วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับบทบาทรัฐบาลรักษาการ
และคุณสมบัติของรัฐมนตรีชุดใหม่ ในประเด็นรัฐบาลรักษาการควรจะทำอะไรในช่วงนี้ รัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ควรมีคุณ
สมบัติอย่างไร และปัญหาที่รัฐบาลชุดใหม่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน
วิธีสำรวจ:
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร
เทคนิคการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่ม เขตปกครอง
ในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 32 เขต ดังนี้
คลองเตย คลองสาน คลองสามวา จตุจักร จอมทอง ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกใหญ่
บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พระนคร ภาษีเจริญ
มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สายไหม หนองแขม
หนองจอก หลักสี่ ห้วยขวาง
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโควต้า ตามเพศ กลุ่มอายุและอาชีพ ได้ตัวอย่างทั้ง
สิ้นจำนวน 1,592 คน
ความคลาดเคลื่อน:
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน + 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง
"บทบาทรัฐบาลรักษาการ และคุณสมบัติของรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ประชาชนต้องการ"
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นในหัวข้อที่สำรวจ
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:
23 - 24 มกราคม 2544
วันที่เผยแพร่ข้อมูล:
26 มกราคม 2544
สำรวจโดย:
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร
เป็นชายร้อยละ 49.5
เป็นหญิงร้อยละ 50.5
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 68.3 เป็นผู้มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ที่เหลือร้อยละ 30.6 มีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
ประกอบอาชีพหลากหลาย เช่น
รับราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัทเอกชน
เจ้าของกิจการ
รับจ้างทั่วไป
ค้าขาย
นักศึกษา
แม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อถามถึงบทบาทของรัฐบาลรักษาการของนายชวน หลีกภัย ควรทำอะไรมากที่สุดในช่วงเวลานี้
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 22.2 เห็นว่าควรเสนอแนะโครงการที่สำคัญแก่รัฐบาลชุดใหม่ ที่ต้องทำต่อเนื่องจาก โครงการเดิมที่ทำมาแล้ว
ร้อยละ 20.4 เห็นว่าควรให้ข้อมูลที่สำคัญจัดทำนโยบาย เพื่อรัฐบาลใหม่จะได้ทำงานได้ทันที
ร้อยละ 15.7 เห็นว่าควรมีน้ำใจนักกีฬา แสดงความยินดีและพร้อมจะส่งมอบงาน
ร้อยละ 10.5 เห็นว่าควรจะหยุดกล่าวร้าย เสียดสี ซึ่งกันและกัน
ร้อยละ 10.0 เห็นว่ารัฐบาลรักษาการไม่ต้องเร่งทำอะไรในช่วงเวลานี้ รอให้รัฐบาลใหม่เข้ามาดำเนินการ
ร้อยละ 9.2 เห็นว่าควรแนะนำการตั้งรัฐบาล
และร้อยละ 7.7 เห็นว่าควรให้ข้าราชการสนับสนุนร่วมมือในการจัดตั้งรัฐบาล
3. เมื่อถามถึงคุณสมบัติที่สำคัญของรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 25.8 เห็นว่าควรเป็นคนที่ทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติอย่างจริงจัง
ร้อยละ 16.4 เห็นว่าไม่ควรเป็นคนที่เข้ามาเพื่อถอนทุน
ร้อยละ 14.7 ควรเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ดี กล้าคิดสิ่งแปลกใหม่
ร้อยละ 10.0 ควรเป็นคนที่สามารถประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้ดี
ร้อยละ 8.6 ควรเป็นคนกล้าตัดสินใจเพื่อส่วนรวม
ร้อยละ 7.8 ควรเป็นคนมีผลงานเป็นที่ยอมรับ
ร้อยละ 7.5 เป็นคนมีความรู้ ความสามารถในงานที่รับผิด ชอบ
และร้อยละ 6.4 เป็นคนมีภาพพจน์ดี ประชาชนยอมรับ
4. สำหรับปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลชุดใหม่ควรแก้ไขโดยเร็ว
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 44.9 เห็นว่าควรเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
ร้อยละ 16.0 แก้ปัญหาการว่างงาน
ร้อยละ 15.6 ปราบปรามคอร์รัปชั่น
ร้อยละ 9.9 ปราบปรามยาเสพติด
ร้อยละ 4.0 แก้ปัญหาการประท้วงหรือม็อบ
ร้อยละ 3.0 แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
และร้อยละ 2.4 ปราบปรามมิจฉาชีพ
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 788 49.5
หญิง 804 50.5
อายุ :
18 - 25 298 18.7
26 - 35 453 28.5
36 - 45 595 37.4
มากกว่า 45 ปี 246 15.5
การศึกษา :
ประถมศึกษา 285 18.7
มัธยมศึกษา 287 18
ปวช. 245 15.4
ปวส./อนุปริญญา 270 17
ปริญญาตรี 426 26.8
สูงกว่าปริญญาตรี 60 3.8
ไม่ระบุ 19 1.2
อาชีพ :
รับราชการ 84 5.3
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 75 4.7
พนักงานเอกชน 279 17.5
เจ้าของกิจการ 99 6.2
รับจ้างทั่วไป 315 19.8
ค้าขาย 304 19.1
นักศึกษา 221 13.9
แม่บ้าน 146 9.2
อาชีพอื่น ๆ 69 4.3
ตารางที่ 2 ในช่วงนี้ ท่านคิดว่าบทบาทของรัฐบาลรักษาการ (ของนายชวน หลีกภัย) ควรทำอะไรมากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
เสนอแนะโครงการที่สำคัญต้องทำต่อเนื่องจากโครงการเดิมที่ทำมาแล้ว 353 22.2
ให้ข้อมูลสำคัญในการจัดทำนโยบาย เพื่อรัฐบาลใหม่จะได้ทำงานทันที 325 20.4
มีน้ำใจนักกีฬา แสดงความยินดี และพร้อมจะมอบงานให้รัฐบาลชุดใหม่ 250 15.7
หยุดกล่าวร้าย เสียดสี ซึ่งกันและกัน 167 10.5
ไม่ต้องเร่งทำอะไรในช่วงนี้ รอรัฐบาลใหม่เข้ามาดำเนินการ 159 10
ให้คำแนะนำในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ 146 9.2
ให้ข้าราชการสนับสนุนร่วมมือในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ 122 7.7
อื่น ๆ 55 3.5
ไม่ระบุ 15 0.9
ตารางที่ 3 ท่านคิดว่ารัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ ควรมีคุณสมบัติที่สำคัญอย่างไร
จำนวน ร้อยละ
ทำงานเพื่อประเทศชาติอย่างจริงจัง 411 25.8
ไม่เข้ามาเพื่อถอนทุน 261 16.4
มีวิสัยทัศน์ดี กล้าคิดสิ่งแปลกใหม่ 234 14.7
ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้ดี 159 10
กล้าตัดสินใจเพื่อส่วนรวม 137 8.6
กล้าตัดสินใจเพื่อส่วนรวม 137 8.6
มีผลงานเป็นที่ยอมรับ 124 7.8
มีความรู้ ความสามารถในงานที่ให้รับผิดชอบ 120 7.5
มีภาพพจน์ดี ประชาชนยอมรับ 102 6.4
อื่น ๆ 28 1.8
ไม่ระบุ 16 1
ตารางที่ 4 ท่านคิดว่าปัญหาที่รัฐบาลชุดใหม่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วนคืออะไร
จำนวน ร้อยละ
เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ 715 44.9
แก้ปัญหาการว่างงาน 254 16
ปราบปรามคอร์รัปชั่น 248 15.6
ปราบปรามยาเสพติด 158 9.9
แก้ปัญหาการประท้วง (ม็อบ) 64 4
แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม 47 3
ปราบปรามมิจฉาชีพ 38 2.4
อื่น ๆ 51 3.2
ไม่ระบุ 17 1.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ เพื่อต้องการทราบความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับบทบาทรัฐบาลรักษาการ
และคุณสมบัติของรัฐมนตรีชุดใหม่ ในประเด็นรัฐบาลรักษาการควรจะทำอะไรในช่วงนี้ รัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ควรมีคุณ
สมบัติอย่างไร และปัญหาที่รัฐบาลชุดใหม่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน
วิธีสำรวจ:
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร
เทคนิคการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่ม เขตปกครอง
ในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 32 เขต ดังนี้
คลองเตย คลองสาน คลองสามวา จตุจักร จอมทอง ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกใหญ่
บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พระนคร ภาษีเจริญ
มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สายไหม หนองแขม
หนองจอก หลักสี่ ห้วยขวาง
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโควต้า ตามเพศ กลุ่มอายุและอาชีพ ได้ตัวอย่างทั้ง
สิ้นจำนวน 1,592 คน
ความคลาดเคลื่อน:
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน + 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง
"บทบาทรัฐบาลรักษาการ และคุณสมบัติของรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ประชาชนต้องการ"
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นในหัวข้อที่สำรวจ
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:
23 - 24 มกราคม 2544
วันที่เผยแพร่ข้อมูล:
26 มกราคม 2544
สำรวจโดย:
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร
เป็นชายร้อยละ 49.5
เป็นหญิงร้อยละ 50.5
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 68.3 เป็นผู้มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ที่เหลือร้อยละ 30.6 มีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
ประกอบอาชีพหลากหลาย เช่น
รับราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัทเอกชน
เจ้าของกิจการ
รับจ้างทั่วไป
ค้าขาย
นักศึกษา
แม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อถามถึงบทบาทของรัฐบาลรักษาการของนายชวน หลีกภัย ควรทำอะไรมากที่สุดในช่วงเวลานี้
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 22.2 เห็นว่าควรเสนอแนะโครงการที่สำคัญแก่รัฐบาลชุดใหม่ ที่ต้องทำต่อเนื่องจาก โครงการเดิมที่ทำมาแล้ว
ร้อยละ 20.4 เห็นว่าควรให้ข้อมูลที่สำคัญจัดทำนโยบาย เพื่อรัฐบาลใหม่จะได้ทำงานได้ทันที
ร้อยละ 15.7 เห็นว่าควรมีน้ำใจนักกีฬา แสดงความยินดีและพร้อมจะส่งมอบงาน
ร้อยละ 10.5 เห็นว่าควรจะหยุดกล่าวร้าย เสียดสี ซึ่งกันและกัน
ร้อยละ 10.0 เห็นว่ารัฐบาลรักษาการไม่ต้องเร่งทำอะไรในช่วงเวลานี้ รอให้รัฐบาลใหม่เข้ามาดำเนินการ
ร้อยละ 9.2 เห็นว่าควรแนะนำการตั้งรัฐบาล
และร้อยละ 7.7 เห็นว่าควรให้ข้าราชการสนับสนุนร่วมมือในการจัดตั้งรัฐบาล
3. เมื่อถามถึงคุณสมบัติที่สำคัญของรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 25.8 เห็นว่าควรเป็นคนที่ทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติอย่างจริงจัง
ร้อยละ 16.4 เห็นว่าไม่ควรเป็นคนที่เข้ามาเพื่อถอนทุน
ร้อยละ 14.7 ควรเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ดี กล้าคิดสิ่งแปลกใหม่
ร้อยละ 10.0 ควรเป็นคนที่สามารถประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้ดี
ร้อยละ 8.6 ควรเป็นคนกล้าตัดสินใจเพื่อส่วนรวม
ร้อยละ 7.8 ควรเป็นคนมีผลงานเป็นที่ยอมรับ
ร้อยละ 7.5 เป็นคนมีความรู้ ความสามารถในงานที่รับผิด ชอบ
และร้อยละ 6.4 เป็นคนมีภาพพจน์ดี ประชาชนยอมรับ
4. สำหรับปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลชุดใหม่ควรแก้ไขโดยเร็ว
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 44.9 เห็นว่าควรเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
ร้อยละ 16.0 แก้ปัญหาการว่างงาน
ร้อยละ 15.6 ปราบปรามคอร์รัปชั่น
ร้อยละ 9.9 ปราบปรามยาเสพติด
ร้อยละ 4.0 แก้ปัญหาการประท้วงหรือม็อบ
ร้อยละ 3.0 แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
และร้อยละ 2.4 ปราบปรามมิจฉาชีพ
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 788 49.5
หญิง 804 50.5
อายุ :
18 - 25 298 18.7
26 - 35 453 28.5
36 - 45 595 37.4
มากกว่า 45 ปี 246 15.5
การศึกษา :
ประถมศึกษา 285 18.7
มัธยมศึกษา 287 18
ปวช. 245 15.4
ปวส./อนุปริญญา 270 17
ปริญญาตรี 426 26.8
สูงกว่าปริญญาตรี 60 3.8
ไม่ระบุ 19 1.2
อาชีพ :
รับราชการ 84 5.3
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 75 4.7
พนักงานเอกชน 279 17.5
เจ้าของกิจการ 99 6.2
รับจ้างทั่วไป 315 19.8
ค้าขาย 304 19.1
นักศึกษา 221 13.9
แม่บ้าน 146 9.2
อาชีพอื่น ๆ 69 4.3
ตารางที่ 2 ในช่วงนี้ ท่านคิดว่าบทบาทของรัฐบาลรักษาการ (ของนายชวน หลีกภัย) ควรทำอะไรมากที่สุด
จำนวน ร้อยละ
เสนอแนะโครงการที่สำคัญต้องทำต่อเนื่องจากโครงการเดิมที่ทำมาแล้ว 353 22.2
ให้ข้อมูลสำคัญในการจัดทำนโยบาย เพื่อรัฐบาลใหม่จะได้ทำงานทันที 325 20.4
มีน้ำใจนักกีฬา แสดงความยินดี และพร้อมจะมอบงานให้รัฐบาลชุดใหม่ 250 15.7
หยุดกล่าวร้าย เสียดสี ซึ่งกันและกัน 167 10.5
ไม่ต้องเร่งทำอะไรในช่วงนี้ รอรัฐบาลใหม่เข้ามาดำเนินการ 159 10
ให้คำแนะนำในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ 146 9.2
ให้ข้าราชการสนับสนุนร่วมมือในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ 122 7.7
อื่น ๆ 55 3.5
ไม่ระบุ 15 0.9
ตารางที่ 3 ท่านคิดว่ารัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ ควรมีคุณสมบัติที่สำคัญอย่างไร
จำนวน ร้อยละ
ทำงานเพื่อประเทศชาติอย่างจริงจัง 411 25.8
ไม่เข้ามาเพื่อถอนทุน 261 16.4
มีวิสัยทัศน์ดี กล้าคิดสิ่งแปลกใหม่ 234 14.7
ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้ดี 159 10
กล้าตัดสินใจเพื่อส่วนรวม 137 8.6
กล้าตัดสินใจเพื่อส่วนรวม 137 8.6
มีผลงานเป็นที่ยอมรับ 124 7.8
มีความรู้ ความสามารถในงานที่ให้รับผิดชอบ 120 7.5
มีภาพพจน์ดี ประชาชนยอมรับ 102 6.4
อื่น ๆ 28 1.8
ไม่ระบุ 16 1
ตารางที่ 4 ท่านคิดว่าปัญหาที่รัฐบาลชุดใหม่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วนคืออะไร
จำนวน ร้อยละ
เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ 715 44.9
แก้ปัญหาการว่างงาน 254 16
ปราบปรามคอร์รัปชั่น 248 15.6
ปราบปรามยาเสพติด 158 9.9
แก้ปัญหาการประท้วง (ม็อบ) 64 4
แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม 47 3
ปราบปรามมิจฉาชีพ 38 2.4
อื่น ๆ 51 3.2
ไม่ระบุ 17 1.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--