ช่วงปีใหม่ที่จะถึงนี้ คนไทยอยากเดินทางไปท่องเที่ยวศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง และโครงการชั่งหัวมันมากที่สุด คนไทย 72.4% เชื่อรัฐบาลลดหย่อนภาษีท่องเที่ยว จะทำให้การท่องเที่ยวคึกคักมากขึ้น 54.4% มีการวางแผนเดินทางท่องเที่ยว แต่กังวลอุบัติเหตุบนท้องถนนและการจราจรติดขัด
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ท่องเที่ยวช่วงปีใหม่ตามทางเดินพ่อ” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจาก ทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,142 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 72.4 เห็นว่าการที่รัฐบาลลดหย่อนภาษีท่องเที่ยวภายในประเทศ จะทำให้คนออกมาท่องเที่ยวคึกคักมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 27.6 เห็นว่าจะไม่ค่อยคึกคัก
เมื่อถามว่ามีการวางแผนเดินทางในช่วงปีใหม่หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.4 ระบุว่า มีการวางแผนเดินทาง โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 23.8 จะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด รองลงมาร้อยละ 20.0 จะกลับไปจังหวัดบ้านเกิด / เยี่ยมญาติ และร้อยละ 10.3 จะท่องเที่ยวอยู่ภายในจังหวัด และร้อยละ 0.3 จะไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ขณะที่ร้อยละ 45.6 ระบุว่าไม่มีการวางแผนเดินทาง โดย คาดว่าจะอยู่บ้าน /เลี้ยงฉลองที่บ้านไม่ออกไปไหน
สำหรับโครงการหลวงของในหลวง ร.9 ที่ประชาชนอยากไปท่องเที่ยวมากที่สุดคือ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง (ร้อยละ 58.0) รองลงมาคือ ศูนย์พัฒนาโครงการ หลวงอินทนนท์ (ร้อยละ 53.3) ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง(ร้อยละ 29.3) และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ (ร้อยละ 15.1)
ส่วนโครงการในพระราชดำริของในหลวง ร.9 ที่อยากไปท่องเที่ยวมากที่สุดคือ โครงการชั่งหัวมัน (ร้อยละ 52.4)
รองลงมาคือโครงการพัฒนาป่าภูหินร่องกล้า (ร้อยละ 32.4) โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก (ร้อยละ 26.3) และ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน (ร้อยละ 22.4)
สุดท้ายเมื่อถามถึงเรื่องที่กังวลมากที่สุด หากต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่อันดับแรกคือ อุบัติเหตุบนท้องถนน (ร้อยละ 42.0) รองลงมาคือ การจราจรที่ติดขัด (ร้อยละ 39.5) ความแออัดของคนในสถานที่เที่ยว (ร้อยละ 12.4) และที่พัก อาหาร ราคาแพง (ร้อยละ 3.9)
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
คิดว่าจะคึกคักมากขึ้น กระตุ้นให้คนออกมาท่องเที่ยวมากขึ้น ร้อยละ 72.4 คิดว่าจะไม่ค่อยคึกคัก ร้อยละ 27.6 2. การวางแผนเดินทางในช่วงปีใหม่ มีการวางแผนเดินทาง
โดย ร้อยละ 23.8 จะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด
ร้อยละ 20.0 จะกลับไปจังหวัดบ้านเกิด / เยี่ยมญาติ
ร้อยละ 10.3 จะท่องเที่ยวอยู่ภายในจังหวัด
ร้อยละ 0.3 จะไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ร้อยละ 54.4 ไม่มีการวางแผนเดินทาง โดย คาดว่าจะอยู่บ้าน /เลี้ยงฉลองที่บ้านไม่ออกไปไหน ร้อยละ 45.6 3. โครงการหลวงของในหลวง ร.9 ที่อยากไปท่องเที่ยวมากที่สุด (5 อันดับแรก)(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง ร้อยละ 58.0 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ ร้อยละ 53.3 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สะเรียง ร้อยละ 29.3 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ ร้อยละ 15.1 ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว ร้อยละ 7.4 4. โครงการในพระราชดำริของในหลวง ร.9 ที่อยากไปท่องเที่ยวมากที่สุด (5 อันดับแรก)(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) โครงการชั่งหัวมัน ร้อยละ 52.4 โครงการพัฒนาป่าภูหินร่องกล้า ร้อยละ 32.4 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสัก ร้อยละ 26.3 โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ร้อยละ 22.4 โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน ร้อยละ 19.5 5. เรื่องที่กังวลมากที่สุด หากต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่ อุบัติเหตุบนท้องถนน ร้อยละ 42.0 การจราจรที่ติดขัด ร้อยละ 39.5 ความแออัดของคนในสถานที่เที่ยว ร้อยละ 12.4 ที่พัก อาหาร ราคาแพง ร้อยละ 3.9 การก่อการร้าย วางระเบิด สร้างสถานการณ์ ร้อยละ 2.2
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อต้องการทราบถึงการวางแผนเดินทางของประชาชนในช่วงปีใหม่
2) เพื่อต้องการทราบความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการลดหย่อนภาษีท่องเที่ยวภายในประเทศ จะทำให้การท่องเที่ยวเป็นอย่างไร
3) เพื่อต้องการทราบถึงโครงการหลวงและโครงการในพระราชดำริ ที่ประชาชนอยากไปท่องเที่ยวมากที่สุด
4) เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่ประชาชนกังวล หากต้องเดินทางในช่วงปีใหม่
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถาม แบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 13 – 16 ธันวาคม 2559 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 24 ธันวาคม 2559
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 572 50.1 หญิง 570 49.9 รวม 1,142 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 175 15.3 31 ปี - 40 ปี 259 22.7 41 ปี - 50 ปี 330 28.9 51 ปี - 60 ปี 262 22.9 61 ปี ขึ้นไป 116 10.2 รวม 1,142 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 712 62.3 ปริญญาตรี 349 30.6 สูงกว่าปริญญาตรี 81 7.1 รวม 1,142 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 176 15.4 ลูกจ้างเอกชน 266 23.3 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 448 39.2 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 44 3.9 ทำงานให้ครอบครัว 2 0.2 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 157 13.7 นักเรียน/ นักศึกษา 28 2.5 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 21 1.8 รวม 1,142 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--