ประชาชนร้อยละ 87.5 คาดหวังจากการปฏิรูปตำรวจครั้งนี้ว่า จะเห็นการทำงานของตำรวจที่เป็นธรรมกับประชาชนมากที่สุด
โดยร้อยละ 26.5 อยากให้ตำรวจขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีขณะที่ร้อยละ 59.0 เห็นควรแยกอำนาจการสอบสวนจากตำรวจ และร้อยละ 59.1 เห็นควรพิจารณาจากระดับอาวุโส ร่วมกับผลงาน ในการโยกย้ายตำแหน่ง
ทั้งนี้ร้อยละ 42.3 มั่นใจว่า9 เดือนจากนี้ไป จะได้เห็นผลการปฏิรูปตำรวจอย่างเป็นรูปธรรม
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “การปฏิรูปตำรวจกับ 3 โจทย์ใหญ่ที่ต้องหาคำตอบ”โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุก ภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,084 คน พบว่า
เรื่องที่คาดหวังจากการปฏิรูปตำรวจในครั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 87.5 ระบุว่า อยากเห็นการทำงานของตำรวจเป็นธรรมกับประชาชน (ไม่รีดไถ/ไม่รับส่วย/ไม่ตั้งด่านลอย/ ไม่เพิกเฉยฯลฯ) รองลงมา ร้อยละ41.8 อยากเห็นการสอบเข้ารับราชการตำรวจอย่างโปร่งใส และร้อยละ 35.8 อยากเห็นการโยกย้ายตำแหน่งที่เป็นธรรม
เมื่อถามถึง 3 ประเด็น ที่ พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีได้มอบให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ) ประชาชนมีความเห็นดังนี้
ประเด็นที่1 “ด้านโครงสร้างองค์กร”ประชาชนร้อยละ 26.5 ระบุว่าให้ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี (เหมือนในปัจจุบัน)รองลงมา ร้อยละ 24.4 ระบุว่า ให้กลับไปสังกัดกระทรวง มหาดไทย และ ร้อยละ 22.6 ระบุว่า เห็นควรย้ายไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม
ประเด็นที่ 2 “ด้านกระบวนการยุติธรรม” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.0 ระบุว่า ควรแยกอำนาจการสอบสวนให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่นเหมือนในต่างประเทศขณะที่ร้อยละ 28.3 ระบุว่า ควรคงไว้เป็นหน้าที่ของตำรวจเหมือนเดิมที่เหลือร้อยละ 12.7 ระบุว่าไม่แน่ใจ
ประเด็นที่ 3 “ด้านการบริหารบุคลากร” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.1 ระบุว่าการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจควรพิจารณาจาก ระดับอาวุโสร่วมกับผลงาน รองลงมาร้อยละ 39.0 ระบุว่า ควรพิจารณาจากผลงานและความดีความชอบ มีเพียงร้อยละ 1.9 เท่านั้นที่ระบุว่า ควรพิจาณาจากระดับอาวุโส
ส่วนการปฏิรูปตำรวจจะเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ตามสูตร2-3-4 หรือ9 เดือนตามที่นายกรัฐมนตรีวางกรอบไว้หรือไม่ นั้น ประชาชนร้อยละ 42.3 คิดว่าได้ ขณะที่ ร้อยละ 37.7 คิดว่าไม่ได้ และร้อยละ 20.0 ระบุว่าไม่แน่ใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
(ไม่รีดไถ/ไม่รับส่วย/ไม่ตั้งด่านลอย/ไม่เพิกเฉยฯลฯ) ร้อยละ 87.5 การสอบเข้ารับราชการตำรวจอย่างโปร่งใส ร้อยละ 41.8 การโยกย้ายตำแหน่งที่เป็นธรรม ร้อยละ 35.8 มีการปรับโครงสร้างการทำงานของตำรวจ ร้อยละ 32.9 2.ประเด็นด้านโครงสร้างองค์กร : สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรสังกัด/ขึ้นตรงกับหน่วยงานใด ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี (เหมือนในปัจจุบัน) ร้อยละ 26.5 กลับไปสังกัดกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 24.4 ย้ายไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม ร้อยละ 22.6 ตั้งเป็นกระทรวงใหม่ ร้อยละ 15.4 ขึ้นตรงกับผู้ว่าราชการจังหวัด ร้อยละ 9.9 อื่นๆ อาทิ องค์การอิสระ เป็นต้น ร้อยละ 1.2 3.ประเด็นด้านกระบวนการยุติธรรม : “อำนาจการสอบสวน”ในคดีต่างๆควรคงไว้เป็นหน้าที่ของตำรวจหรือควรแยกให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่น เหมือนในต่างประเทศเช่น FBI CSI ควรแยกให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานอื่น เหมือนในต่างประเทศเช่น FBI CSI ร้อยละ 59.0 ควรคงไว้เป็นหน้าที่ของตำรวจเหมือนเดิม ร้อยละ 28.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 12.7 4.ประเด็นด้านการบริหารบุคลากร : การแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจควรพิจารณาจากอะไรมากที่สุด ระดับอาวุโสร่วมกับผลงาน ร้อยละ 59.1 ผลงานและความดีความชอบ ร้อยละ 39.0 ระดับอาวุโส ร้อยละ 1.9 5.การปฏิรูปตำรวจจะเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ตามสูตร2-3-4 หรือ9 เดือนตามที่นายกรัฐมนตรีวางกรอบไว้หรือไม่ คิดว่าได้ ร้อยละ 42.3 คิดว่าไม่ได้ ร้อยละ 37.7 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 20.0
รายละเอียดการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใน 3 ประเด็นหลักๆ ที่ให้คณะกรรมการปฏิรูปตำรวจหาคำตอบ ตลอดจนความคาดหวังที่ อยากเห็นจากการปฏิรูปตำรวจในครั้งนี้ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple Random Sampling)แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 13-14 กรกฎาคม 2560
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 15 กรกฎาคม 2560
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 544 50.2 หญิง 540 49.8 รวม 1,084 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 129 11.9 31 ปี - 40 ปี 215 19.8 41 ปี - 50 ปี 276 25.5 51 ปี - 60 ปี 299 27.6 61 ปี ขึ้นไป 165 15.2 รวม 1,084 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 672 62 ปริญญาตรี 313 28.9 สูงกว่าปริญญาตรี 99 9.1 รวม 1,084 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 158 14.6 ลูกจ้างเอกชน 226 20.8 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/เกษตรกร 451 41.6 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 30 2.8 ทำงานให้ครอบครัว 2 0.2 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 168 15.5 นักเรียน/ นักศึกษา 23 2.1 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 26 2.4 รวม 1,084 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--