ผู้ปกครอง 78.3% มีปัญหาขาดสภาพคล่องช่วงใกล้เปิดเทอมเพราะมีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น และ 50.9% โอดครวญว่าเงินช่วยเหลือที่ได้จากรัฐไม่สอดคล้องกับ ค่าใช้จ่ายจริง
โดยผู้ปกครอง 59.5% ระบุว่าปีนี้ได้เตรียมแบ่งเงินเพื่อการเรียนของลูกไว้อยู่แล้ว บางส่วนรอเงินเดือนออกและขอหยิบยืมจากญาติ
ทั้งนี้วอนภาครัฐเพิ่มเงินช่วยเหลือค่าชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน และช่วยเหลือค่าเทอมให้ครอบคลุม รวมทั้งขอให้โรงเรียนลดค่ากิจกรรมลงบ้าง
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “เปิดเทอมใหม่...ผู้ปกครองรับมืออย่างไร” โดยเก็บข้อมูลจากผู้ปกครองที่มีบุตรหลาน เรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษา ทั้งสังกัดโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 1,204 คน พบว่า
ปัญหาหลักที่ผู้ปกครองพบเจอในช่วงใกล้เปิดเทอมปีนี้ร้อยละ 78.3 ระบุว่า มีภาระค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้นทำให้ขาดสภาพคล่อง รองลงมาร้อยละ 50.9 คือ เงินช่วยเหลือที่ได้จากรัฐไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจริง และร้อยละ 47.8 คือ สินค้าเกี่ยวกับการเรียนแพงขึ้น
ทั้งนี้เงินที่เตรียมไว้สำหรับค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาของบุตร/หลานในช่วงเปิดเทอมปีนี้ผู้ปกครองร้อยละ 59.5 ระบุว่ามาจากเงินที่แบ่งไว้สำหรับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาอยู่แล้ว รองลงมาร้อยละ 30.1 ระบุว่า มาจากเงินเดือนเดือนล่าสุด และร้อยละ 18.7 ระบุว่า ขอยืมเงินจากญาติ/ พี่น้อง/ เพื่อน
ส่วนภาพรวมการซื้อเสื้อผ้ารองเท้าและอุปกรณ์การเรียนต่างๆ ในปีนี้ ผู้ปกครองร้อยละ 49.1 ระบุว่าซื้อจำนวนมากกว่าปีที่แล้ว รองลงมาร้อยละ 31.1 ระบุว่าซื้อเท่าเดิม และร้อยละ 19.8 ระบุว่า ซื้อจำนวนน้อยกว่าปีที่แล้ว
สำหรับเรื่องที่อยากให้รัฐบาลมีสวัสดิการช่วยเหลือด้านการศึกษาเพิ่มเติมแก่บุตร/หลานมากที่สุด ร้อยละ 35.3คืออยากให้รัฐเพิ่มเงินช่วยเหลือค่าชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน รองลงมาร้อยละ 20.5 ระบุว่า อยากให้รัฐช่วยเหลือเรื่องค่าเทอมให้ครอบคลุมหรือลดค่าเทอมและให้โรงเรียนลดค่ากิจกรรมลงบ้าง และร้อยละ 9.8 ระบุว่า อยากให้มีการเรียนฟรีจริงๆ โดยผู้ปกครองไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
โดยภาพรวมปีนี้ผู้ปกครองให้คะแนนความพึงพอใจการปฏิรูปด้านการศึกษาของรัฐบาล อยู่ที่5.60 คะแนนจากคะแนนเต็ม10 คะแนนซึ่งลดลงจากปีที่แล้ว0.11 คะแนน
โดยมีรายละเอียดดังนี้
มีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้นทำให้ขาดสภาพคล่อง ร้อยละ 78.3 เงินช่วยเหลือที่ได้จากรัฐไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายจริง ร้อยละ 50.9 สินค้าเกี่ยวกับการเรียนแพงขึ้น ร้อยละ 47.8 รายได้/ รายรับลดลง ไม่พอค่าใช้จ่ายของบุตร หลาน ร้อยละ 39.9 โรงเรียนมีค่าเทอม/ค่าบำรุง/ค่ากิจกรรม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.8 เงินช่วยเหลือจากรัฐเบิกได้ล่าช้า ร้อยละ 13.3 มีจำนวนบุตรที่ต้องเข้าเรียนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.7 2. เงินที่เตรียมไว้สำหรับค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาของบุตร/หลานในช่วงเปิดเทอมปีนี้ได้มาจาก........(ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ) มีเงินที่แบ่งไว้สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่แล้ว ร้อยละ 59.5 รอเงินเดือนเดือนล่าสุด ร้อยละ 30.1 ขอยืมเงินจากญาติ/ พี่น้อง/ เพื่อน ร้อยละ 18.7 กู้เงินนอกระบบ ร้อยละ 8.8 จำนำทรัพย์สิน ร้อยละ 8.1 รูดบัตรเครดิต ร้อยละ 3.8 อื่นๆอาทิ กู้ ธกส. กู้สหกรณ์ ขายทอง เป็นต้น ร้อยละ 2.1 3. ภาพรวมการซื้อเสื้อผ้ารองเท้าและอุปกรณ์การเรียนต่างๆในปีนี้เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ซื้อจำนวนมากกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 49.1 ซื้อเท่าเดิม ร้อยละ 31.1 ซื้อจำนวนน้อยกว่าปีที่แล้ว ร้อยละ 19.8 4. เรื่องที่อยากให้รัฐบาลมีสวัสดิการช่วยเหลือด้านการศึกษาเพิ่มเติมแก่บุตร/หลานมากที่สุด 5 อันดับแรก(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) อยากให้เพิ่มเงินช่วยเหลือค่าชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน เช่นจากเดิม 300 บาท ร้อยละ 35.3 เพิ่มเป็น 500 บาท เป็นต้น อยากให้ช่วยเหลือค่าเทอมให้ครอบคลุมหรือลดค่าเทอมและให้โรงเรียนลดค่ากิจกรรมลงบ้าง ร้อยละ 20.5 อยากให้มีการเรียนฟรีจริงๆ ผู้ปกครองไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ร้อยละ 9.8 อยากให้มีทุนเรียนฟรีกับนักเรียนที่มีฐานะยากจนและทุนเรียนดี ร้อยละ 8.5 อุปกรณ์การเรียนบางอย่างควรให้ฟรีและเพียงพอกับจำนวนนักเรียน เช่น หนังสือเรียน ร้อยละ 6.7 เครื่องเขียน เป็นต้น 5. ความพึงพอใจในการปฏิรูปด้านการศึกษาจากรัฐบาลปัจจุบัน
คะแนนความพึงพอใจอยู่ที่ 5.60 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ลดลงจากปีที่แล้ว 0.11 คะแนน
ปี 2559 ปี2560 เพิ่มขึ้น/ลดลง (คะแนน) (คะแนน) ความพึงพอใจในการปฏิรูปด้านการศึกษา 5.71 5.60 - 0.11
รายละเอียดในการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนในระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษา เกี่ยวกับปัญหาหลักที่พอเจอในช่วงใกล้เปิดเทอม การเตรียมเงินเพื่อใช้จ่ายในช่วงใกล้ เปิดเทอม ปริมาณการซื้อสินค้าเกี่ยวกับการศึกษา เรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลมีสวัสดิการเพิ่มเติมด้านการศึกษา รวมถึงความเห็นที่มีต่อการปฏิรูปการศึกษาของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้ สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างผู้ปกครองที่มีบุตรเรียนในระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษา ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน ได้แก่ เขตดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางเขน บางซื่อ บางนา บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง สวนหลวง และสาทร และปริมณฑลได้แก่ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากร เป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,204 คน
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและ ประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 28 เมษายน – 2พฤษภาคม 2560
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 6 พฤษภาคม 2560
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ อายุ
25-30 ปี 152 12.6 31-40 ปี 480 39.9 41-50 ปี 432 35.9 51 ปีขึ้นไป 140 11.6 รวม 1,204 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 887 73.7 ปริญญาตรี 278 23.1 สูงกว่าปริญญาตรี 39 3.2 รวม 1,204 100 อาชีพ ข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจ 110 9.1 พนักงาน/ ลูกจ้างบริษัทเอกชน 367 30.5 ค้าขาย/ ประกอบอาชีพส่วนตัว 509 42.3 เจ้าของกิจการ 53 4.4 ทำงานให้ครอบครัว 9 0.7 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 150 12.5 ว่างงาน /รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 6 0.5 รวม 1,204 100 ประเภทของโรงเรียนที่บุตรศึกษาอยู่ โรงเรียนรัฐบาล 777 64.5 โรงเรียนเอกชน 351 29.2 โรงเรียนรัฐบาลและเอกชน 76 6.3 รวม 1,204 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--