คนไทยซาบซึ้งประทับใจต่อการทรงงานของในหลวง ร. ๙ ด้านการพัฒนา “ป่า” ฟื้นฟูป่าชายเลน ในโครงการศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน โดยพระราชดำริการปรับปรุงพัฒนา “ดิน” ด้วยการใช้หญ้าแฝก เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่คนไทยประทับใจและการทรงงานด้านการพัฒนา “น้ำ” ด้วยการหาแนวทางป้องกันอุทกภัย ในโครงการแก้มลิง เป็น โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่คนไทยประทับใจอย่างมิเสื่อมคลายโดยจะขอสานต่องานอนุรักษ์ ป่า ดิน น้ำ ด้วยการไม่ทำลายแหล่งน้ำ ใช้น้ำอย่างคุ้มค่า และไม่ทำลายป่า
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ธ สถิตในดวงใจ ไทยนิรันดร์ : รักษ์ป่า...ดิน...น้ำ สานต่องาน พ่อสร้าง” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,158 คน พบว่า การทรงงานของในหลวงรัชกาลที่9 ต่อโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับ “ป่า” ที่สร้างความซาบซึ้งประทับใจกับคนไทยอย่างมิเสื่อมคลาย คือ ทรงตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี โดยเน้นเรื่องสภาพแวดล้อม การฟื้นฟูป่าชายเลนและโครงการ อนุรักษ์หญ้าทะเล (ร้อยละ 46.4) รองลงมาคือทรงตั้งศูนย์ศึกษาตัวอย่างสาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรกรรมและงานศิลปาชีพ เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า หาความรู้เพิ่มเติม อาทิ ศูนย์ศึกษา การพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร (ร้อยละ 39.0) และทรงอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ พัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน (ร้อยละ 35.6)
ส่วนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับ “ดิน” ที่สร้างความซาบซึ้งประทับใจอย่างมิเสื่อมคลาย คือ ทรงมีพระราชดำริใช้ “หญ้าแฝก” ในการพัฒนา ปรับปรุง บำรุงดิน ฟื้นฟูดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม (ร้อยละ 71.0) รองลงมาคือ โครงการ “แกล้งดิน” ใช้วิธีการทางธรรมชาติในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว (ร้อยละ 59.0) และ แนวพระราชดำริ “การห่มดิน”เพื่อการฟื้นฟูดินที่เสื่อมสภาพ ให้ดินมีความชุ่มชื้น จุลินทรีย์ทำงานได้ดี ดินมีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 33.1)
สำหรับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับ “น้ำ” ที่สร้างความซาบซึ้งประทับใจให้กับคนไทยอย่างมิเสื่อมคลาย คือ ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยจึง ทรงมีแนวพระราชดำริ “โครงการแก้มลิง” เพื่อกักเก็บน้ำ (ร้อยละ 66.9) รองลงมาคือ ทรงตระหนักถึงภาวะแห้งแล้งจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาตินำ มาซึ่ง “โครงการฝนหลวง” (ร้อยละ 66.5) และทรงมีแนวพระราชดำริให้สร้าง เขื่อน เพื่อกักน้ำให้พอเพียงสำหรับการบริโภค การเกษตร และ เพาะพันธุ์ปลา เช่น เขื่อนป่าสัก ชลสิทธิ์ เขื่อนขุนด่านปราการชล (ร้อยละ 48.3)
ทั้งนี้ความตั้งใจของคนไทยในการสืบสานงานอนุรักษ์ ป่า ดิน น้ำ ตามพ่อสร้าง คือ จะไม่ทำลายแหล่งน้ำ โดยไม่ทิ้งขยะมูลฝอย (ร้อยละ 57.2) รองลงมาคือ จะบริโภค น้ำอย่างประหยัดคุ้มค่า (ร้อยละ 53.7) และจะไม่ตัดไม้ทำลายป่า/นำของป่าออกมาใช้ (ร้อยละ 52.0)
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ทรงตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน จ.จันทบุรี เน้นเรื่องสภาพแวดล้อม การฟื้นฟูป่าชายเลนและโครงการอนุรักษ์หญ้าทะเล ร้อยละ 46.4 ทรงตั้งศูนย์ศึกษาตัวอย่างสาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรกรรมและงานศิลปาชีพ เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า หาความรู้เพิ่มเติม อาทิ ร้อยละ 39.0 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร ทรงอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ พัฒนาพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา ร้อยละ 35.6 ห้วยฮ่องไคร้ โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่, โครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำพูน ทรงตั้งศูนย์ศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จ.เพชรบุรี เพื่อเน้นการรักษาสภาพป่าชายเลนโดยวิธีทางธรรมชาติ ร้อยละ 34.2 ทรงพัฒนาพื้นที่ป่าพรุ ตามโครงการศูนย์ศึกษาวิจัยธรรมชาติและป่าพรุสิรินทร และ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ร้อยละ 29.4 ทรงพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมอันเหมาะสมแก่สภาพพื้นที่ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่ โครงการห้วยองคต จังหวัดกาญจนบุรี ร้อยละ 27.2 2. การทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ต่อโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับ “ดิน” ที่สร้างความซาบซึ้งประทับใจอย่างมิเสื่อมคลาย (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ทรงมีพระราชดำริใช้หญ้าแฝกในการพัฒนา ปรับปรุงบำรุงดิน ฟื้นฟูดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม ร้อยละ 71.0 โครงการแกล้งดิน ใช้วิธีการทางธรรมชาติในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว ร้อยละ 59.0 แนวพระราชดำริ “การห่มดิน” เพื่อการฟื้นฟูดินที่เสื่อมสภาพ ให้ดินมีความชุ่มชื้น จุลินทรีย์ทำงานได้ดี ดินมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 33.1 ทรงฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม ตามโครงการศึกษาฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี ร้อยละ 25.1 3. การทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ต่อโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเกี่ยวกับ “น้ำ” ที่สร้างความซาบซึ้งประทับใจอย่างมิเสื่อมคลาย (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยจึงทรงมีแนวพระราชดำริ โครงการแก้มลิง เพื่อกักเก็บน้ำ ร้อยละ 66.9 ทรงตระหนักถึงภาวะแห้งแล้งจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาล ตามธรรมชาตินำมาซึ่ง โครงการฝนหลวง ร้อยละ 66.5 ทรงมีแนวพระราชดำริให้สร้าง เขื่อน เพื่อกักน้ำให้พอเพียงสำหรับการบริโภค การเกษตร และ เพาะพันธุ์ปลา(เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ร้อยละ 48.3 เขื่อนขุนด่านปราการชล) ทรงมีแนวพระราชดำริบำบัดน้ำเสียด้วย ตามโครงการกังหันชัยพัฒนา และ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย ร้อยละ 30.5 ทรงมีแนวพระราชดำริ การบริหารจัดการน้ำโดยยึดหลักการ "เบี่ยงน้ำ" (Diversion) ตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "คลองลัดโพธิ์" ร้อยละ 23.8 ทรงมีพระราชดำริ “โครงการผันน้ำเข้าที่ส่วนพระองค์” บริเวณพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ทุ่งมะขามหย่อง จ.อยุธยา ร้อยละ 21.0 ทรงพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำและ แหล่งอาหารแก่เกษตรกร โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว ร้อยละ 15.5 4. ความตั้งใจในการสืบสานงานอนุรักษ์ ป่า ดิน น้ำ ตามพ่อสร้าง (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ไม่ทำลายแหล่งน้ำ โดยไม่ทิ้งขยะมูลฝอย ร้อยละ 57.2 บริโภคน้ำอย่างประหยัดคุ้มค่า ร้อยละ 53.7 ไม่ตัดไม้ทำลายป่า/นำของป่าออกมาใช้ ร้อยละ 52.0 ปลูกต้นไม้ ปลูกป่าทดแทน ร้อยละ 46.1 ซื้อผักปลอดสารพิษ ไม่ใช้สารเคมี ร้อยละ 36.9 นำความรู้ที่ได้จากโครงการตามแนวพระราชดำริไปปรับใช้กับที่ดินของตนเอง ร้อยละ 33.0 รณรงค์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ร้อยละ 22.6 ขยายแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ร้อยละ 17.7
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการทรงงานของในหลวงรัชการที่ 9 เกี่ยวกับ ป่า ดิน น้ำ ที่สร้างความซาบซึ้งและประทับใจมิเสื่อมคลาย
2) เพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อความตั้งใจในการสืบสานงานอนุรักษ์ ป่า ดิน น้ำ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 29 - 30 พฤศจิกายน 2559
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 4 ธันวาคม 2559
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 566 48.9 หญิง 592 51.1 รวม 1,158 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 175 15.1 31 ปี - 40 ปี 256 22.1 41 ปี - 50 ปี 331 28.6 51 ปี - 60 ปี 226 19.6 61 ปี ขึ้นไป 169 14.6 รวม 1,158 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 729 63.4 ปริญญาตรี 352 30.4 สูงกว่าปริญญาตรี 72 6.2 รวม 1,158 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 148 12.8 ลูกจ้างเอกชน 266 23 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 490 42.3 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 44 3.8 ทำงานให้ครอบครัว 5 0.4 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 160 13.8 นักเรียน/ นักศึกษา 36 3.1 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 9 0.8 รวม 1,158 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--