ชาวพุทธส่วนใหญ่ 57.7% เห็นว่ากรณีเงินทอนวัดหรือการทุจริตเงินอุดหนุนวัด ไม่มีผลต่อการทำบุญ 64.7% เชื่อกรณีเงินทอนวัดไม่มีผลต่อความเลื่อมใสและศรัทธาในพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม 66.1% เชื่อมั่นน้อยถึงน้อยที่สุดต่อหน่วยงานที่ดูแลพุทธศาสนาว่า จะทำงานด้วยความโปร่งใส ไม่คอร์รัปชั่น 51.6% อยากให้ใช้มาตรการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ทาง พุทธศาสนา โดยให้มีการตรวจสอบอย่างจริงจัง
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “เงินทอนกับความเลื่อมใสในพุทธศาสนา” โดยเก็บข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 1,193 คน พบว่า
เมื่อถามความเห็นของชาวพุทธต่อ มีผลต่อการทำบุญหรือไม่อย่างไร พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 57.7 เห็นว่าไม่มีผลต่อการทำบุญ คิดว่าจะบริจาคเหมือนเดิม เพราะทำบุญให้วัด ขณะ ที่ร้อยละ 42.3 เห็นว่ามีผลต่อการทำบุญ โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 25.0 ทำให้ต้องคิดก่อนตัดสินใจบริจาค รองลงมาร้อยละ 11.3 ทำให้ไม่อยากบริจาคให้แก่กิจกรรมใดๆทางพุทธศาสนา และ ร้อยละ 6.0 ทำให้ต้องตรวจสอบวัดนั้นๆ
ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่ากรณีเงินทอนวัดหรือการทุจริตเงินอุดหนุนวัด มีผลมากน้อยเพียงใดต่อการทำให้ความศรัทธาหรือเลื่อมใสในพุทธศาสนาลดลง ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.7 เห็นว่ามีผล ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 35.3 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
ด้านความเห็นต่อมาตรการที่ควรใช้เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ทางพุทธศาสนา พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.6 อยากให้มีการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นในพุทธศาสนา อย่างจริงจัง รองลงมา ร้อยละ 32.1 อยากให้ออกกฎหมายดูแลควบคุมทรัพย์สินวัดอย่างรัดกุม และร้อยละ 10.3 อยากให้ใช้ ม.44 ในการปฏิรูปพุทธศาสนา
สุดท้ายเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานที่ดูแลพุทธศาสนาว่า จะทำงานด้วยความโปร่งใส ไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 66.1 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะ ที่ร้อยละ 33.9 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
มีผลต่อการทำบุญ ร้อยละ 42.3 โดย ทำให้ต้องคิดก่อนตัดสินใจบริจาค ร้อยละ 25.0
ทำให้ไม่อยากบริจาคให้แก่กิจกรรมใดๆทางพุทธศาสนา ร้อยละ 11.3
ทำให้ต้องตรวจสอบวัดนั้นๆ ร้อยละ 6.0 ไม่มีผลต่อการทำบุญ คิดว่าจะบริจาคเหมือนเดิม เพราะทำบุญให้วัด ร้อยละ 57.7 2. ข้อคำถาม “กรณีเงินทอนวัดหรือการทุจริตเงินอุดหนุนวัด มีผลมากน้อยเพียงใดต่อการทำให้ความศรัทธาหรือเลื่อมใสในพุทธศาสนาลดลง” มีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 64.7 (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 33.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 30.9) มีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 35.3 (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 28.4 และมากที่สุดร้อยละ 6.9) 3. ข้อคำถาม “คิดว่ามาตรการที่ควรใช้ เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ทางพุทธศาสนา” อยากให้มีการตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่นในพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ร้อยละ 51.6 อยากให้ออกกฎหมายดูแลควบคุมทรัพย์สินวัดอย่างรัดกุม ร้อยละ 32.1 อยากให้ใช้ ม.44 ในการปฏิรูปพุทธศาสนา ร้อยละ 10.3 อยากให้เปลี่ยนหรือโยกย้ายผู้กำกับดูแลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ร้อยละ 6.0 4. ความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานที่ดูแลพุทธศาสนา จะทำงานด้วยความโปร่งใส ไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 66.1 (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 46.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 19.3) เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 33.9 (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 29.6 และมากที่สุดร้อยละ 4.3)
รายละเอียดในการสำรวจ วัตถุประสงค์
1. เพื่อต้องการทราบถึงกรณีเงินทอนหรือการทุจริตเงินอุดหนุนวัด มีผลต่อการทำบุญหรือไม่อย่างไร
2. เพื่อต้องการทราบถึงกรณีเงินทอนวัดหรือการทุจริตเงินอุดหนุนวัด มีผลมากน้อยเพียงใดต่อความศรัทธาหรือเลื่อมใส
3. เพื่อสะท้อนถึงมาตรการเพื่อป้องกันการใช้พุทธศาสนาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์
4. เพื่อสะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา จะทำงานด้วยความโปร่งใส ไม่ทุจริตคอร์รัปชั่น
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 24 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วังทองหลาง สาทร และสายไหม ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดย การสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,193 คน เป็นชายร้อยละ 49.5 และหญิง ร้อยละ 50.5
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น คณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 30 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม 2560
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 9 กรกฎาคม 2560
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 590 49.5 หญิง 603 50.5 รวม 1,193 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 291 24.4 31 ปี – 40 ปี 234 19.6 41 ปี – 50 ปี 247 20.7 51 ปี - 60 ปี 227 19 61 ปี ขึ้นไป 194 16.3 รวม 1,193 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 847 71 ปริญญาตรี 308 25.8 สูงกว่าปริญญาตรี 38 3.2 รวม 1,193 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 85 7.1 ลูกจ้างเอกชน 330 27.7 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 437 36.5 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 40 3.4 ทำงานให้ครอบครัว 12 1 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 163 13.7 นักเรียน/ นักศึกษา 99 8.3 ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 27 2.3 รวม 1,193 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--