กรุงเทพโพลล์: “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม”

ข่าวผลสำรวจ Monday May 15, 2017 09:18 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชน 76.8% มีความเชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ว่าการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐมีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ

ทั้งนี้หากไม่สามารถลงโทษการกระทำผิดของกลุ่มผู้มีอิทธิพลและข้าราชการบางกลุ่มได้ จะทำ ให้ประชาชนจะหมดศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม

โดย 78.6% เห็นด้วยว่า กระแสจากโลกโซเชียลและสื่อมวลชนที่ออกมาช่วยตีแผ่เหตุการณ์ หรือคดีต่างๆ จะทำให้สังคมคอยจับตามมองและทำให้คดีคืบหน้าเร็วขึ้น

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม” โดยเก็บข้อมูล จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 1,116 คน พบว่า

การที่กระบวนการยุติธรรมไทยไม่สามารถลงโทษการกระทำผิดของกลุ่มผู้มีอิทธิพลและข้าราชการบางกลุ่มได้นั้น ประชาชนร้อยละ 32.7 ระบุว่า จะส่งผลให้ประชาชนจะหมด ศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม รองลงมาร้อยละ 24.1 ระบุว่า จะส่งผลให้คนชั่วเพิ่มขึ้นเพราะไม่เกรงกลัวต่อการทำผิดกฎหมาย และร้อยละ 22.0 ระบุว่า จะส่งผลให้เกิดค่านิยม มีอิทธิพล ก็พ้นผิด ความยุติธรรมเงินซื้อได้

ทั้งนี้เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐมีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 76.8 ระบุว่า มีความเชื่อมั่นค่อนข้างน้อย ถึงน้อยที่สุด ขณะที่ ร้อยละ 23.2 มีความเชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

สำหรับความเห็นต่อกระแสจากโซเชียลและสื่อมวลชนที่มาช่วยสอดส่องและตีแผ่เหตุการณ์ หรือคดีต่างๆ ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ประชาชนร้อยละ 78.6 ระบุว่าดีและเห็นด้วย ( เพราะทำให้สังคมรู้ข้อมูลและคอยจับตามมองและทำให้คดีคืบหน้าเร็วขึ้น) ขณะที่ร้อยละ 21.4 ระบุว่าไม่ดีและไม่เห็นด้วย (เพราะจะทำให้บุคคลกลายเป็นจำเลยสังคมทั้งที่ยังไม่โดนตัดสินและ จะทำให้เสียรูปคดี)

โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การที่กระบวนการยุติธรรมไทยไม่สามารถลงโทษการกระทำผิดของกลุ่มผู้มีอิทธิพลและข้าราชการบางกลุ่มจะส่งผลอย่างไร
ประชาชนจะหมดศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม                                        ร้อยละ          32.7
คนชั่วเพิ่มขึ้นเพราะไม่เกรงกลัวต่อการทำผิดกฎหมาย                                    ร้อยละ          24.1
เกิดค่านิยม มีอิทธิพลก็พ้นผิด ความยุติธรรมเงินซื้อได้                                    ร้อยละ          22.0
เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐเลือกปฏิบัติมากขึ้น                                            ร้อยละ          13.9
เสื่อมเสียชื่อเสียงของประเทศไทย                                                 ร้อยละ           7.3

2.  ความเชื่อมั่นต่อการบังคับใช้ กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐมีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ
เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด          ร้อยละ 76.8

โดยแบ่งเป็น

                              - เชื่อมั่นน้อยที่สุด                 ร้อยละ 42.6
                              - เชื่อมั่นค่อนข้างน้อย              ร้อยละ 34.2

เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด          ร้อยละ 23.2

โดยแบ่งเป็น

                              - เชื่อมั่นมากที่สุด                 ร้อยละ  6.5
                              - เชื่อมั่นค่อนข้างมาก              ร้อยละ 16.7

3. ความเห็นต่อกระแสจากโซเชียลและสื่อมวลชนที่มาช่วยสอดส่องและตีแผ่ เหตุการณ์หรือคดีต่างๆ ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
ดีและเห็นด้วย                      ร้อยละ 78.6

โดยให้เหตุผลว่า

  • ทำให้สังคมรู้ข้อมูลและคอยจับตามมอง ร้อยละ 53.9
                              - ทำให้คดีคืบหน้าเร็วขึ้น            ร้อยละ 24.7

ไม่ดีและไม่เห็นด้วย                  ร้อยละ 21.4

โดยให้เหตุผลว่า

  • จะทำให้บุคคลกลายเป็นจำเลยสังคม ร้อยละ 16.3

ทั้งที่ยังไม่โดนตัดสิน

                              - จะทำให้เสียรูปคดี               ร้อยละ  5.0

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของสังคมไทย รวมถึงกระแสโซเชียลและสื่อมวลชน ที่ช่วยสอดส่องและตีแผ่เหตุการณ์และ คดีต่างๆ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 9-12 พฤษภาคม 2560

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ          :  13 พฤษภาคม 2560

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                           588      52.7
          หญิง                           528      47.3
          รวม                         1,116       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                   142      12.7
          31 ปี – 40 ปี                   235      21.1
          41 ปี – 50 ปี                   297      26.6
          51 ปี - 60 ปี                   269      24.1
          61 ปี ขึ้นไป                     173      15.5
          รวม                         1,116       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                  712      63.8
          ปริญญาตรี                       306      27.4
          สูงกว่าปริญญาตรี                   98       8.8
          รวม                         1,116       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                    144      12.9
          ลูกจ้างเอกชน                    273      24.5
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร    436      39.1
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง            46       4.1
          ทำงานให้ครอบครัว                  2       0.2
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ        163      14.6
          นักเรียน/ นักศึกษา                 27       2.4
          ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม        25       2.3
          รวม                         1,116       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ