คะแนนนิยมพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย ปี 2560 เพิ่มขึ้น 61.8% ยังสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.2
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คะแนนนิยมพรรคการเมืองไทย ปี 2560” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,216 คน พบว่า
คะแนนนิยมพรรคประชาธิปัตย์อยู่ที่ร้อยละ 17.5 (เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อเดือนกันยายน 2559 ร้อยละ 0.6) รองลงมาคือพรรคเพื่อไทยที่มีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 15.7 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4) พรรคชาติไทยพัฒนามีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 1.9 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7) พรรครักประเทศไทยมีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 1.4 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5) และพรรค พลังชลมีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 0.4 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1)
เมื่อถามว่า “หากวันนี้ มีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ท่านจะออกเสียงสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่” พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.8 ระบุว่าจะ “สนับสนุน” (เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์2559 ร้อยละ 3.2) ขณะที่ร้อยละ17.9 ระบุว่าจะ “ไม่สนับสนุน” ส่วนที่เหลือร้อยละ 20.3 งดออกเสียง
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
จะเลือกพรรค... สำรวจเมื่อ สำรวจเมื่อ เพิ่มขึ้น / ลดลง ก.ย. 59 ม.ค. 60 (ร้อยละ)
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
พรรคประชาธิปัตย์ 16.9 17.5 0.6 พรรคเพื่อไทย 15.3 15.7 0.4 พรรคชาติไทยพัฒนา 1.2 1.9 0.7 พรรครักประเทศไทย 0.9 1.4 0.5 พรรคพลังชล 0.3 0.4 0.1 พรรคภูมิใจไทย 0.9 0.3 -0.6 พรรคอื่นๆ 1.4 2.8 1.4 ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 63.1 60 -3.1 2. ข้อคำถาม “หากวันนี้ ท่านมีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ท่านจะออกเสียงสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่” สำรวจเมื่อ สำรวจเมื่อ เพิ่มขึ้น/ ก.พ. 2559 ม.ค. 2560 ลดลง (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) สนับสนุน 58.6 61.8 3.2 ไม่สนับสนุน 21.8 17.9 -3.9 งดออกเสียง 19.6 20.3 0.7
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชน ที่มีต่อพรรคการเมืองต่างๆ
2) เพื่อสะท้อนเสียงสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีการรวบรวมข้อมูล
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ
(Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 17 – 18 มกราคม 2560
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 22 มกราคม 2560
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 656 53.9 หญิง 560 46.1 รวม 1,216 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 175 14.4 31 ปี - 40 ปี 256 21.1 41 ปี - 50 ปี 321 26.4 51 ปี - 60 ปี 286 23.5 61 ปี ขึ้นไป 178 14.6 รวม 1,216 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 773 63.6 ปริญญาตรี 361 29.7 สูงกว่าปริญญาตรี 82 6.7 รวม 1,216 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 152 12.5 ลูกจ้างเอกชน 266 21.9 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 522 43 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 45 3.7 ทำงานให้ครอบครัว 3 0.2 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 178 14.6 นักเรียน/ นักศึกษา 31 2.5 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 19 1.6 รวม 1,216 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--