ประชาชนร้อยละ 53.0 เห็นการเมืองไทยขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ หลังจากทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ มาครบ 1 ปี ทั้งนี้ร้อยละ 45.3 เห็นว่า กรธ. ไม่น่า จะจัดทำ พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญเสร็จทัน ทำให้ต้องขยายระยะเวลาการเลือกตั้งออกไป ขณะที่ประชาชนร้อยละ 95.9 พร้อมออกไปใช้สิทธิ์แน่นอนหากการเลือกตั้งมาถึง
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ทิศทางการเมืองไทยหลังครบ 1 ปีประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ”โดยเก็บข้อมูลกับ ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,217คน พบว่า
จากการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ มาครบ 1 ปี ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.0 มีความเห็นว่า การเมืองไทยขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆรองลงมาร้อยละ 20.3 มีความเห็นว่า ยังไม่เห็นการขับเคลื่อนใดๆ และร้อยละ 19.2 มีความเห็นว่าการเมืองไทยถอยกลับสู่จุดความขัดแย้งเดิมๆ
ทั้งนี้เมื่อถามความเห็นว่าคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญจะสามารถจัดทำ พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จตามโรดแมปที่กำหนดไว้หรือไม่นั้น ประชาชนร้อยละ 45.3 ระบุว่าไม่น่าจะทันทำให้ต้องขยายระยะเวลาการเลือกตั้งออกไปขณะที่ร้อยละ 34.1 ระบุว่าน่าจะทันและจัดเลือกตั้งได้ตามกำหนดที่เหลือร้อยละ 20.6 ระบุว่าไม่แน่ใจ
สุดท้ายหากจัดทำ พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จและมีการจัดการเลือกตั้ง จะออกไปใช้สิทธิ์หรือไม่ประชาชนร้อยละ 95.9 ระบุว่าจะออกไปใช้สิทธิ์แน่นอนมีเพียงร้อยละ 0.8 เท่านั้นที่ระบุว่าจะไม่ออกไปใช้สิทธิ์ที่เหลือร้อยละ 3.3ระบุว่าไม่แน่ใจขอดูก่อน
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ร้อยละ 53.0 ไม่เห็นการขับเคลื่อนใดๆ ร้อยละ 20.3 ถอยกลับสู่จุดความขัดแย้งเดิมๆ ร้อยละ 19.2 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 7.5 2. คิดว่าคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญจะสามารถจัดทำพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จตามโรดแมปที่กำหนดไว้หรือไม่ ไม่น่าจะทันทำให้ต้องขยายระยะเวลาการเลือกตั้งออกไป ร้อยละ 45.3 น่าจะทันและจัดเลือกตั้งได้ตามกำหนด ร้อยละ 34.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 20.6 3.คิดว่าหากจัดทำ พรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จและมีการจัดการเลือกตั้ง จะออกไปใช้สิทธิ์หรือไม่ ออกไปใช้สิทธิ์แน่นอน ร้อยละ 95.9 ไม่ออกไปใช้สิทธิ์ ร้อยละ 0.8 ไม่แน่ใจ/ดูก่อน ร้อยละ 3.3
รายละเอียดการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับทิศทางการเมืองไทยภายหลังจากมีผลประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านมา 1 ปี ตลอดจนการจัดทำ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ และการจัดให้มีการเลือกตั้ง เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple Random Sampling)แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 8-9 สิงหาคม 2560
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 13 สิงหาคม 2560
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 615 50.5 หญิง 602 49.5 รวม 1,217 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 154 12.7 31 ปี - 40 ปี 250 20.6 41 ปี - 50 ปี 327 26.8 51 ปี - 60 ปี 287 23.5 61 ปี ขึ้นไป 199 16.4 รวม 1,217 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 800 65.7 ปริญญาตรี 347 28.5 สูงกว่าปริญญาตรี 70 5.8 รวม 1,217 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 151 12.4 ลูกจ้างเอกชน 276 22.7 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 501 41.2 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 45 3.7 ทำงานให้ครอบครัว 4 0.3 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 186 15.3 นักเรียน/ นักศึกษา 39 3.2 ว่างงาน/ รวมกลุ่ม 15 1.2 รวม 1,217 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--