ประชาชนส่วนใหญ่ 72.3% มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ม.44 ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด เมื่อถามถึง ม.44 ส่วนใหญ่ 47.5% จะนึกถึง ความสงบสุขเรียบร้อยชี้ ม.44 ปราบทุจริตในวงราชการ และห้ามชุมนุมประท้วง ช่วยให้สถานการณ์ประเทศดีขึ้นมากที่สุด 62.6% เชื่อมั่น ม.44 พาประเทศเดินหน้าปฏิรูปได้สำเร็จ 78.4% ยังอยากให้มี ม.44 ต่อไป ภายหลังการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ม.44 กับการเดินหน้าปฏิรูปประเทศไทย” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,279 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 72.3 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ม.44 ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 24.0 มีความรู้ความ เข้าใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ที่เหลือร้อยละ 3.7 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึง ม.44 ประชาชนจะนึกถึงอะไรมากที่สุด พบว่า อันดับแรก นึกถึงความสงบสุขเรียบร้อย (ร้อยละ 47.5) รองลงมา นึกถึงอำนาจ การบังคับใช้กฎหมาย (ร้อยละ 32.9) ความเด็ดขาด (ร้อยละ 23.2) การปราบปราม (ร้อยละ 17.7) และรวดเร็ว สั่งการได้ทันที (ร้อยละ 16.2)
สำหรับเรื่องที่คิดว่าใช้ ม.44 แล้วทำให้สถานการณ์ประเทศดีขึ้นมากที่สุดคือ การปราบทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ (ร้อยละ 50.9) รองลงมาคือ การห้ามชุมนุมประท้วง (ร้อยละ 45.7) การปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ 42.2) การปราบปรามมาเฟีย ผู้มีอิทธิพล (ร้อยละ 40.0) และการบุกจับพระธัมมชโย (ร้อยละ 25.9)
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อการใช้ ม.44 จะสามารถทำให้ประเทศไทยเดินหน้าปฏิรูปได้สำเร็จ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 62.6 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 29.8 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ส่วนร้อยละ 7.6 ไม่แน่ใจ
สุดท้ายเมื่อถามความเห็นว่าภายหลังจัดการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว ควรมีการใช้ ม.44 ควบคุมสถานการณ์ประเทศอีกหรือไม่พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.4 เห็นว่าควร มีต่อไป โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 60.7 เห็นว่าควรมีต่อไปแต่อยากให้ใช้เฉพาะในบางสถานการณ์ที่รัฐบาลไม่อาจควบคุมได้ รองลงมา ร้อยละ 17.7 อยากให้ใช้เพื่อควบคุมความสงบสุขของประเทศ ขณะที่ร้อยละ 19.3 เห็นว่า ไม่ควรมีเพราะประเทศจะได้เดินหน้าสู่ประชาธิปไตย มีเพียงร้อยละ 2.3 ไม่แน่ใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 34.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 37.8) ร้อยละ 72.3 ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 21.2 และมากที่สุดร้อยละ 2.8) ร้อยละ 24.0 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 3.7 2. ข้อคำถาม “เมื่อถามถึง ม.44 ท่านนึกถึงอะไรมากที่สุด” (5 อันดับแรก)(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ความสงบสุขเรียบร้อย ร้อยละ 47.5 อำนาจ การบังคับใช้กฎหมาย ร้อยละ 32.9 ความเด็ดขาด ร้อยละ 23.2 การปราบปราม ร้อยละ 17.7 รวดเร็ว สั่งการได้ทันที ร้อยละ 16.2 3. ข้อคำถาม “เรื่องที่คิดว่าใช้ ม.44 แล้วทำให้สถานการณ์ประเทศดีขึ้นมากที่สุด” (5 อันดับแรก)(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) การปราบทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ ร้อยละ 50.9 การห้ามชุมนุมประท้วง ร้อยละ 45.7 การปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 42.2 การปราบปรามมาเฟีย ผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 40.0 การบุกจับพระธัมมชโย ร้อยละ 25.9 4. ความเชื่อมั่นต่อการใช้ ม.44 จะสามารถทำให้ประเทศไทยเดินหน้าปฏิรูปได้สำเร็จ เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 48.5 และมากที่สุดร้อยละ 14.1) ร้อยละ 62.6 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 20.0 และน้อยที่สุดร้อยละ 9.8) ร้อยละ 29.8 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.6 5. ข้อคำถาม “ภายหลังจัดการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว ควรมีการใช้ ม.44 ควบคุมสถานการณ์ประเทศอีกหรือไม่” ควรมีต่อไป ร้อยละ 78.4
แต่อยากให้ใช้เฉพาะในบางสถานการณ์ที่รัฐบาลไม่อาจควบคุมได้ ร้อยละ 60.7
โดยอยากให้ใช้เพื่อควบคุมความสงบสุขของประเทศ ร้อยละ 17.7 ไม่ควรมีเพราะประเทศจะได้เดินหน้าสู่ประชาธิปไตย ร้อยละ 19.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 2.3
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อต้องการทราบว่าประชาชนรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับ ม.44 มากน้อยเพียงใด
2) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่คิดว่าใช้ ม.44 แล้วทำให้สถานการณ์ประเทศดีขึ้นมากที่สุด
3) เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อการใช้ ม.44 จะสามารถทำให้ประเทศไทยเดินหน้าปฏิรูปได้สำเร็จ
4) เพื่อสะท้อนความเห็นว่าภายหลังจัดการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว ควรใช้ ม.44 ควบคุมสถานการณ์ประเทศอีกหรือไม่
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบ เลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 1 – 3 มีนาคม 2560 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 4 มีนาคม 2560
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 705 55.1 หญิง 574 44.9 รวม 1,279 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 179 14 31 ปี - 40 ปี 251 19.6 41 ปี - 50 ปี 344 26.9 51 ปี - 60 ปี 308 24.1 61 ปี ขึ้นไป 197 15.4 รวม 1,279 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 849 66.4 ปริญญาตรี 347 27.1 สูงกว่าปริญญาตรี 83 6.5 รวม 1,279 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 172 13.4 ลูกจ้างเอกชน 297 23.2 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 523 40.9 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 46 3.6 ทำงานให้ครอบครัว 5 0.4 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 176 13.8 นักเรียน/ นักศึกษา 33 2.6 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 27 2.1 รวม 1,279 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--