แท็ก
กรุงเทพโพลล์
ที่มาของการสำรวจ :
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย แม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหลายจะได้พยายามหาวิธีแก้ปัญหามาเป็นระยะๆ แต่งานวิจัยหลายชิ้นยังแสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นไทยมีอัตราการดื่มเครื่องดื่ม.แอลกอฮอล์เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ล่าสุดนี้รัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ มาสกัดกั้น ไม่ว่าจะเป็นการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือการกำหนดเวลาและสถานที่ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะได้รับการสนองตอบจากผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มแข็งจริงจังเพียงใด ในขณะที่ช่วงปลายเดือนธันวาคมของทุกปีจะเป็นช่วงของการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์รื่นเริง ทั้งเทศกาลคริสมาสต์และเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จึงนับเป็นช่วงเวลาที่วัยรุ่นมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุด ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของวัยรุ่นต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์ขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างชัดเจนและตรงจุดยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไป
? ความคิดเห็นของวัยรุ่นที่มีต่องานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
? การจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบของงานเลี้ยงสังสรรค์ ในกรณีที่ตนเองเป็นเจ้า ? เหตุจูงใจสำคัญที่สุดที่ทำให้วัยรุ่นริลองดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
? สิทธิส่วนบุคคลกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์
? มาตรการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น
ระเบียบวิธีการสำรวจ :
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร อายุตั้งแต่ 15-22 ปี ที่ศึกษาอยู่ในระดับ
มัธยมปลาย จนถึงระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงกลุ่มที่ไม่ได้ศึกษาแล้ว ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,144 คน เป็นชายร้อยละ47.8 หญิงร้อยละ 52.2
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 32.0 มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และร้อยละ 68.0 มีอายุระหว่าง 18-22 ปี
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 23.4 ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาระดับโรงเรียน ร้อยละ 40.6 ระดับมหาวิทยาลัย ร้อยละ 18.4 พาณิชยการ/อาชีวศึกษา และร้อยละ 17.6 ไม่ได้ศึกษาแล้ว
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) :
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล :
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ในเรื่อง "วัยรุ่นกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :
14 - 15 ธันวาคม 2547
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
22 ธันวาคม 2547
ผลการสำรวจ :
1. วัยรุ่นร้อยละ 62.6 เห็นว่า เป็นสิ่งที่ดีถ้างานเลี้ยงสังสรรค์ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจาก ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ (ร้อยละ 26.7) ไม่เสียสุขภาพ (ร้อยละ 21.8) ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น (ร้อยละ 18.1) ประหยัด(ร้อยละ 16.5) ไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท (ร้อยละ 16.3) และอื่น ๆ (ร้อยละ 0.7) ในขณะที่อีกร้อยละ 37.4 เห็นว่าการไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์เป็นสิ่งไม่ดี เนื่องจาก ไม่สนุก (ร้อยละ 51.2) ไม่เหมาะที่จะเป็นงานเลี้ยง(ร้อยละ 23.8) เป็นงานเลี้ยงของเด็ก ๆ (ร้อยละ 13.0) ไม่มีสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ (ร้อยละ 10.9) และอื่น ๆ (ร้อยละ 1.2)
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายกับเพศหญิง พบว่า วัยรุ่นชายส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 51.0 เห็นว่างานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งไม่ดี ขณะที่วัยรุ่นหญิงส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 75.0 เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี
2. เมื่อถามว่า หากตนเองเป็นเจ้าของงานเลี้ยงสังสรรค์ จะจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบของงานหรือไม่ วัยรุ่นร้อยละ 57.6 ระบุว่า จะให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบของงาน ร้อยละ 42.4 ระบุว่า จะไม่ให้มีโดยกลุ่มตัวอย่างที่จะจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบในงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ตนเป็นเจ้าของงานนั้นได้ให้เหตุผลว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยเพิ่มสีสันให้กับงาน ร้อยละ 33.6 เห็นว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย ร้อยละ 18.4 เพื่อเพิ่มบรรยากาศในการพูดคุย ร้อยละ 17.1 เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ร้อยละ 14.6 เพื่อสร้างความเป็นพวกพ้อง ร้อยละ 9.5 เพื่อหน้าตาในฐานะเจ้าของงาน ร้อยละ 5.7 และอื่น ๆ เช่น กลัวถูกเพื่อนฝูงประณามว่าขี้เหนียว ร้อยละ 1.2ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายกับเพศหญิง พบว่า วัยรุ่นชายถึงร้อยละ 74.8 ที่ระบุว่าจะจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบในงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ตนเป็นเจ้าของงาน ในขณะที่เพศหญิงมีระบุร้อยละ 41.8เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มอายุ พบว่า วัยรุ่นกลุ่มที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ร้อยละ 51.6 ระบุว่าจะจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ตนเป็นเจ้าของงาน ในขณะที่กลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป มีระบุ ร้อยละ 60.4และเมื่อเปรียบเทียบระดับการศึกษา พบว่า วัยรุ่นที่ศึกษาในระดับพาณิชย์/อาชีวศึกษาเป็นกลุ่มที่ระบุว่าจะจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ตนเป็นเจ้าของงานมากที่สุดคือ ร้อยละ 68.6 รองลงมาคือกลุ่มที่ไม่ได้ศึกษาแล้วร้อยละ 61.7 ระดับมหาวิทยาลัย ร้อยละ 58.3 และระดับโรงเรียน ร้อยละ 44.8
3. สำหรับเหตุจูงใจสำคัญที่สุดที่ทำให้วัยรุ่นริลองดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.0 ระบุว่าความอยากลองเป็นเหตุจูงใจที่สำคัญที่สุด รองลงมา คือ เพื่อนชักชวน ร้อยละ 18.9 คิดว่าตนเองโตพอที่จะดื่มได้แล้วร้อยละ 17.7 เพื่ออวดเพื่อนฝูง ร้อยละ 8.7 อิทธิพลจากสื่อโฆษณา ร้อยละ 5.8 เพื่อแสดงความเป็นพวกเดียวกัน ร้อยละ 5.3เพื่อแสดงความเป็นลูกผู้ชาย ร้อยละ 5.1 เพื่อให้ดูว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว ร้อยละ 4.7 เลียนแบบผู้ใหญ่ ร้อยละ 4.5 ประชดชีวิตร้อยละ 1.0 และอื่น ๆ เช่น อยากสนุก อีกร้อยละ 1.4
4. เมื่อถามถึงผลเสียจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วัยรุ่นร้อยละ 21.8 ระบุว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลเสียคือทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด รองลงมา คือ มีปัญหาทะเลาะวิวาท (ร้อยละ 18.1) เสียสุขภาพ (ร้อยละ 17.0)เสียเงิน (ร้อยละ 14.2) เสียการเรียน/เสียอนาคต (ร้อยละ 13.3) เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 8.7) มีปัญหากับครอบครัว(ร้อยละ 5.5) และผลเสียอื่น ๆ เช่น เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ และสร้างความรำคาญแก่คนรอบข้าง (ร้อยละ 0.1) ในขณะที่วัยรุ่นอีกร้อยละ 1.4 ระบุว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ก่อให้เกิดผลเสียใดๆ
5. สำหรับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์นั้น วัยรุ่นร้อยละ 54.6 เห็นว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ในขณะที่อีกร้อยละ 45.4 เห็นว่าไม่ใช่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายกับหญิง พบว่า วัยรุ่นชายถึงร้อยละ 61.4 เห็นว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ขณะที่มีวัยรุ่นหญิงคิดเช่นนี้ร้อยละ 48.4
6. เกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลพยายามกำหนดขึ้นเพื่อจะแก้ไขปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นนั้นพบว่า มาตรการที่กลุ่มตัวอย่างคิดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นได้มากที่สุดคือ การเพิ่มบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนให้แรงขึ้น รองลงมาได้แก่ การรณรงค์ให้วัยรุ่นตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามร้านค้าจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี กำหนดพื้นที่ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กำหนดโทษแก่พ่อแม่ที่ใช้ลูกไปซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามลำดับ ส่วนการกำหนดเวลาห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นมาตรการที่วัยรุ่นคิดว่าไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- เพิ่มบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนให้แรงขึ้น ร้อยละ 74.0 เห็นว่า มาตรการนี้สามารถแก้ปัญหาได้ (ในขณะที่ร้อยละ 26.0 เห็นว่า ไม่สามารถแก้ได้
- รณรงค์ให้วัยรุ่นตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 58.6 เห็นว่า มาตรการนี้สามารถแก้ปัญหาได้ (ในขณะที่ร้อยละ 41.4 เห็นว่า ไม่สามารถแก้ได้)
- ห้ามร้านค้าจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ร้อยละ 57.3 เห็นว่า มาตรการนี้สามารถแก้ปัญหาได้(ในขณะที่ร้อยละ 42.7 เห็นว่า ไม่สามารถแก้ได้)
- กำหนดพื้นที่ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 55.8 เห็นว่า มาตรการนี้สามารถแก้ปัญหาได้ (ในขณะที่ร้อยละ 44.2 เห็นว่า ไม่สามารถแก้ได้)
- กำหนดโทษแก่พ่อแม่ที่ใช้ลูกไปซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 55.6 เห็นว่า มาตรการนี้สามารถแก้ปัญหาได้(ในขณะที่ร้อยละ 44.4 เห็นว่า ไม่สามารถแก้ได้)
- ขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 55.1 เห็นว่า มาตรการนี้สามารถแก้ปัญหาได้ (ในขณะที่ร้อยละ 44.9 เห็นว่า ไม่สามารถแก้ได้
- กำหนดเวลาห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 52.6 เห็นว่า มาตรการนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ (ในขณะที่ร้อยละ 47.4 เห็นว่า สามารถแก้ได้)
บทสรุปและวิเคราะห์ :
ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าการจะแก้ปัญหาเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นให้ได้ผลนั้น จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติบางประการของวัยรุ่นร่วมด้วยนอกเหนือไปจากมาตรการที่รัฐบาลประกาศใช้ ไม่ว่าจะเป็นการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือการกำหนดเวลาและสถานที่ห้ามจำหน่ายที่หลายคนมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเสียมากกว่า
ทั้งนี้ผลการสำรวจพบว่า ยังมีวัยรุ่นถึงร้อยละ 57.6 ที่ระบุว่าจะจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบในงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ตนเป็นเจ้าของงานเพื่อเพิ่มสีสันและความสนุกสนานโดยมองว่าไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่อย่างใด
นอกจากนี้ วัยรุ่นส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ไม่ได้ทำให้คนอื่นเดือดร้อนอีกด้วย
คำตอบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงผลเสียของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างแท้จริงรวมทั้งยังไม่ตระหนักถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นที่มักถูกผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ล่วงละเมิดทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่บุคคลรอบข้าง การดื่มแอลกอฮอล์แล้วไปขับรถเป็นบุคคลอันตรายอยู่ตามท้องถนนหรือแม้แต่การสร้างปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอันเนื่องมาจากเมาแล้วขาดสติ เป็นต้น
ดังนั้น การแก้ปัญหาเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นจึงควรเริ่มต้นที่การรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมใหม่ให้วัยรุ่นเห็นว่างานเลี้ยงสังสรรค์ของคนที่มีหัวคิดต้องไม่ยึดติดแอลกอฮอล์ เพราะจะเป็นงานเลี้ยงสังสรรค์ที่สนุกโดยไม่มีทุกข์ตามมาโดยชี้ให้วัยรุ่นตระหนักถึงผลเสียที่คาดไม่ถึงของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการสำรวจครั้งนี้มีความคิดเห็นของวัยรุ่นบางคนฝากมาเป็นข้อคิดสะกิดใจผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลายก็คือถ้าหากรัฐบาลคิดว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งไม่ดีก็ไม่ควรออกมาตรการมาสกัดกั้นเฉพาะวัยรุ่นที่อายุต่ำกว่า 18 ปีเท่านั้น ในเมื่อผู้ใหญ่ยังดื่มได้วัยรุ่นก็ควรดื่มได้ เพราะขึ้นชื่อว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ดื่มเข้าไปก็เมาขาดสติได้เหมือนกัน
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 547 47.8
หญิง 597 52.2
อายุ :
ต่ำกว่า 18 ปี 366 32.0
18 - 22 ปี 778 68.0
ระดับการศึกษา :
โรงเรียน 268 23.4
มหาวิทยาลัย 465 40.6
พาณิชยการ/อาชีวศึกษา 210 18.4
ไม่ได้ศึกษาแล้ว 201 17.6
ตารางที่ 2: ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
จำนวน ร้อยละ
ดี 716 62.6
ไม่ดี 428 37.4
- เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า เป็นเรื่องดีหากงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
จำนวน ร้อยละ
ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 413 26.7
ไม่เสียสุขภาพ 337 21.8
ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น 281 18.1
ประหยัด 255 16.5
ไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท 252 16.3
อื่น ๆ 11 0.7
- เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า เป็นเรื่องไม่ดีหากงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
จำนวน ร้อยละ
ไม่สนุก 311 51.2
ไม่เหมาะที่จะเป็นงานเลี้ยง 145 23.8
เป็นงานเลี้ยงของเด็ก ๆ 79 13.0
ไม่มีสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ 66 10.9
อื่น ๆ 7 1.2
- เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่องานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระหว่าง
เพศชายและเพศหญิง
ดี ไม่ดี รวม
ชาย 268(49.0%) 279(51.0%) 547(100%)
หญิง 448(75.0%) 149(25.0%) 597(100%)
รวม 716(62.6%) 428(37.4%) 1144(100%)
ตารางที่ 3: หากท่านเป็นเจ้าของงานเลี้ยงสังสรรค์ ท่านจะจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มี 659 57.6
ไม่มี 485 42.4
- เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่า จะต้องมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ ในงานเลี้ยงสังสรรค์ หากตนเองเป็นเจ้าของงาน
จำนวน ร้อยละ
ช่วยเพิ่มสีสันให้กับงาน 398 33.6
ไม่ใช่เรื่องเสียหาย 218 18.4
เพื่อเพิ่มบรรยากาศในการพูดคุย 202 17.1
เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ 173 14.6
เพื่อสร้างความเป็นพวกพ้อง 112 9.5
เพื่อหน้าตาในฐานะเจ้าของงาน 67 5.7
อื่น ๆ 14 1.2
- เปรียบเทียบการจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบของงานเลี้ยงสังสรรค์หากตนเองเป็นเจ้าของงาน ระหว่างเพศชายและเพศหญิง
มี ไม่มี รวม
ชาย 409(74.8%) 138(25.2%) 547(100%)
หญิง 250(41.8%) 347(58.2%) 597(100%)
รวม 659(57.6%) 485(42.4%) 1144(100%)
- เปรียบเทียบการจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบของงานเลี้ยงสังสรรค์หากตนเองเป็นเจ้าของงานระว่างกลุ่มอายุต่ำกว่า 18 ปี และกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป
มี ไม่มี รวม
กลุ่มอายุต่ำกว่า 18 ปี 189(51.6%) 177(48.4%) 366(100%)
กลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป 470(60.4%) 308(39.6%) 778(100%)
รวม 658(57.6%) 485(42.4%) 1144(100%)
- เปรียบเทียบการจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบของงานเลี้ยงสังสรรค์หากตนเองเป็นเจ้าของงาน ระหว่างวัยรุ่นในแต่ละระดับการศึกษา
มี ไม่มี รวม
โรงเรียน 120(44.8%) 148(55.2%) 268(100%)
มหาวิทยาลัย 271(58.3%) 194(41.7%) 465(100%)
พาณิชย์/อาชีวศึกษา 144(68.6%) 66(31.4%) 210(100%)
ไม่ได้ศึกษาแล้ว 124(61.7%) 77(38.3%) 201(100%)
รวม 659(57.6%) 485(42.4%) 1144(100%)
ตารางที่ 4: ท่านคิดว่าอะไรเป็นเหตุจูงใจสำคัญที่สุดที่ทำให้วัยรุ่นริลองดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
จำนวน ร้อยละ
ความอยากลอง 309 27.0
เพื่อนชักชวน 216 18.9
คิดว่าตนเองโตพอที่ดื่มได้แล้ว 202 17.7
เพื่ออวดเพื่อนฝูง 99 8.7
อิทธิพลจากสื่อโฆษณา 66 5.8
เพื่อแสดงความเป็นพวกเดียวกัน 61 5.3
เพื่อแสดงความเป็นลูกผู้ชาย 58 5.1
เพื่อให้ดูว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว 54 4.7
เลียนแบบผู้ใหญ่ 51 4.5
ประชดชีวิต 12 1.0
อื่น ๆ 16 1.4
ตารางที่ 5: ท่านคิดว่าผลเสียที่มาจากการดื่มแอลกอฮอล์คืออะไร
จำนวน ร้อยละ
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 567 21.8
มีปัญหาทะเลาะวิวาท 471 18.1
เสียสุขภาพ 441 17.0
เสียเงิน 369 14.2
เสียการเรียน / เสียอนาคต 346 13.3
เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหายาเสพติด 225 8.7
มีปัญหากับครอบครัว 144 5.5
ไม่มีผลเสีย 36 1.4
อื่น ๆ 2 0.1
ตารางที่ 6: ท่านคิดว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์เป็นสิทธิส่วนบุคคล ที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ใช่หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ใช่ 625 54.6
ไม่ใช่ 519 45.4
- เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประเด็นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์เป็นสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง
เป็น ไม่เป็น รวม
ชาย 336(61.4%) 211(38.6%) 547(100%)
หญิง 289(48.4%) 308(51.6%) 597(100%)
รวม 625(57.6%) 519(42.4%) 1144(100%)
ตารางที่ 7: ท่านคิดว่ามาตรการต่อไปนี้จะสามารถแก้ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นได้หรือไม่
ได้ ไม่ได้
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
1. ขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 630 55.1 514 44.9
2. ห้ามร้านค้าจำหน่ายเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี 655 57.3 489 42.7
3. กำหนดเวลาห้ามจำหน่ายเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ 542 47.4 602 52.6
4. กำหนดพื้นที่ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ 638 55.8 506 44.2
5. เพิ่มบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนให้แรงขึ้น 846 74.0 298 26.0
6. รณรงค์ให้วัยรุ่นตระหนักถึงพิษภัยของ
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 670 58.6 474 41.4
7. กำหนดโทษแก่พ่อแม่ที่ใช้ลูกไปซื้อ
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 636 55.6 508 44.4
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย แม้ว่าที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหลายจะได้พยายามหาวิธีแก้ปัญหามาเป็นระยะๆ แต่งานวิจัยหลายชิ้นยังแสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นไทยมีอัตราการดื่มเครื่องดื่ม.แอลกอฮอล์เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ล่าสุดนี้รัฐบาลได้ออกมาตรการต่างๆ มาสกัดกั้น ไม่ว่าจะเป็นการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือการกำหนดเวลาและสถานที่ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะได้รับการสนองตอบจากผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มแข็งจริงจังเพียงใด ในขณะที่ช่วงปลายเดือนธันวาคมของทุกปีจะเป็นช่วงของการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์รื่นเริง ทั้งเทศกาลคริสมาสต์และเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จึงนับเป็นช่วงเวลาที่วัยรุ่นมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุด ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของวัยรุ่นต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์ขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างชัดเจนและตรงจุดยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไป
? ความคิดเห็นของวัยรุ่นที่มีต่องานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
? การจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบของงานเลี้ยงสังสรรค์ ในกรณีที่ตนเองเป็นเจ้า ? เหตุจูงใจสำคัญที่สุดที่ทำให้วัยรุ่นริลองดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
? สิทธิส่วนบุคคลกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์
? มาตรการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น
ระเบียบวิธีการสำรวจ :
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร อายุตั้งแต่ 15-22 ปี ที่ศึกษาอยู่ในระดับ
มัธยมปลาย จนถึงระดับมหาวิทยาลัย รวมถึงกลุ่มที่ไม่ได้ศึกษาแล้ว ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,144 คน เป็นชายร้อยละ47.8 หญิงร้อยละ 52.2
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 32.0 มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และร้อยละ 68.0 มีอายุระหว่าง 18-22 ปี
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 23.4 ศึกษาอยู่ในสถานศึกษาระดับโรงเรียน ร้อยละ 40.6 ระดับมหาวิทยาลัย ร้อยละ 18.4 พาณิชยการ/อาชีวศึกษา และร้อยละ 17.6 ไม่ได้ศึกษาแล้ว
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) :
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล :
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ในเรื่อง "วัยรุ่นกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์"
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :
14 - 15 ธันวาคม 2547
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
22 ธันวาคม 2547
ผลการสำรวจ :
1. วัยรุ่นร้อยละ 62.6 เห็นว่า เป็นสิ่งที่ดีถ้างานเลี้ยงสังสรรค์ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจาก ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ (ร้อยละ 26.7) ไม่เสียสุขภาพ (ร้อยละ 21.8) ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น (ร้อยละ 18.1) ประหยัด(ร้อยละ 16.5) ไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท (ร้อยละ 16.3) และอื่น ๆ (ร้อยละ 0.7) ในขณะที่อีกร้อยละ 37.4 เห็นว่าการไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์เป็นสิ่งไม่ดี เนื่องจาก ไม่สนุก (ร้อยละ 51.2) ไม่เหมาะที่จะเป็นงานเลี้ยง(ร้อยละ 23.8) เป็นงานเลี้ยงของเด็ก ๆ (ร้อยละ 13.0) ไม่มีสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ (ร้อยละ 10.9) และอื่น ๆ (ร้อยละ 1.2)
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายกับเพศหญิง พบว่า วัยรุ่นชายส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 51.0 เห็นว่างานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งไม่ดี ขณะที่วัยรุ่นหญิงส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 75.0 เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี
2. เมื่อถามว่า หากตนเองเป็นเจ้าของงานเลี้ยงสังสรรค์ จะจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบของงานหรือไม่ วัยรุ่นร้อยละ 57.6 ระบุว่า จะให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบของงาน ร้อยละ 42.4 ระบุว่า จะไม่ให้มีโดยกลุ่มตัวอย่างที่จะจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบในงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ตนเป็นเจ้าของงานนั้นได้ให้เหตุผลว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยเพิ่มสีสันให้กับงาน ร้อยละ 33.6 เห็นว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย ร้อยละ 18.4 เพื่อเพิ่มบรรยากาศในการพูดคุย ร้อยละ 17.1 เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ร้อยละ 14.6 เพื่อสร้างความเป็นพวกพ้อง ร้อยละ 9.5 เพื่อหน้าตาในฐานะเจ้าของงาน ร้อยละ 5.7 และอื่น ๆ เช่น กลัวถูกเพื่อนฝูงประณามว่าขี้เหนียว ร้อยละ 1.2ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายกับเพศหญิง พบว่า วัยรุ่นชายถึงร้อยละ 74.8 ที่ระบุว่าจะจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบในงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ตนเป็นเจ้าของงาน ในขณะที่เพศหญิงมีระบุร้อยละ 41.8เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มอายุ พบว่า วัยรุ่นกลุ่มที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ร้อยละ 51.6 ระบุว่าจะจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ตนเป็นเจ้าของงาน ในขณะที่กลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป มีระบุ ร้อยละ 60.4และเมื่อเปรียบเทียบระดับการศึกษา พบว่า วัยรุ่นที่ศึกษาในระดับพาณิชย์/อาชีวศึกษาเป็นกลุ่มที่ระบุว่าจะจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ตนเป็นเจ้าของงานมากที่สุดคือ ร้อยละ 68.6 รองลงมาคือกลุ่มที่ไม่ได้ศึกษาแล้วร้อยละ 61.7 ระดับมหาวิทยาลัย ร้อยละ 58.3 และระดับโรงเรียน ร้อยละ 44.8
3. สำหรับเหตุจูงใจสำคัญที่สุดที่ทำให้วัยรุ่นริลองดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.0 ระบุว่าความอยากลองเป็นเหตุจูงใจที่สำคัญที่สุด รองลงมา คือ เพื่อนชักชวน ร้อยละ 18.9 คิดว่าตนเองโตพอที่จะดื่มได้แล้วร้อยละ 17.7 เพื่ออวดเพื่อนฝูง ร้อยละ 8.7 อิทธิพลจากสื่อโฆษณา ร้อยละ 5.8 เพื่อแสดงความเป็นพวกเดียวกัน ร้อยละ 5.3เพื่อแสดงความเป็นลูกผู้ชาย ร้อยละ 5.1 เพื่อให้ดูว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว ร้อยละ 4.7 เลียนแบบผู้ใหญ่ ร้อยละ 4.5 ประชดชีวิตร้อยละ 1.0 และอื่น ๆ เช่น อยากสนุก อีกร้อยละ 1.4
4. เมื่อถามถึงผลเสียจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วัยรุ่นร้อยละ 21.8 ระบุว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลเสียคือทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด รองลงมา คือ มีปัญหาทะเลาะวิวาท (ร้อยละ 18.1) เสียสุขภาพ (ร้อยละ 17.0)เสียเงิน (ร้อยละ 14.2) เสียการเรียน/เสียอนาคต (ร้อยละ 13.3) เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหายาเสพติด (ร้อยละ 8.7) มีปัญหากับครอบครัว(ร้อยละ 5.5) และผลเสียอื่น ๆ เช่น เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ และสร้างความรำคาญแก่คนรอบข้าง (ร้อยละ 0.1) ในขณะที่วัยรุ่นอีกร้อยละ 1.4 ระบุว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ก่อให้เกิดผลเสียใดๆ
5. สำหรับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์นั้น วัยรุ่นร้อยละ 54.6 เห็นว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ในขณะที่อีกร้อยละ 45.4 เห็นว่าไม่ใช่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายกับหญิง พบว่า วัยรุ่นชายถึงร้อยละ 61.4 เห็นว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ขณะที่มีวัยรุ่นหญิงคิดเช่นนี้ร้อยละ 48.4
6. เกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลพยายามกำหนดขึ้นเพื่อจะแก้ไขปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นนั้นพบว่า มาตรการที่กลุ่มตัวอย่างคิดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นได้มากที่สุดคือ การเพิ่มบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนให้แรงขึ้น รองลงมาได้แก่ การรณรงค์ให้วัยรุ่นตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามร้านค้าจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี กำหนดพื้นที่ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กำหนดโทษแก่พ่อแม่ที่ใช้ลูกไปซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามลำดับ ส่วนการกำหนดเวลาห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นมาตรการที่วัยรุ่นคิดว่าไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- เพิ่มบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนให้แรงขึ้น ร้อยละ 74.0 เห็นว่า มาตรการนี้สามารถแก้ปัญหาได้ (ในขณะที่ร้อยละ 26.0 เห็นว่า ไม่สามารถแก้ได้
- รณรงค์ให้วัยรุ่นตระหนักถึงพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 58.6 เห็นว่า มาตรการนี้สามารถแก้ปัญหาได้ (ในขณะที่ร้อยละ 41.4 เห็นว่า ไม่สามารถแก้ได้)
- ห้ามร้านค้าจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ร้อยละ 57.3 เห็นว่า มาตรการนี้สามารถแก้ปัญหาได้(ในขณะที่ร้อยละ 42.7 เห็นว่า ไม่สามารถแก้ได้)
- กำหนดพื้นที่ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 55.8 เห็นว่า มาตรการนี้สามารถแก้ปัญหาได้ (ในขณะที่ร้อยละ 44.2 เห็นว่า ไม่สามารถแก้ได้)
- กำหนดโทษแก่พ่อแม่ที่ใช้ลูกไปซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 55.6 เห็นว่า มาตรการนี้สามารถแก้ปัญหาได้(ในขณะที่ร้อยละ 44.4 เห็นว่า ไม่สามารถแก้ได้)
- ขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 55.1 เห็นว่า มาตรการนี้สามารถแก้ปัญหาได้ (ในขณะที่ร้อยละ 44.9 เห็นว่า ไม่สามารถแก้ได้
- กำหนดเวลาห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 52.6 เห็นว่า มาตรการนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ (ในขณะที่ร้อยละ 47.4 เห็นว่า สามารถแก้ได้)
บทสรุปและวิเคราะห์ :
ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าการจะแก้ปัญหาเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นให้ได้ผลนั้น จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติบางประการของวัยรุ่นร่วมด้วยนอกเหนือไปจากมาตรการที่รัฐบาลประกาศใช้ ไม่ว่าจะเป็นการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือการกำหนดเวลาและสถานที่ห้ามจำหน่ายที่หลายคนมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเสียมากกว่า
ทั้งนี้ผลการสำรวจพบว่า ยังมีวัยรุ่นถึงร้อยละ 57.6 ที่ระบุว่าจะจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบในงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ตนเป็นเจ้าของงานเพื่อเพิ่มสีสันและความสนุกสนานโดยมองว่าไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่อย่างใด
นอกจากนี้ วัยรุ่นส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ไม่ได้ทำให้คนอื่นเดือดร้อนอีกด้วย
คำตอบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงผลเสียของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างแท้จริงรวมทั้งยังไม่ตระหนักถึงสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นที่มักถูกผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ล่วงละเมิดทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่บุคคลรอบข้าง การดื่มแอลกอฮอล์แล้วไปขับรถเป็นบุคคลอันตรายอยู่ตามท้องถนนหรือแม้แต่การสร้างปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอันเนื่องมาจากเมาแล้วขาดสติ เป็นต้น
ดังนั้น การแก้ปัญหาเรื่องการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นจึงควรเริ่มต้นที่การรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมใหม่ให้วัยรุ่นเห็นว่างานเลี้ยงสังสรรค์ของคนที่มีหัวคิดต้องไม่ยึดติดแอลกอฮอล์ เพราะจะเป็นงานเลี้ยงสังสรรค์ที่สนุกโดยไม่มีทุกข์ตามมาโดยชี้ให้วัยรุ่นตระหนักถึงผลเสียที่คาดไม่ถึงของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่นด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการสำรวจครั้งนี้มีความคิดเห็นของวัยรุ่นบางคนฝากมาเป็นข้อคิดสะกิดใจผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งหลายก็คือถ้าหากรัฐบาลคิดว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งไม่ดีก็ไม่ควรออกมาตรการมาสกัดกั้นเฉพาะวัยรุ่นที่อายุต่ำกว่า 18 ปีเท่านั้น ในเมื่อผู้ใหญ่ยังดื่มได้วัยรุ่นก็ควรดื่มได้ เพราะขึ้นชื่อว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ดื่มเข้าไปก็เมาขาดสติได้เหมือนกัน
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 547 47.8
หญิง 597 52.2
อายุ :
ต่ำกว่า 18 ปี 366 32.0
18 - 22 ปี 778 68.0
ระดับการศึกษา :
โรงเรียน 268 23.4
มหาวิทยาลัย 465 40.6
พาณิชยการ/อาชีวศึกษา 210 18.4
ไม่ได้ศึกษาแล้ว 201 17.6
ตารางที่ 2: ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
จำนวน ร้อยละ
ดี 716 62.6
ไม่ดี 428 37.4
- เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า เป็นเรื่องดีหากงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
จำนวน ร้อยละ
ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 413 26.7
ไม่เสียสุขภาพ 337 21.8
ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น 281 18.1
ประหยัด 255 16.5
ไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท 252 16.3
อื่น ๆ 11 0.7
- เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า เป็นเรื่องไม่ดีหากงานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
จำนวน ร้อยละ
ไม่สนุก 311 51.2
ไม่เหมาะที่จะเป็นงานเลี้ยง 145 23.8
เป็นงานเลี้ยงของเด็ก ๆ 79 13.0
ไม่มีสื่อเชื่อมความสัมพันธ์ 66 10.9
อื่น ๆ 7 1.2
- เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่องานเลี้ยงสังสรรค์ที่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระหว่าง
เพศชายและเพศหญิง
ดี ไม่ดี รวม
ชาย 268(49.0%) 279(51.0%) 547(100%)
หญิง 448(75.0%) 149(25.0%) 597(100%)
รวม 716(62.6%) 428(37.4%) 1144(100%)
ตารางที่ 3: หากท่านเป็นเจ้าของงานเลี้ยงสังสรรค์ ท่านจะจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มี 659 57.6
ไม่มี 485 42.4
- เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่า จะต้องมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ ในงานเลี้ยงสังสรรค์ หากตนเองเป็นเจ้าของงาน
จำนวน ร้อยละ
ช่วยเพิ่มสีสันให้กับงาน 398 33.6
ไม่ใช่เรื่องเสียหาย 218 18.4
เพื่อเพิ่มบรรยากาศในการพูดคุย 202 17.1
เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ 173 14.6
เพื่อสร้างความเป็นพวกพ้อง 112 9.5
เพื่อหน้าตาในฐานะเจ้าของงาน 67 5.7
อื่น ๆ 14 1.2
- เปรียบเทียบการจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบของงานเลี้ยงสังสรรค์หากตนเองเป็นเจ้าของงาน ระหว่างเพศชายและเพศหญิง
มี ไม่มี รวม
ชาย 409(74.8%) 138(25.2%) 547(100%)
หญิง 250(41.8%) 347(58.2%) 597(100%)
รวม 659(57.6%) 485(42.4%) 1144(100%)
- เปรียบเทียบการจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบของงานเลี้ยงสังสรรค์หากตนเองเป็นเจ้าของงานระว่างกลุ่มอายุต่ำกว่า 18 ปี และกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป
มี ไม่มี รวม
กลุ่มอายุต่ำกว่า 18 ปี 189(51.6%) 177(48.4%) 366(100%)
กลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป 470(60.4%) 308(39.6%) 778(100%)
รวม 658(57.6%) 485(42.4%) 1144(100%)
- เปรียบเทียบการจัดให้มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบของงานเลี้ยงสังสรรค์หากตนเองเป็นเจ้าของงาน ระหว่างวัยรุ่นในแต่ละระดับการศึกษา
มี ไม่มี รวม
โรงเรียน 120(44.8%) 148(55.2%) 268(100%)
มหาวิทยาลัย 271(58.3%) 194(41.7%) 465(100%)
พาณิชย์/อาชีวศึกษา 144(68.6%) 66(31.4%) 210(100%)
ไม่ได้ศึกษาแล้ว 124(61.7%) 77(38.3%) 201(100%)
รวม 659(57.6%) 485(42.4%) 1144(100%)
ตารางที่ 4: ท่านคิดว่าอะไรเป็นเหตุจูงใจสำคัญที่สุดที่ทำให้วัยรุ่นริลองดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
จำนวน ร้อยละ
ความอยากลอง 309 27.0
เพื่อนชักชวน 216 18.9
คิดว่าตนเองโตพอที่ดื่มได้แล้ว 202 17.7
เพื่ออวดเพื่อนฝูง 99 8.7
อิทธิพลจากสื่อโฆษณา 66 5.8
เพื่อแสดงความเป็นพวกเดียวกัน 61 5.3
เพื่อแสดงความเป็นลูกผู้ชาย 58 5.1
เพื่อให้ดูว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว 54 4.7
เลียนแบบผู้ใหญ่ 51 4.5
ประชดชีวิต 12 1.0
อื่น ๆ 16 1.4
ตารางที่ 5: ท่านคิดว่าผลเสียที่มาจากการดื่มแอลกอฮอล์คืออะไร
จำนวน ร้อยละ
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ 567 21.8
มีปัญหาทะเลาะวิวาท 471 18.1
เสียสุขภาพ 441 17.0
เสียเงิน 369 14.2
เสียการเรียน / เสียอนาคต 346 13.3
เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหายาเสพติด 225 8.7
มีปัญหากับครอบครัว 144 5.5
ไม่มีผลเสีย 36 1.4
อื่น ๆ 2 0.1
ตารางที่ 6: ท่านคิดว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์เป็นสิทธิส่วนบุคคล ที่ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน ใช่หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ใช่ 625 54.6
ไม่ใช่ 519 45.4
- เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประเด็นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานเลี้ยงสังสรรค์เป็นสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง
เป็น ไม่เป็น รวม
ชาย 336(61.4%) 211(38.6%) 547(100%)
หญิง 289(48.4%) 308(51.6%) 597(100%)
รวม 625(57.6%) 519(42.4%) 1144(100%)
ตารางที่ 7: ท่านคิดว่ามาตรการต่อไปนี้จะสามารถแก้ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นได้หรือไม่
ได้ ไม่ได้
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
1. ขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 630 55.1 514 44.9
2. ห้ามร้านค้าจำหน่ายเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี 655 57.3 489 42.7
3. กำหนดเวลาห้ามจำหน่ายเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ 542 47.4 602 52.6
4. กำหนดพื้นที่ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ 638 55.8 506 44.2
5. เพิ่มบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนให้แรงขึ้น 846 74.0 298 26.0
6. รณรงค์ให้วัยรุ่นตระหนักถึงพิษภัยของ
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 670 58.6 474 41.4
7. กำหนดโทษแก่พ่อแม่ที่ใช้ลูกไปซื้อ
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 636 55.6 508 44.4
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-