ก้าวสู่ปีที่ 4 คสช. คนไทยอยากเห็นผลงาน คสช. เน้นปฏิรูปในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม และการขจัดคอร์รัปชั่น เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ 56.4% คาดหวังมากว่า คสช. จะสามารถปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ได้สำเร็จ
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของ คสช.” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาค ทั่วประเทศจำนวน 1,269 คน พบว่า
เมื่อถามความเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานและการปฏิรูปประเทศในภาพรวมของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ตลอดระยะเวลา 3 ปี พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 40.9 เห็นว่า มีผลงานบ้าง ประเทศพัฒนาขึ้นเล็กน้อย ส่วนร้อยละ 33.7 เห็นว่า มีผลงานเด่นชัด ประเทศมีการพัฒนาขึ้นมาก ขณะที่ร้อยละ 23.1 เห็นว่าเหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ที่เหลือร้อยละ 2.3 ไม่แน่ใจ
เมื่อถามต่อว่าก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของ คสช. อยากเห็นผลงานการปฏิรูปประเทศในเรื่องใดให้เด่นชัดขึ้นมากที่สุด อันดับแรกคือ การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม (ร้อยละ 50.1) รองลงมาคือ การมีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 48.3) และการขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ และสังคม (ร้อยละ 46.6)
ทั้งนี้เมื่อถามถึงความคาดหวังต่อก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของ คสช. จะสามารถปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ได้สำเร็จ ดังสโลแกนที่ว่า “ เราจะทำตามสัญญาขอเวลาอีกไม่นาน” พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 56.4 คาดหวังค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 38.0 คาดหวังค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ส่วนที่เหลือร้อยละ 5.6 ไม่แน่ใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
มีผลงานบ้าง ประเทศพัฒนาขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 40.9 มีผลงานเด่นชัด ประเทศมีการพัฒนาขึ้นมาก ร้อยละ 33.7 คิดว่าเหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 23.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 2.3 2. ข้อคำถาม “ก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของ คสช. ท่านอยากเห็นผลงานการปฏิรูปประเทศในเรื่องใดให้เด่นชัดขึ้นมากที่สุด” การบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม ร้อยละ 50.1 การมีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 48.3 การขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ร้อยละ 46.6 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ร้อยละ 44.3 มีความเหมาะสมกับสังคมไทย การมีกลไกให้มีการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม ร้อยละ 37.4 ภาครัฐให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว ร้อยละ 37.1 3. ข้อคำถาม “ก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ของ คสช. ท่านความคาดหวังมากน้อยเพียงใดว่า คสช. จะสามารถปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ได้สำเร็จ ดังสโลแกนที่ว่า “ เราจะทำตามสัญญาขอ เวลาอีกไม่นาน” ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 42.4 และมากที่สุดร้อยละ 14.0) ร้อยละ 56.4 ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 22.6 และน้อยที่สุดร้อยละ 15.4) ร้อยละ 38.0 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 5.6
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการบริหารงานและการปฏิรูปประเทศในภาพรวมของ คสช. ตลอดระยะเวลา 3 ปี
2) เพื่อต้องการทราบถึงเรื่องที่อยากให้ คสช. ปฏิรูปประเทศให้เห็นผลที่เด่นชัดมากที่สุด ในการก้าวเข้าสู่ปีที่ 4
3) เพื่อต้องการทราบถึงความคาดหวังว่า คสช. จะสามารถปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ได้สำเร็จ ดังสโลแกนที่ว่า “ เราจะทำตามสัญญาขอเวลาอีกไม่นาน”
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบ เลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 24 – 25 พฤษภาคม 2560 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 27 พฤษภาคม 2560
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 649 51.1 หญิง 620 48.9 รวม 1,269 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 152 12 31 ปี - 40 ปี 264 20.8 41 ปี - 50 ปี 360 28.4 51 ปี - 60 ปี 286 22.5 61 ปี ขึ้นไป 207 16.3 รวม 1,269 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 839 66.1 ปริญญาตรี 335 26.4 สูงกว่าปริญญาตรี 95 7.5 รวม 1,269 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 166 13.1 ลูกจ้างเอกชน 283 22.3 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 508 40 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 48 3.8 ทำงานให้ครอบครัว 1 0.1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 206 16.2 นักเรียน/ นักศึกษา 41 3.2 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 16 1.3 รวม 1,269 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--