดระยะเวลายาวนานของ การครองราชย์ เพื่อให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยองค์การสหประชาชาติได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ จนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก จึงต่างขนานนามพระองค์ว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา
และเนื่องในวันที่ 27 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้เป็นวันสาธารณสุขแห่งชาติ กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ธ สถิตในดวงใจ ไทยนิรันดร์ : พระมหากษัตริย์นักพัฒนา” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,266 คน พบว่า
พระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งต่อสู้กับปัญหาความยากจน เพื่อให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 78.5 น้อมนำการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงรู้จักคิด รู้จักกิน รู้จักประมาณตน มาปฏิบัติใช้ในการดำเนินชีวิตมากที่สุด รองลงมาคือ การขยันทำมาหากิน ประหยัด อดออม (ร้อยละ 67.4) และ การประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต (ร้อยละ 58.3)
เมื่อถามถึงภาพเหตุการณ์พระราชกรณียกิจด้านสาธารณสุขของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ก่อให้เกิดความซาบซึ้งและระลึกถึงมากที่สุดคือ การมีหน่วยแพทย์พระราชทานและหน่วยแพทย์ เคลื่อนที่คอยช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร (ร้อยละ 81.0) รองลงมาคือ ทรงห่วงใยผู้ป่วย และรับเป็นคนไข้ในพระราชูปถัมภ์ (ร้อยละ 51.9) และการให้แพทย์ศึกษาวิจัย เพื่อควบคุมโรคเรื้อน โรคโปลิโอ โรคอหิวาตกโรค โรควัณโรค ได้สำเร็จ
สำหรับความประทับใจมากที่สุดในการทรงงานด้านโภชนาการ การสร้างแหล่งอาหารให้คนไทยอิ่มท้อง มีสุขภาพ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นคือ ทรงทดลองเพาะพันธุ์ข้าว และพระราชทาน พันธุ์ข้าว เพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกร (ร้อยละ 73.8) รองลงมาคือ ทรงทดลองเพาะเลี้ยงปลานิลเป็นพระองค์แรก เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนให้แก่คนไทย (ร้อยละ 59.1) และทรงทดลองเลี้ยง โคนมและทรงทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์นม เพื่อเป็นแหล่งแคลเซียมให้คนไทย (ร้อยละ 40.8)
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
การใช้ชีวิตอย่างพอเพียงรู้จักคิด รู้จักกิน รู้จักประมาณตน ร้อยละ 78.5 การขยันทำมาหากิน ประหยัด อดออม ร้อยละ 67.4 การประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ร้อยละ 58.3 การตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ร้อยละ 53.3 การเสียสละช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ปิดทองหลังพระ ร้อยละ 39.0 การเป็นนักคิด นักประดิษฐ์ ตลอดเวลา ร้อยละ 10.3 การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ผู้อื่น ร้อยละ 9.9 2. ภาพพระราชกรณียกิจด้านสาธารณสุขของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ก่อให้เกิดความซาบซึ้งและระลึกถึงมากที่สุด(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) การมีหน่วยแพทย์พระราชทานและหน่วยแพทย์เคลื่อนที่คอยช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร ร้อยละ 81.0 ทรงห่วงใยผู้ป่วย และรับเป็นคนไข้ในพระราชูปถัมภ์ ร้อยละ 51.9 การให้แพทย์ศึกษาวิจัยเพื่อควบคุมโรคเรื้อน โรคโปลิโอ โรคอหิวาตกโรค โรควัณโรค ได้สำเร็จ ร้อยละ 39.5 การมีหน่วยทันตกรรมเพื่อช่วยเหลือปัญหาเรื่องฟันแก่เด็กนักเรียนและประชาชนในถิ่นทุรกันดาร ร้อยละ 36.0 การอบรมคนในหมู่บ้าน เพื่อฝึกอบรม การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การรักษาโรคอย่างง่าย ร้อยละ 23.0 การพระราชทานเจลลี่ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นแผลในช่องปาก มะเร็งในช่องปาก ร้อยละ 16.9 3. ความประทับใจในการทรงงานด้านโภชนาการ การสร้างแหล่งอาหารให้คนไทยอิ่มท้อง มีสุขภาพ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของในหลวงรัชกาลที่ 9 (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ทรงทดลองเพาะพันธุ์ข้าว และพระราชทานพันธุ์ข้าว เพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกร ร้อยละ 73.8 ทดลองเพาะเลี้ยงปลานิลเป็นพระองค์แรก เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนให้แก่คนไทย ร้อยละ 59.1 ทดลองเลี้ยงโคนมและทรงทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์นม เพื่อเป็นแหล่งแคลเซียมให้คนไทย ร้อยละ 40.8 ทรงนำเกลือเสริมไอโอดีนมาแจกจ่ายประชาชน เพื่อแก้ปัญหาการขาดสารไอโอดีน ร้อยละ 32.1
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งต่อสู้กับปัญหาความยากจน เพื่อให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้สร้าง แรงบันดาลใจให้ตัวท่านน้อมนำเรื่องใดมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิตมากที่สุด
2) เพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อภาพเหตุการณ์พระราชกรณียกิจที่ก่อให้เกิดความซาบซึ้ง ความระลึกถึง และความประทับใจของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในด้าน สาธารณสุขและด้านโภชนาการ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 21 – 22 พฤศจิกายน 2559
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 26 พฤศจิกายน 2559
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 614 48.5 หญิง 652 51.5 รวม 1,266 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 162 12.8 31 ปี - 40 ปี 287 22.7 41 ปี - 50 ปี 362 28.6 51 ปี - 60 ปี 305 24.1 61 ปี ขึ้นไป 150 11.8 รวม 1,266 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 832 65.8 ปริญญาตรี 322 25.4 สูงกว่าปริญญาตรี 112 8.8 รวม 1,266 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 185 14.6 ลูกจ้างเอกชน 301 23.8 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 543 42.8 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 53 4.2 ทำงานให้ครอบครัว 1 0.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 129 10.2 นักเรียน/ นักศึกษา 34 2.7 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 20 1.6 รวม 1,266 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--