วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับการปรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความเหมาะสมของรัฐมนตรีแต่ละคนที่ได้รับการปรับเปลี่ยนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่
2. ความพึงพอใจต่อภาพรวมของการปรับเปลี่ยนและแต่งตั้งบุคคลขึ้นดำรงตำแหน่งต่างๆ ในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
3. คะแนนนิยมที่มีต่อนายกรัฐมนตรีจากการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้
4. ความเชื่อมั่นต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในการแก้ปัญหาสำคัญของชาติ 3 ประการ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครอง/อำเภอ
จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,602 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3 สิงหาคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 4 สิงหาคม 2548
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. กลุ่มตัวอย่างที่สุ่มได้มีจำนวน 1,602 คน เป็นชายร้อยละ 53.0 หญิงร้อยละ 47.0 มีอายุ
ระหว่าง 18-25 ปี ร้อยละ 34.9 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 28.9 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 18.4 และอายุ
46 ปีขึ้นไป ร้อยละ 17.8
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 10.9 มัธยมศึกษาร้อยละ 22.3 ปวส./อนุ
ปริญญาร้อยละ 10.5 ปริญญาตรีร้อยละ 51.3 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 5.0
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการร้อยละ 12.9 พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 8.3 พนักงาน/
ลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 21.8 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 18.1 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 9.7 พ่อ
บ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุร้อยละ 5.0 นิสิต/นักศึกษาร้อยละ 16.9 อาชีพอิสระร้อยละ 6.6 และประกอบ
อาชีพอื่นๆ อีกร้อยละ 0.7
2. เมื่อถามถึงความเหมาะสมของรัฐมนตรีแต่ละคนที่ได้รับการปรับเปลี่ยนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ใหม่ พบว่า
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
พาณิชย์เป็นผู้ที่ประชาชนเห็นว่ามีความเหมาะสมกับตำแหน่งมากที่สุด (ร้อยละ 71.1) รองลงมาได้แก่ นายจาตุรนต์
ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ร้อยละ 68.8) และนายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา (ร้อยละ 66.4) ตามลำดับ
ขณะที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงอุตสาหกรรมถูกมองว่าไม่เหมาะสมมากที่สุด (ร้อยละ 43.0) รองลงมาได้แก่นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรี
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 32.9) และ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(ร้อยละ 23.1) ตามลำดับ
3. สำหรับความพึงพอใจต่อภาพรวมของการปรับเปลี่ยนและแต่งตั้งบุคคลขึ้นดำรงตำแหน่งต่างๆ ในคณะ
รัฐมนตรีชุดใหม่นั้น ประชาชนร้อยละ 60.2 ระบุว่าพอใจ ขณะที่ร้อยละ 39.8 ไม่พอใจ
โดยกลุ่มที่ไม่พอใจส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เนื่องจากการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ไม่มีอะไรใหม่เป็นแค่การ
สลับตำแหน่งกันของรัฐมนตรีคนเดิมๆ เท่านั้น ไม่ได้จัดสรรคนตามความสามารถแต่ยึดผลประโยชน์ของบุคคลใกล้ชิด
เป็นหลัก รัฐมนตรีที่พัวพันกับการทุจริตคอร์รัปชันยังคงอยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ มีการปรับคณะรัฐมนตรีบ่อยเกินไป
จนทำให้งานไม่ต่อเนื่อง และไม่เชื่อว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะทำงานได้ดีกว่าชุดเดิม
4. เมื่อถามถึงคะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี ประชาชนร้อยละ 45.4 คิดว่าการปรับคณะรัฐมนตรี
ครั้งนี้ไม่มีผลต่อคะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 29.3 คิดว่ามีผลทำให้คะแนน
นิยมในตัวนายกรัฐมนตรีลดลง ขณะที่ร้อยละ 25.3 คิดว่ามีผลทำให้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
5. ส่วนความเชื่อมั่นต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในการแก้ปัญหาสำคัญของชาติ 3 ประการ คือปัญหาความไม่
สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันนั้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่
(ร้อยละ 57.4 และร้อยละ 57.3) เชื่อว่า คณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะไม่สามารถแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ และ
ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้ ส่วนปัญหาด้านเศรษฐกิจนั้น ร้อยละ 42.1 เชื่อว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะสามารถแก้ไข
ได้ ร้อยละ 29.5 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ และร้อยละ 28.4 ไม่แน่ใจ
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 849 53.0
หญิง 753 47.0
อายุ :
18 — 25 ปี 559 34.9
26 — 35 ปี 463 28.9
36 — 45 ปี 295 18.4
46ปีขึ้นไป 285 17.8
การศึกษา
ประถมศึกษา 175 10.9
มัธยมศึกษา/ปวช. 357 22.3
ปวส./อนุปริญญา 168 10.5
ปริญญาตรี 822 51.3
สูงกว่าปริญญาตรี 80 5.0
อาชีพ :
ข้าราชการ 207 12.9
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 133 8.3
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 349 21.8
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 290 18.1
รับจ้างทั่วไป 156 9.7
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 80 5.0
นิสิต/นักศึกษา 271 16.9
อาชีพอิสระ 105 6.6
อื่นๆ 11 0.7
ตารางที่ 2: ความเหมาะสมของรัฐมนตรีแต่ละคนที่ได้รับการปรับเปลี่ยนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่
เหมาะสม ไม่เหมาะสม ไม่แน่ใจ
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็น รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ 71.1 (1,139) 12.6 (202) 16.3 (261)
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรองนายกฯ และ รมว.อุตสาหกรรม 40.1 (642) 43.0 (689) 16.9 (271)
พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นรองนายกฯ และ รมว.ยุติธรรม 53.2 (852) 20.7 (332) 26.1 (418)
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรองนายกฯ 65.2 (1,045) 21.1 (338) 13.7 (219)
นายเนวิน ชิดชอบ เป็น รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี 48.2 (772) 32.9 (527) 18.9 (303)
นายทนง พิทยะ เป็น รมว.คลัง 52.7 (844) 18.1 (290) 29.2 (468)
นายประชา มาลีนนท์ เป็น รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา 66.4 (1,064) 18.3 (293) 15.3 (245)
นายวัฒนา เมืองสุข เป็น รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 47.9 (767) 22.6 (362) 29.5 (473)
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล เป็น รมว.คมนาคม 43.9 (703) 21.4 (343) 34.7 (556)
นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็น รมว.สารสนเทศและการสื่อสาร 55.3 (886) 19.9 (319) 24.8 (397)
พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา เป็น รมว.มหาดไทย 45.0 (721) 23.1 (370) 31.9 (511)
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็น รมว.แรงงาน 56.3 (902) 21.1 (338) 22.6 (362)
นายประวิช รัตนเพียร เป็น รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 48.2 (772) 16.2 (260) 35.6 (570)
นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็น รมว.ศึกษาธิการ 68.8 (1,102) 17.6 (282) 13.6 (218)
นายอดิศร เพียงเกษ เป็น รมช.เกษตรและสหกรณ์ 59.6 (955) 19.6 (314) 20.8 (333)
พล.อ.ชัยนันท์ เจริญศิริ เป็น รมช.คมนาคม 42.5 (681) 20.5 (328) 37.0 (593)
นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เป็น รมช.พาณิชย์ 50.5 (809) 14.3 (229) 35.2 (564)
ตารางที่ 3: ความพึงพอใจต่อภาพรวมของการปรับเปลี่ยนและแต่งตั้งบุคคลขึ้นดำรงตำแหน่งต่างๆ ใน คณะรัฐมนตรีชุดใหม่
จำนวน ร้อยละ
พอใจ 964 60.2
ไม่พอใจ เนื่องจาก 638 39.8
- ไม่มีอะไรใหม่เป็นแค่การสลับตำแหน่งกันของรัฐมนตรีคนเดิมๆ เท่านั้น
- ไม่ได้จัดสรรคนตามความสามารถแต่ยึดผลประโยชน์ของบุคคลใกล้ชิดเป็นหลัก
- รัฐมนตรีที่พัวพันกับการทุจริตคอร์รัปชันยังคงอยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
- มีการปรับคณะรัฐมนตรีบ่อยเกินไปจนทำให้งานไม่ต่อเนื่อง
- ไม่เชื่อว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะทำงานได้ดีกว่าชุดเดิม
ตารางที่ 4: การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ส่งผลต่อคะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น 405 25.3
คะแนนนิยมลดลง 470 29.3
คะแนนนิยมเท่าเดิม 727 45.4
ตารางที่ 5: ความเชื่อมั่นต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในการแก้ปัญหาสำคัญที่ประเทศชาติประสบอยู่
แก้ได้ แก้ไม่ได้ ไม่แน่ใจ
ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ 16.6(266) 57.4(920) 26.0(416)
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ 42.1(674) 29.5(473) 28.4(455)
ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน 20.8(333) 57.3(918) 21.9(351)
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อทราบความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเกี่ยวกับการปรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ในประเด็นต่อไปนี้
1. ความเหมาะสมของรัฐมนตรีแต่ละคนที่ได้รับการปรับเปลี่ยนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่
2. ความพึงพอใจต่อภาพรวมของการปรับเปลี่ยนและแต่งตั้งบุคคลขึ้นดำรงตำแหน่งต่างๆ ในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
3. คะแนนนิยมที่มีต่อนายกรัฐมนตรีจากการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้
4. ความเชื่อมั่นต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในการแก้ปัญหาสำคัญของชาติ 3 ประการ
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครอง/อำเภอ
จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,602 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 3 สิงหาคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 4 สิงหาคม 2548
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. กลุ่มตัวอย่างที่สุ่มได้มีจำนวน 1,602 คน เป็นชายร้อยละ 53.0 หญิงร้อยละ 47.0 มีอายุ
ระหว่าง 18-25 ปี ร้อยละ 34.9 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 28.9 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 18.4 และอายุ
46 ปีขึ้นไป ร้อยละ 17.8
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 10.9 มัธยมศึกษาร้อยละ 22.3 ปวส./อนุ
ปริญญาร้อยละ 10.5 ปริญญาตรีร้อยละ 51.3 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 5.0
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการร้อยละ 12.9 พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 8.3 พนักงาน/
ลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 21.8 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 18.1 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 9.7 พ่อ
บ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุร้อยละ 5.0 นิสิต/นักศึกษาร้อยละ 16.9 อาชีพอิสระร้อยละ 6.6 และประกอบ
อาชีพอื่นๆ อีกร้อยละ 0.7
2. เมื่อถามถึงความเหมาะสมของรัฐมนตรีแต่ละคนที่ได้รับการปรับเปลี่ยนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ใหม่ พบว่า
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
พาณิชย์เป็นผู้ที่ประชาชนเห็นว่ามีความเหมาะสมกับตำแหน่งมากที่สุด (ร้อยละ 71.1) รองลงมาได้แก่ นายจาตุรนต์
ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ร้อยละ 68.8) และนายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา (ร้อยละ 66.4) ตามลำดับ
ขณะที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงอุตสาหกรรมถูกมองว่าไม่เหมาะสมมากที่สุด (ร้อยละ 43.0) รองลงมาได้แก่นายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรี
ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 32.9) และ พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(ร้อยละ 23.1) ตามลำดับ
3. สำหรับความพึงพอใจต่อภาพรวมของการปรับเปลี่ยนและแต่งตั้งบุคคลขึ้นดำรงตำแหน่งต่างๆ ในคณะ
รัฐมนตรีชุดใหม่นั้น ประชาชนร้อยละ 60.2 ระบุว่าพอใจ ขณะที่ร้อยละ 39.8 ไม่พอใจ
โดยกลุ่มที่ไม่พอใจส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เนื่องจากการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ไม่มีอะไรใหม่เป็นแค่การ
สลับตำแหน่งกันของรัฐมนตรีคนเดิมๆ เท่านั้น ไม่ได้จัดสรรคนตามความสามารถแต่ยึดผลประโยชน์ของบุคคลใกล้ชิด
เป็นหลัก รัฐมนตรีที่พัวพันกับการทุจริตคอร์รัปชันยังคงอยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ มีการปรับคณะรัฐมนตรีบ่อยเกินไป
จนทำให้งานไม่ต่อเนื่อง และไม่เชื่อว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะทำงานได้ดีกว่าชุดเดิม
4. เมื่อถามถึงคะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี ประชาชนร้อยละ 45.4 คิดว่าการปรับคณะรัฐมนตรี
ครั้งนี้ไม่มีผลต่อคะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 29.3 คิดว่ามีผลทำให้คะแนน
นิยมในตัวนายกรัฐมนตรีลดลง ขณะที่ร้อยละ 25.3 คิดว่ามีผลทำให้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
5. ส่วนความเชื่อมั่นต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในการแก้ปัญหาสำคัญของชาติ 3 ประการ คือปัญหาความไม่
สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันนั้น พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่
(ร้อยละ 57.4 และร้อยละ 57.3) เชื่อว่า คณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะไม่สามารถแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ และ
ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้ ส่วนปัญหาด้านเศรษฐกิจนั้น ร้อยละ 42.1 เชื่อว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะสามารถแก้ไข
ได้ ร้อยละ 29.5 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ และร้อยละ 28.4 ไม่แน่ใจ
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 849 53.0
หญิง 753 47.0
อายุ :
18 — 25 ปี 559 34.9
26 — 35 ปี 463 28.9
36 — 45 ปี 295 18.4
46ปีขึ้นไป 285 17.8
การศึกษา
ประถมศึกษา 175 10.9
มัธยมศึกษา/ปวช. 357 22.3
ปวส./อนุปริญญา 168 10.5
ปริญญาตรี 822 51.3
สูงกว่าปริญญาตรี 80 5.0
อาชีพ :
ข้าราชการ 207 12.9
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 133 8.3
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 349 21.8
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 290 18.1
รับจ้างทั่วไป 156 9.7
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 80 5.0
นิสิต/นักศึกษา 271 16.9
อาชีพอิสระ 105 6.6
อื่นๆ 11 0.7
ตารางที่ 2: ความเหมาะสมของรัฐมนตรีแต่ละคนที่ได้รับการปรับเปลี่ยนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่
เหมาะสม ไม่เหมาะสม ไม่แน่ใจ
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็น รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ 71.1 (1,139) 12.6 (202) 16.3 (261)
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรองนายกฯ และ รมว.อุตสาหกรรม 40.1 (642) 43.0 (689) 16.9 (271)
พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นรองนายกฯ และ รมว.ยุติธรรม 53.2 (852) 20.7 (332) 26.1 (418)
นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นรองนายกฯ 65.2 (1,045) 21.1 (338) 13.7 (219)
นายเนวิน ชิดชอบ เป็น รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี 48.2 (772) 32.9 (527) 18.9 (303)
นายทนง พิทยะ เป็น รมว.คลัง 52.7 (844) 18.1 (290) 29.2 (468)
นายประชา มาลีนนท์ เป็น รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา 66.4 (1,064) 18.3 (293) 15.3 (245)
นายวัฒนา เมืองสุข เป็น รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 47.9 (767) 22.6 (362) 29.5 (473)
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล เป็น รมว.คมนาคม 43.9 (703) 21.4 (343) 34.7 (556)
นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็น รมว.สารสนเทศและการสื่อสาร 55.3 (886) 19.9 (319) 24.8 (397)
พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา เป็น รมว.มหาดไทย 45.0 (721) 23.1 (370) 31.9 (511)
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็น รมว.แรงงาน 56.3 (902) 21.1 (338) 22.6 (362)
นายประวิช รัตนเพียร เป็น รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 48.2 (772) 16.2 (260) 35.6 (570)
นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็น รมว.ศึกษาธิการ 68.8 (1,102) 17.6 (282) 13.6 (218)
นายอดิศร เพียงเกษ เป็น รมช.เกษตรและสหกรณ์ 59.6 (955) 19.6 (314) 20.8 (333)
พล.อ.ชัยนันท์ เจริญศิริ เป็น รมช.คมนาคม 42.5 (681) 20.5 (328) 37.0 (593)
นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เป็น รมช.พาณิชย์ 50.5 (809) 14.3 (229) 35.2 (564)
ตารางที่ 3: ความพึงพอใจต่อภาพรวมของการปรับเปลี่ยนและแต่งตั้งบุคคลขึ้นดำรงตำแหน่งต่างๆ ใน คณะรัฐมนตรีชุดใหม่
จำนวน ร้อยละ
พอใจ 964 60.2
ไม่พอใจ เนื่องจาก 638 39.8
- ไม่มีอะไรใหม่เป็นแค่การสลับตำแหน่งกันของรัฐมนตรีคนเดิมๆ เท่านั้น
- ไม่ได้จัดสรรคนตามความสามารถแต่ยึดผลประโยชน์ของบุคคลใกล้ชิดเป็นหลัก
- รัฐมนตรีที่พัวพันกับการทุจริตคอร์รัปชันยังคงอยู่ในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
- มีการปรับคณะรัฐมนตรีบ่อยเกินไปจนทำให้งานไม่ต่อเนื่อง
- ไม่เชื่อว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะทำงานได้ดีกว่าชุดเดิม
ตารางที่ 4: การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ส่งผลต่อคะแนนนิยมในตัวนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อย่างไร
จำนวน ร้อยละ
คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น 405 25.3
คะแนนนิยมลดลง 470 29.3
คะแนนนิยมเท่าเดิม 727 45.4
ตารางที่ 5: ความเชื่อมั่นต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในการแก้ปัญหาสำคัญที่ประเทศชาติประสบอยู่
แก้ได้ แก้ไม่ได้ ไม่แน่ใจ
ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ 16.6(266) 57.4(920) 26.0(416)
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ 42.1(674) 29.5(473) 28.4(455)
ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน 20.8(333) 57.3(918) 21.9(351)
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-