ก้าวสู่ปีที่ 4 ในการบริหารประเทศของรัฐบาล คสช. ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 5.38 คะแนน จากเดิม 4.99 คะแนน โดยด้านการแก้ปัญหา ทุจริตคอร์รัปชั่นและด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย เป็นด้านที่มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากที่สุด
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นประเทศไทย กับการก้าวสู่ปีที่ 4 ของ คสช.” โดยเก็บข้อมูลกับประชาช นจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,127 คน พบว่า
ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยเฉลี่ยในภาพรวม 5.38 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากผลสำรวจในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 0.39 คะแนน โดยมีความเชื่อมั่นด้านการเมืองมากที่สุด (5.67 คะแนน) รองลงมาคือด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (5.58 คะแนน) และด้านเศรษฐกิจ (4.89 คะแนน)
เมื่อแยกพิจารณาจากด้านที่ได้ความเชื่อมั่นมากที่สุดไปน้อยที่สุดพบว่า ความเชื่อมั่นด้านการเมืองในภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 5.67 คะแนน เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งก่อน 0.55 คะแนน (5.12 คะแนน) โดยตัวชี้วัดด้านการเมืองที่ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นมากที่สุดคือ ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น (5.92 คะแนน) ขณะที่ตัวชี้วันที่ได้คะแนนน้อยที่สุด คือ ด้านการปฏิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย (5.43 คะแนน)
ส่วนความเชื่อมั่นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 5.58 คะแนน เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งก่อน 0.80 คะแนน (4.78 คะแนน) โดยตัวชี้วัดด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อมที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (6.08 คะแนน) ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (5.01 คะแนน)
สำหรับความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจในภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 4.89 คะแนนลดลงจากผลสำรวจครั้งก่อน 0.18 คะแนน (5.07 คะแนน) โดยตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจที่ได้คะแนน มากที่สุดคือ ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน (5.57 คะแนน) ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ (4.01 คะแนน)
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน
ความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ คะแนนความเชื่อมั่น
(เต็ม 10 คะแนน)
มิ.ย.2558 มิ.ย.2559 มิ.ย.2560 เปลี่ยนแปลง 1) ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น 5.15 4.44 5.92 1.48 2) ด้านการปฏิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย 5.36 4.88 5.43 0.55 (คุณภาพนักการเมือง ระบบเลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมของประชาชน ) 3) ด้านความสามารถในการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน/คสช. 6.16 5.73 5.68 -0.05 4) ด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากภาครัฐ 5.8 5.44 5.66 0.22 (ถูกต้อง เป็นกลาง และเป็นประโยชน์) ความเชื่อมั่นด้านการเมือง (เฉลี่ยรวม) 5.62 5.12 5.67 0.55 5) ด้านความรักและสามัคคีของคนในชาติ 5.12 4.62 5.34 0.72 6) ด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย 5.27 4.5 5.89 1.39 (ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและความเท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมาย) 7) ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.72 5.39 6.08 0.69 8) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 5.1 4.63 5.01 0.38 (โจรกรรม ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกายภัยจราจร การปนเปื้อนในอาหารและมลพิษ) ความเชื่อมั่นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (เฉลี่ยรวม) 5.3 4.78 5.58 0.8 9) ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ 4.95 4.71 4.01 -0.7 (รายได้เพียงพอกับรายจ่าย การมีงานทำ การกินดีอยู่ดี) 10) ด้านฐานะการเงินของประเทศ 4.93 4.64 4.45 -0.19 (เงินคงคลัง หนี้ของประเทศ ทุนสำรองระหว่างประเทศ) 11) ด้านศักยภาพของคนไทย 5.43 5.12 5.54 0.42 (การศึกษา/สุขภาพ/ความรู้ความสามารถ/ความซื่อสัตย์มีวินัย และพัฒนาได้) 12) ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน 6.15 5.8 5.57 -0.23 (ด้านการผลิต เป็นแหล่งท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน) ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ (เฉลี่ยรวม) 5.37 5.07 4.89 -0.18 เฉลี่ยรวมทุกด้าน 5.43 4.99 5.38 0.39
รายละเอียดการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับความเชื่อมั่นของประเทศไทย ในด้านต่างๆ รวม 12 ด้าน ซึ่งกำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 4 ในการบริหารประเทศของรัฐบาล คสช. เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบ เลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 27-28 มิถุนายน 2560 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 1 กรกฎาคม 2560
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 605 53.7 หญิง 522 46.3 รวม 1,127 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 142 12.6 31 ปี - 40 ปี 197 17.5 41 ปี - 50 ปี 300 26.6 51 ปี - 60 ปี 298 26.4 61 ปี ขึ้นไป 190 16.9 รวม 1,127 100
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 719 63.8 ปริญญาตรี 326 28.9 สูงกว่าปริญญาตรี 82 7.3 รวม 1,127 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 150 13.3 ลูกจ้างเอกชน 243 21.6 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 443 39.3 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 55 4.9 ทำงานให้ครอบครัว 5 0.4 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 175 15.5 นักเรียน/ นักศึกษา 30 2.7 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 26 2.3 รวม 1,127 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--