กรุงเทพโพลล์: “กิจกรรมชาวพุทธ ในวันหยุดเข้าพรรษา”

ข่าวผลสำรวจ Friday July 7, 2017 08:14 —กรุงเทพโพลล์

วันหยุดยาวทางพุทธศาสนา ชาวพุทธตั้งใจไป ทำบุญ เวียนเทียน ถวายเทียนพรรษา มากที่สุด นักการเมืองที่ชาวพุทธอยากทำบุญ เวียนเทียนด้วยมากที่สุดคือ บิ๊กตู่ รองลงมา คือ ยิ่งลักษณ์ และอภิสิทธิ์ ดารา นักแสดงที่ชาวพุทธอยากทำบุญ เวียนเทียนด้วยมากที่สุดคือ อั้ม พัชราภา รองลงมาคือ ณเดชน์ และ เวียร์ ศุกลวัฒน์ 69.7% เชื่อการรณรงค์งดเหล้าของ ภาครัฐ จะช่วยทำให้ประชาชนงดเหล้าช่วงเข้าพรรษาได้มากถึงมากที่สุด ส่วนผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ 85.5% ตั้งใจว่าจะงดเหล้าในช่วงเข้าพรรษาที่จะถึงนี้

เนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาที่จะถึงนี้ กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “กิจกรรมชาวพุทธ ในวันหยุด เข้าพรรษา” โดยเก็บข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 1,193คน พบว่า ชาวพุทธส่วนใหญ่ร้อยละ 65.7 ตั้งใจจะตื่นเช้า ทำบุญตักบาตรในช่วงวันหยุดยาวทางพุทธศาสนาที่จะถึงนี้ รองลงมาร้อยละ 46.1 จะไปเวียนเทียน และร้อยละ 31.4 จะไปถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน

เมื่อถามว่านักการเมืองที่อยากร่วมทำบุญ เวียนเทียนด้วยมากที่สุด อันดับแรกคือ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ร้อยละ 49.0) รองลงมาคือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ร้อยละ 28.3) อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 8.2) ปวีณา หงสกุล (ร้อยละ 2.8) และชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ (ร้อยละ 2.6)

เมื่อถามต่อว่าดารา นักแสดงที่อยากร่วมทำบุญ เวียนเทียนด้วยมากที่สุด อันดับแรกคือ อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ (ร้อยละ 19.5) รองลงมาคือ ณเดชน์ คูกิมิยะ (ร้อยละ 9.3) เวียร์ ศุกลวัฒน์ คณารศ (ร้อยละ 8.5) ญาญ่า อุรัสยา เสปอร์บันด์ (ร้อยละ 4.8) และเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ (ร้อยละ 4.3)

สำหรับสิ่งที่ตั้งใจจะทำในช่วงเข้าพรรษาคือ จะทำบุญตักบาตรทุกวันพระช่วงเข้าพรรษา (ร้อยละ 45.7) รองลงมาร้อยละ 39.1 จะงดเว้นอบายมุขต่างๆ ร้อยละ 38.3 จะ งดเหล้า ร้อยละ 24.5 จะรักษาศีลครบ 5 ข้อ และร้อยละ 19.0 จะเข้าวัดปฏิบัติธรรมบ่อยขึ้น

เมื่อถามว่าการรณรงค์ของภาครัฐ "ห่างไกลสุรา ประชาเป็นสุข ปลอดภัยพาชาติไทยเจริญ" งดเหล้าเข้าพรรษาถวายในหลวง ร.9 จะช่วยทำให้ประชาชนงดเหล้าเข้าพรรษา ได้มากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.7 เห็นว่าจะช่วยได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 30.3 เห็นว่าจะช่วยได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

สำหรับความตั้งใจจะงดเหล้าในช่วงเข้าพรรษาของผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.5 ตั้งใจจะงด โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 45.5 จะงดตลอด 3 เดือน และร้อยละ 40.0 จะงดแต่อาจไม่ครบ 3 เดือน ขณะที่ร้อยละ 14.5 ตั้งใจจะดื่มตามปกติ

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้

1. สิ่งที่ชาวพุทธตั้งใจจะทำในช่วงวันหยุดยาวทางพุทธศาสนาที่จะถึงนี้ 5 อันดับแรก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ตื่นเช้า ทำบุญตักบาตร                                        ร้อยละ          65.7
เวียนเทียน                                                ร้อยละ          46.1
ถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน                                 ร้อยละ          31.4
เข้าวัด ฟังเทศน์ ฟังธรรม                                     ร้อยละ          21.6
สวดมนต์ นั่งสมาธิ                                           ร้อยละ          19.3
รักษาศีล 5                                                ร้อยละ          16.0
ปล่อยนกปล่อยปลา                                           ร้อยละ          15.9
กินเจ/มังสวิรัติ/งดกินสัตว์ใหญ่                                  ร้อยละ           6.6

2. นักการเมืองที่ชาวพุทธอยากร่วมทำบุญ เวียนเทียนด้วยมากที่สุด 5 อันดับแรก (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา                                   ร้อยละ          49.0
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร                                            ร้อยละ          28.3
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ                                          ร้อยละ           8.2
ปวีณา หงสกุล                                              ร้อยละ           2.8
ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์                                            ร้อยละ           2.6

3. ดารา นักแสดงที่ชาวพุทธอยากร่วมทำบุญ เวียนเทียนด้วยมากที่สุด 5 อันดับแรก(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
พัชราภา ไชยเชื้อ (อั้ม)                                      ร้อยละ          19.5
ณเดชน์ คูกิมิยะ                                             ร้อยละ           9.3
ศุกลวัฒน์ คณารศ (เวียร์)                                     ร้อยละ           8.5
อุรัสยา เสปอร์บันด์ (ญาญ่า)                                   ร้อยละ           4.8
ธงไชย แมคอินไตย์ (เบิร์ด)                                   ร้อยละ           4.3

4. สิ่งที่ชาวพุทธตั้งใจจะทำในช่วงเข้าพรรษา 5 อันดับแรก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ทำบุญตักบาตรทุกวันพระช่วงเข้าพรรษา                            ร้อยละ          45.7
งดเว้นอบายมุขต่างๆ                                         ร้อยละ          39.1
งดเหล้า                                                  ร้อยละ          38.3
รักษาศีลครบ 5 ข้อ                                          ร้อยละ          24.5
เข้าวัดปฏิบัติธรรมบ่อยขึ้น                                      ร้อยละ          19.0
ละเว้นเนื้อสัตว์/กินมังสวิรัติ                                    ร้อยละ           8.9
บวชเรียน                                                 ร้อยละ           0.6

5. การรณรงค์ของภาครัฐ "ห่างไกลสุรา ประชาเป็นสุข ปลอดภัยพาชาติไทยเจริญ" งดเหล้าเข้าพรรษาถวายในหลวง ร.9 จะช่วยทำให้ประชาชนงดเหล้าเข้าพรรษาได้มากน้อยเพียงใด
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 54.7 และมากที่สุดร้อยละ 15.0)      ร้อยละ          69.7
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 23.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 6.8)       ร้อยละ          30.3

6. ความตั้งใจจะงดเหล้าในช่วงเข้าพรรษา(ถามเฉพาะผู้ที่ดื่มแอลกอฮอลล์)
ตั้งใจจะงด                                                ร้อยละ          85.5
          จะงดตลอด 3 เดือน              ร้อยละ 45.5
          จะงดแต่อาจไม่ครบ 3 เดือน        ร้อยละ 40.0
ตั้งใจจะดื่มตามปกติ                                          ร้อยละ          14.5

รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์

1. เพื่อต้องการทราบถึงสิ่งที่ตั้งใจจะทำในช่วงวันหยุดยาวทางพุทธศาสนาที่จะถึงนี้

2. เพื่อสะท้อนถึงนักการเมืองและดารานักแสดงที่ประชาชนอยากร่วมทำบุญ เวียนเทียนด้วยมากที่สุด

3. เพื่อต้องการทราบถึงสิ่งที่ตั้งใจจะทำในช่วงเข้าพรรษาที่จะถึงนี้

ระเบียบวิธีการสำรวจ

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 23 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วังทองหลาง สาทร และสายไหม ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,193 คน เป็นชายร้อยละ 49.5 และหญิง ร้อยละ 50.5

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น คณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

          ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล           : 30 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม 2560

          วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ               :  7 กรกฎาคม 2560

ข้อมูลประชากรศาสตร์

จำนวน ร้อยละ เพศ

          ชาย                                 590      49.5
          หญิง                                 603      50.5
          รวม                               1,193       100
อายุ
          18 ปี - 30 ปี                         291      24.4
          31 ปี – 40 ปี                         234      19.6
          41 ปี – 50 ปี                         247      20.7
          51 ปี - 60 ปี                         227        19
          61 ปี ขึ้นไป                           194      16.3
          รวม                               1,193       100
การศึกษา
          ต่ำกว่าปริญญาตรี                        847        71
          ปริญญาตรี                             308      25.8
          สูงกว่าปริญญาตรี                         38       3.2
          รวม                               1,193       100
อาชีพ
          ลูกจ้างรัฐบาล                           85       7.1
          ลูกจ้างเอกชน                          330      27.7
          ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร          437      36.5
          เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง                  40       3.4
          ทำงานให้ครอบครัว                       12         1
          พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ              163      13.7
          นักเรียน/ นักศึกษา                       99       8.3
          ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม              27       2.3
          รวม                               1,193       100

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ