วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :
การสำรวจครั้งนี้ ต้องการทราบความคิดเห็นของชาวกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของวุฒิสมาชิกในเรื่อง
การแบ่งพรรคแบ่งพวก การแสวงหาผลประโยชน์ การปกป้องพวกพ้อง การมีคุณธรรมและจริยธรรม การเป็นตัวอย่างที่ดีต่อ
นักการเมือง ตลอดจนความเชื่อมั่นในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และความพอใจต่อผลงานของวุฒิสภาในระยะเว
ลาที่ผ่านมา
วิธีสำรวจ :
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร
การสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขตปกครอง
ในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 30 เขต ดังนี้
จตุจักร ลาดพร้าว หนองจอก บึงกุ่ม ป้อมปราบ ราชเทวี พญาไท ดุสิต บางกอกน้อย คลองสาน คลองสามวา
ลาดกระบัง พระโขนง สายไหม สะพานสูง บางรัก ทุ่งครุ ดินแดง ดอนเมือง บางเขน คลองเตย บางนา ยานนาวา บาง
คอแหลม บางแค บางกะปิ วัฒนา สวนหลวง วังทองหลาง บางบอน
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโควต้า ตามเพศ กลุ่ม อายุและอาชีพ ได้ตัวอย่าง
ทั้งสิ้นจำนวน 1,240 คน
ความคลาดเคลื่อน :
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน + 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล :
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ภาพลักษณ์
ของสมาชิกวุฒิสภาในสายตาประชาชน"
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นในหัวข้อที่สำรวจ
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :
3-4 มีนาคม 2544
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
5 มีนาคม 2544
สำรวจโดย :
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร จำนวน 1,240 คน เป็นชายร้อยละ 48.1 เป็นหญิงร้อยละ 51.9 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 69.1 เป็น
ผู้มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เหลือร้อยละ 30.2 มีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพหลากหลาย เช่น
รับราชการ (ร้อยละ 5.1)
พนักงานรัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 3.5)
พนักงานบริษัทเอกชน (ร้อยละ 25.4)
เจ้าของกิจการ (ร้อยละ 12.7)
รับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 10.8)
ค้าขาย (ร้อยละ 14.6)
นักศึกษา (ร้อยละ 17.4)
แม่บ้าน (ร้อยละ 7.3)
และอื่น ๆ (ร้อยละ 3.1)
2. เมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อภาพลักษณ์ของสมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่ในประเด็นต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างมีความเห็น
ดังนี้
2.1 การไม่มีการแบ่งขั้ว เป็นฝักเป็นฝ่าย
ร้อยละ 28.5 ระบุว่ามีความมั่นใจ
ร้อยละ 54.2 ไม่มีความมั่นใจ
และร้อยละ 17.3 ไม่มีความเห็น
2.2 การไม่แสวงหาผลประโยชน์ในโครงการต่าง ๆ
ร้อยละ 20.6 ระบุว่ามีความมั่นใจ
ร้อยละ 60.7 ไม่มีความมั่นใจ
และร้อยละ 18.6 ไม่มีความเห็น
2.3 การไม่ปกป้องพวกพ้องที่ประพฤติมิชอบ
ร้อยละ 20.6 ระบุว่ามีความมั่นใจ
ร้อยละ 52.5 ไม่มีความมั่นใจ
และร้อยละ 26.9 ไม่มีความเห็น
2.4 การมีคุณธรรมและจริยธรรมสูง
ร้อยละ 18.8 ระบุว่ามีความมั่นใจ
ร้อยละ 54.5 ไม่มีความมั่นใจ
และร้อยละ 26.7 ไม่มีความเห็น
2.5 การเป็นตัวอย่างที่ดีต่อนักการเมือง
ร้อยละ 18.9 ระบุว่ามีความมั่นใจ
ร้อยละ 51.9 ไม่มีความมั่นใจ
และร้อยละ 29.2 ไม่มีความเห็น
3. สำหรับความมั่นใจต่อวุฒิสภาในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25.3 ระบุว่ามี
ความมั่นใจ
ร้อยละ 51.0 ระบุว่าไม่มั่นใจ
ขณะที่ร้อยละ 23.6 ไม่มีความเห็น
4. ส่วนปัญหาการแต่งตั้งที่ปรึกษากิติมศักดิ์คณะกรรมาธิการคมนาคมวุฒิสภา มีส่วนทำให้ภาพลักษณ์ของวุฒิสภาเสื่อม
เสียหรือไม่
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 37.5 ระบุว่าเสื่อมเสีย
ร้อยละ 30.4 ระบุว่าไม่เสื่อมเสีย
และร้อยละ 32.1 ไม่มีความเห็น
5. เมื่อสอบถามถึงความพอใจต่อผลงานของวุฒิสภาในระยะเวลาที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.7 พอใจ
ร้อยละ 40.5 ไม่พอใจ
และร้อยละ 31.9 ไม่มีความเห็น
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 596 48.1
หญิง 644 51.9
อายุ :
18 - 25 250 20.2
26 - 35 386 31.1
36 - 45 409 33
มากกว่า 45 ปี 191 15.4
ไม่ระบุ 4 0.3
การศึกษา :
ประถมศึกษา 141 11.4
มัธยมศึกษา 293 23.6
ปวช. 219 17.7
ปวส./อนุปริญญา 203 16.4
ปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี 374 30.2
ไม่ระบุ 10 0.8
อาชีพ :
รับราชการ 63 5.1
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 44 3.5
พนักงานเอกชน 315 25.4
เจ้าของกิจการ 158 12.7
รับจ้างทั่วไป 134 10.8
ค้าขาย 181 14.6
นักศึกษา 216 17.4
แม่บ้าน 91 7.3
อาชีพอื่น ๆ 38 3.1
ตารางที่ 2 ท่านมั่นใจต่อภาพลักษณ์ของสมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่ในประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้หรือไม่
มั่นใจ ไม่มั่นใจ ไม่มีความเห็น
การไม่มีการแบ่งขั้ว เป็นฝักเป็นฝ่าย 28.5 54.2 17.3
การไม่แสวงหาผลประโยชน์ในโครงการต่าง ๆ 20.6 60.7 18.6
การไม่ปกป้องพวกพ้องที่ประพฤติมิชอบ 20.6 52.5 26.9
การมีคุณธรรม และจริยธรรมสูง 18.8 54.5 26.7
การเป็นตัวอย่างที่ดีต่อนักการเมือง 18.9 51.9 29.2
ตารางที่ 3 ท่านมั่นใจต่อวุฒิสภาในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 314 25.3
ไม่มั่นใจ 633 51
ไม่มีความเห็น 293 23.6
ตารางที่ 4 ปัญหาการแต่งตั้งที่ปรึกษากิติมศักดิ์คณะกรรมาธิการการคมนาคมวุฒิสภา ทำให้ภาพลักษณ์ของวุฒิสภา
เสื่อมเสียหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เสื่อมเสีย 465 37.5
ไม่เสื่อมเสีย 377 30.4
ไม่มีความเห็น 398 32.1
ตารางที่ 5 ท่านพอใจในผลงานของวุฒิสภาในระยะที่ผ่านมาหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
พอใจ 343 27.7
ไม่พอใจ 502 40.5
ไม่มีความเห็น 395 31.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
การสำรวจครั้งนี้ ต้องการทราบความคิดเห็นของชาวกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของวุฒิสมาชิกในเรื่อง
การแบ่งพรรคแบ่งพวก การแสวงหาผลประโยชน์ การปกป้องพวกพ้อง การมีคุณธรรมและจริยธรรม การเป็นตัวอย่างที่ดีต่อ
นักการเมือง ตลอดจนความเชื่อมั่นในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และความพอใจต่อผลงานของวุฒิสภาในระยะเว
ลาที่ผ่านมา
วิธีสำรวจ :
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร
การสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขตปกครอง
ในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 30 เขต ดังนี้
จตุจักร ลาดพร้าว หนองจอก บึงกุ่ม ป้อมปราบ ราชเทวี พญาไท ดุสิต บางกอกน้อย คลองสาน คลองสามวา
ลาดกระบัง พระโขนง สายไหม สะพานสูง บางรัก ทุ่งครุ ดินแดง ดอนเมือง บางเขน คลองเตย บางนา ยานนาวา บาง
คอแหลม บางแค บางกะปิ วัฒนา สวนหลวง วังทองหลาง บางบอน
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโควต้า ตามเพศ กลุ่ม อายุและอาชีพ ได้ตัวอย่าง
ทั้งสิ้นจำนวน 1,240 คน
ความคลาดเคลื่อน :
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน + 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล :
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ภาพลักษณ์
ของสมาชิกวุฒิสภาในสายตาประชาชน"
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นในหัวข้อที่สำรวจ
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :
3-4 มีนาคม 2544
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
5 มีนาคม 2544
สำรวจโดย :
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร จำนวน 1,240 คน เป็นชายร้อยละ 48.1 เป็นหญิงร้อยละ 51.9 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 69.1 เป็น
ผู้มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เหลือร้อยละ 30.2 มีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพหลากหลาย เช่น
รับราชการ (ร้อยละ 5.1)
พนักงานรัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 3.5)
พนักงานบริษัทเอกชน (ร้อยละ 25.4)
เจ้าของกิจการ (ร้อยละ 12.7)
รับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 10.8)
ค้าขาย (ร้อยละ 14.6)
นักศึกษา (ร้อยละ 17.4)
แม่บ้าน (ร้อยละ 7.3)
และอื่น ๆ (ร้อยละ 3.1)
2. เมื่อสอบถามถึงความมั่นใจต่อภาพลักษณ์ของสมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่ในประเด็นต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่างมีความเห็น
ดังนี้
2.1 การไม่มีการแบ่งขั้ว เป็นฝักเป็นฝ่าย
ร้อยละ 28.5 ระบุว่ามีความมั่นใจ
ร้อยละ 54.2 ไม่มีความมั่นใจ
และร้อยละ 17.3 ไม่มีความเห็น
2.2 การไม่แสวงหาผลประโยชน์ในโครงการต่าง ๆ
ร้อยละ 20.6 ระบุว่ามีความมั่นใจ
ร้อยละ 60.7 ไม่มีความมั่นใจ
และร้อยละ 18.6 ไม่มีความเห็น
2.3 การไม่ปกป้องพวกพ้องที่ประพฤติมิชอบ
ร้อยละ 20.6 ระบุว่ามีความมั่นใจ
ร้อยละ 52.5 ไม่มีความมั่นใจ
และร้อยละ 26.9 ไม่มีความเห็น
2.4 การมีคุณธรรมและจริยธรรมสูง
ร้อยละ 18.8 ระบุว่ามีความมั่นใจ
ร้อยละ 54.5 ไม่มีความมั่นใจ
และร้อยละ 26.7 ไม่มีความเห็น
2.5 การเป็นตัวอย่างที่ดีต่อนักการเมือง
ร้อยละ 18.9 ระบุว่ามีความมั่นใจ
ร้อยละ 51.9 ไม่มีความมั่นใจ
และร้อยละ 29.2 ไม่มีความเห็น
3. สำหรับความมั่นใจต่อวุฒิสภาในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25.3 ระบุว่ามี
ความมั่นใจ
ร้อยละ 51.0 ระบุว่าไม่มั่นใจ
ขณะที่ร้อยละ 23.6 ไม่มีความเห็น
4. ส่วนปัญหาการแต่งตั้งที่ปรึกษากิติมศักดิ์คณะกรรมาธิการคมนาคมวุฒิสภา มีส่วนทำให้ภาพลักษณ์ของวุฒิสภาเสื่อม
เสียหรือไม่
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 37.5 ระบุว่าเสื่อมเสีย
ร้อยละ 30.4 ระบุว่าไม่เสื่อมเสีย
และร้อยละ 32.1 ไม่มีความเห็น
5. เมื่อสอบถามถึงความพอใจต่อผลงานของวุฒิสภาในระยะเวลาที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.7 พอใจ
ร้อยละ 40.5 ไม่พอใจ
และร้อยละ 31.9 ไม่มีความเห็น
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 596 48.1
หญิง 644 51.9
อายุ :
18 - 25 250 20.2
26 - 35 386 31.1
36 - 45 409 33
มากกว่า 45 ปี 191 15.4
ไม่ระบุ 4 0.3
การศึกษา :
ประถมศึกษา 141 11.4
มัธยมศึกษา 293 23.6
ปวช. 219 17.7
ปวส./อนุปริญญา 203 16.4
ปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี 374 30.2
ไม่ระบุ 10 0.8
อาชีพ :
รับราชการ 63 5.1
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 44 3.5
พนักงานเอกชน 315 25.4
เจ้าของกิจการ 158 12.7
รับจ้างทั่วไป 134 10.8
ค้าขาย 181 14.6
นักศึกษา 216 17.4
แม่บ้าน 91 7.3
อาชีพอื่น ๆ 38 3.1
ตารางที่ 2 ท่านมั่นใจต่อภาพลักษณ์ของสมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่ในประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้หรือไม่
มั่นใจ ไม่มั่นใจ ไม่มีความเห็น
การไม่มีการแบ่งขั้ว เป็นฝักเป็นฝ่าย 28.5 54.2 17.3
การไม่แสวงหาผลประโยชน์ในโครงการต่าง ๆ 20.6 60.7 18.6
การไม่ปกป้องพวกพ้องที่ประพฤติมิชอบ 20.6 52.5 26.9
การมีคุณธรรม และจริยธรรมสูง 18.8 54.5 26.7
การเป็นตัวอย่างที่ดีต่อนักการเมือง 18.9 51.9 29.2
ตารางที่ 3 ท่านมั่นใจต่อวุฒิสภาในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 314 25.3
ไม่มั่นใจ 633 51
ไม่มีความเห็น 293 23.6
ตารางที่ 4 ปัญหาการแต่งตั้งที่ปรึกษากิติมศักดิ์คณะกรรมาธิการการคมนาคมวุฒิสภา ทำให้ภาพลักษณ์ของวุฒิสภา
เสื่อมเสียหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เสื่อมเสีย 465 37.5
ไม่เสื่อมเสีย 377 30.4
ไม่มีความเห็น 398 32.1
ตารางที่ 5 ท่านพอใจในผลงานของวุฒิสภาในระยะที่ผ่านมาหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
พอใจ 343 27.7
ไม่พอใจ 502 40.5
ไม่มีความเห็น 395 31.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--