วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :
การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับเรื่อง
หวยล็อก ในประเด็นการทราบข่าวเกี่ยวกับการล็อกเลขสลากกินแบ่งรัฐบาล ความเชื่อการล็อกเลข ความมั่นใจในความ
โปร่งใสของการออกสลากที่ผ่านมา และความเห็นวิธีการออกสลากแบบใหม่ การป้องกันการล็อกเลขอย่างมีประสิทธิภาพ
ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ตลอดจนความต้องการซื้อสลากภายหลังจากการมีข่าวหวยล็อก
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง :
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร
เทคนิคการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขตปกครอง
ในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 30 เขต ดังนี้
คลองเตย คลองสาน จอมทอง ดินแดง ดุสิต บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางคอแหลม
บางซื่อ บางบอน บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ป้อมปราบฯ พญาไท พระโขนง ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี
ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สาทร สายไหม หนองแขม หลักสี่ ห้วยขวาง
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโควต้า ตามกลุ่มอายุ เพศ และอาชีพ ได้ตัวอย่าง
ทั้งสิ้นจำนวน 1,200 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) :
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล :
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ประชาชนคิด
อย่างไรกับหวยล็อก"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :
21 - 22 พฤศจิกายน 2544
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
22 พฤศจิกายน 2544
สำรวจโดย :
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18 ปีขึ้นไป
อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,200 คน
เป็นชายร้อยละ 49.2 เป็นหญิงร้อยละ 50.8
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 17.8 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี
ร้อยละ 34.8 มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี
ร้อยละ 37.3 มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี
และร้อยละ 10.1 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 65.2 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ที่เหลือร้อยละ 34.9 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพ รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัทเอกชน เจ้าของกิจการ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย นักศึกษา และแม่บ้าน
2. เมื่อถามว่าทราบข่าวเกี่ยวกับการล็อกเลขสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือไม่
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 95.1 ทราบ
ร้อยละ 4.9 ไม่ทราบ
3. สำหรับความเชื่อว่ามีการล็อกเลขสลากกินแบ่งรัฐบาลในบางงวดจริงหรือไม่
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 82.8 ระบุเชื่อว่ามีจริง
ร้อยละ 10.6 ระบุไม่เชื่อว่ามีจริง
และร้อยละ 6.7 ไม่มีความเห็น
4. ส่วนความมั่นใจในความโปร่งใสของการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ผ่านมาหรือไม่
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 77.0 ระบุว่าไม่มั่นใจ
ร้อยละ 6.3 ระบุว่ามั่นใจ
และร้อยละ 16.7 ไม่มีความเห็น
5. เมื่อถามข่าวเรื่องการล็อกเลขจะทำให้คนซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลน้อยลงหรือมากขึ้น
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.4 ระบุว่าเหมือนเดิม
ร้อยละ 30.8 ระบุว่าน้อยลง
ร้อยละ 4.8 ระบุว่ามากขึ้น
และร้อยละ 5.9ไม่มีความเห็น
6. สำหรับคำถามเห็นด้วยหรือไม่ว่าควรเปลี่ยนวิธีการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลใหม่ (โดยไม่ใช้คนตักลูกบอล)
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.5 ระบุว่าเห็นด้วย
ร้อยละ 9.5 ระบุว่าไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 27.0 ไม่มีความเห็น
7. ส่วนความมั่นใจหรือไม่ว่าสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจะป้องกันการล็อกเลขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 65.3 ระบุว่าไม่มั่นใจ
ร้อยละ 12.8 ระบุว่ามั่นใจ
และร้อยละ 21.9 ไม่มีความเห็น
8. เมื่อถามว่าชอบซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวยใต้ดิน
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.8 ระบุว่าสลากกินแบ่งรัฐบาล
ร้อยละ 11.2 ระบุว่าหวยใต้ดิน
ร้อยละ 38.5 ซื้อทั้งสองอย่าง
และร้อยละ 20.5 ไม่ซื้อทั้งสองอย่าง
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 590 49.2
หญิง 610 50.8
อายุ :
18 - 25 ปี 213 17.8
26 - 35 ปี 418 34.8
36 - 45 ปี 448 37.3
มากกว่า 45 ปี 121 10.1
การศึกษา :
ประถมศึกษา 67 5.6
มัธยมศึกษา 186 15.5
ปวช. 315 26.3
ปวส./อนุปริญญา 214 17.8
ปริญญาตรี 373 31.1
สูงกว่าปริญญาตรี 45 3.8
อาชีพ :
รับราชการ 52 4.3
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 53 4.4
พนักงานเอกชน 490 40.8
เจ้าของกิจการ 76 6.3
รับจ้างทั่วไป 116 9.7
ค้าขาย 181 15.1
นักศึกษา 118 9.8
แม่บ้าน 79 6.6
อาชีพอื่น ๆ 35 2.9
ตารางที่ 2 ท่านทราบข่าวเกี่ยวกับการล็อกเลขสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ทราบ 1,141 95.1
ไม่ทราบ 59 4.9
ตารางที่ 3 ท่านเชื่อว่ามีการล็อกเลขสลากกินแบ่งรัฐบาลในบางงวดจริงหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เชื่อว่ามีจริง 993 82.8
ไม่เชื่อว่ามีจริง 127 10.6
ไม่มีความเห็น 80 6.7
ตารางที่ 4 ท่านมั่นใจในความโปร่งใสของการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ผ่านมาหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 76 6.3
ไม่มั่นใจ 924 77
ไม่มีความเห็น 200 16.7
ตารางที่ 5 ท่านคิดว่าข่าวเรื่องการล็อกเลขจะทำให้คนซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลน้อยลงหรือมากขึ้น
จำนวน ร้อยละ
มากขึ้น 58 4.8
เหมือนเดิม 701 58.4
น้อยลง 370 30.8
ไม่มีความเห็น 71 5.9
ตารางที่ 6 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่าควรเปลี่ยนวิธีการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลใหม่ (โดยไม่ใช้คนตักลูกบอล)
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 762 63.5
ไม่เห็นด้วย 114 91.5
ไม่มีความเห็น 324 27
ตารางที่ 7 ท่านมั่นใจหรือไม่ว่าสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจะป้องกันการล็อกเลขได้อย่างมีประสิทธภาพ
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 153 12.8
ไม่มั่นใจ 784 65.3
ไม่มีความเห็น 263 21.9
ตารางที่ 8 ท่านชอบซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวยใต้ดิน
จำนวน ร้อยละ
สลากกินแบ่งรัฐบาล 358 29.8
หวยใต้ดิน 134 11.2
ซื้อทั้งสองอย่าง 462 38.5
ไม่ซื้อทั้งสองอย่าง 246 20.5
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับเรื่อง
หวยล็อก ในประเด็นการทราบข่าวเกี่ยวกับการล็อกเลขสลากกินแบ่งรัฐบาล ความเชื่อการล็อกเลข ความมั่นใจในความ
โปร่งใสของการออกสลากที่ผ่านมา และความเห็นวิธีการออกสลากแบบใหม่ การป้องกันการล็อกเลขอย่างมีประสิทธิภาพ
ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ตลอดจนความต้องการซื้อสลากภายหลังจากการมีข่าวหวยล็อก
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง :
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร
เทคนิคการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขตปกครอง
ในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 30 เขต ดังนี้
คลองเตย คลองสาน จอมทอง ดินแดง ดุสิต บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางคอแหลม
บางซื่อ บางบอน บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ป้อมปราบฯ พญาไท พระโขนง ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี
ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สาทร สายไหม หนองแขม หลักสี่ ห้วยขวาง
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโควต้า ตามกลุ่มอายุ เพศ และอาชีพ ได้ตัวอย่าง
ทั้งสิ้นจำนวน 1,200 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) :
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล :
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ประชาชนคิด
อย่างไรกับหวยล็อก"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :
21 - 22 พฤศจิกายน 2544
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
22 พฤศจิกายน 2544
สำรวจโดย :
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18 ปีขึ้นไป
อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,200 คน
เป็นชายร้อยละ 49.2 เป็นหญิงร้อยละ 50.8
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 17.8 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี
ร้อยละ 34.8 มีอายุระหว่าง 26 - 35 ปี
ร้อยละ 37.3 มีอายุระหว่าง 36 - 45 ปี
และร้อยละ 10.1 มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 65.2 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ที่เหลือร้อยละ 34.9 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพ รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัทเอกชน เจ้าของกิจการ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย นักศึกษา และแม่บ้าน
2. เมื่อถามว่าทราบข่าวเกี่ยวกับการล็อกเลขสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือไม่
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 95.1 ทราบ
ร้อยละ 4.9 ไม่ทราบ
3. สำหรับความเชื่อว่ามีการล็อกเลขสลากกินแบ่งรัฐบาลในบางงวดจริงหรือไม่
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 82.8 ระบุเชื่อว่ามีจริง
ร้อยละ 10.6 ระบุไม่เชื่อว่ามีจริง
และร้อยละ 6.7 ไม่มีความเห็น
4. ส่วนความมั่นใจในความโปร่งใสของการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ผ่านมาหรือไม่
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 77.0 ระบุว่าไม่มั่นใจ
ร้อยละ 6.3 ระบุว่ามั่นใจ
และร้อยละ 16.7 ไม่มีความเห็น
5. เมื่อถามข่าวเรื่องการล็อกเลขจะทำให้คนซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลน้อยลงหรือมากขึ้น
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.4 ระบุว่าเหมือนเดิม
ร้อยละ 30.8 ระบุว่าน้อยลง
ร้อยละ 4.8 ระบุว่ามากขึ้น
และร้อยละ 5.9ไม่มีความเห็น
6. สำหรับคำถามเห็นด้วยหรือไม่ว่าควรเปลี่ยนวิธีการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลใหม่ (โดยไม่ใช้คนตักลูกบอล)
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.5 ระบุว่าเห็นด้วย
ร้อยละ 9.5 ระบุว่าไม่เห็นด้วย
และร้อยละ 27.0 ไม่มีความเห็น
7. ส่วนความมั่นใจหรือไม่ว่าสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจะป้องกันการล็อกเลขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 65.3 ระบุว่าไม่มั่นใจ
ร้อยละ 12.8 ระบุว่ามั่นใจ
และร้อยละ 21.9 ไม่มีความเห็น
8. เมื่อถามว่าชอบซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวยใต้ดิน
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.8 ระบุว่าสลากกินแบ่งรัฐบาล
ร้อยละ 11.2 ระบุว่าหวยใต้ดิน
ร้อยละ 38.5 ซื้อทั้งสองอย่าง
และร้อยละ 20.5 ไม่ซื้อทั้งสองอย่าง
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 590 49.2
หญิง 610 50.8
อายุ :
18 - 25 ปี 213 17.8
26 - 35 ปี 418 34.8
36 - 45 ปี 448 37.3
มากกว่า 45 ปี 121 10.1
การศึกษา :
ประถมศึกษา 67 5.6
มัธยมศึกษา 186 15.5
ปวช. 315 26.3
ปวส./อนุปริญญา 214 17.8
ปริญญาตรี 373 31.1
สูงกว่าปริญญาตรี 45 3.8
อาชีพ :
รับราชการ 52 4.3
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 53 4.4
พนักงานเอกชน 490 40.8
เจ้าของกิจการ 76 6.3
รับจ้างทั่วไป 116 9.7
ค้าขาย 181 15.1
นักศึกษา 118 9.8
แม่บ้าน 79 6.6
อาชีพอื่น ๆ 35 2.9
ตารางที่ 2 ท่านทราบข่าวเกี่ยวกับการล็อกเลขสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ทราบ 1,141 95.1
ไม่ทราบ 59 4.9
ตารางที่ 3 ท่านเชื่อว่ามีการล็อกเลขสลากกินแบ่งรัฐบาลในบางงวดจริงหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
เชื่อว่ามีจริง 993 82.8
ไม่เชื่อว่ามีจริง 127 10.6
ไม่มีความเห็น 80 6.7
ตารางที่ 4 ท่านมั่นใจในความโปร่งใสของการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ผ่านมาหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 76 6.3
ไม่มั่นใจ 924 77
ไม่มีความเห็น 200 16.7
ตารางที่ 5 ท่านคิดว่าข่าวเรื่องการล็อกเลขจะทำให้คนซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลน้อยลงหรือมากขึ้น
จำนวน ร้อยละ
มากขึ้น 58 4.8
เหมือนเดิม 701 58.4
น้อยลง 370 30.8
ไม่มีความเห็น 71 5.9
ตารางที่ 6 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ว่าควรเปลี่ยนวิธีการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลใหม่ (โดยไม่ใช้คนตักลูกบอล)
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 762 63.5
ไม่เห็นด้วย 114 91.5
ไม่มีความเห็น 324 27
ตารางที่ 7 ท่านมั่นใจหรือไม่ว่าสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจะป้องกันการล็อกเลขได้อย่างมีประสิทธภาพ
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 153 12.8
ไม่มั่นใจ 784 65.3
ไม่มีความเห็น 263 21.9
ตารางที่ 8 ท่านชอบซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือหวยใต้ดิน
จำนวน ร้อยละ
สลากกินแบ่งรัฐบาล 358 29.8
หวยใต้ดิน 134 11.2
ซื้อทั้งสองอย่าง 462 38.5
ไม่ซื้อทั้งสองอย่าง 246 20.5
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--