ประเมินผลการบริหารงานรัฐบาลครบ 3 ปี ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจลดลงทุกด้าน เฉลี่ย 5.27 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 โดยลดลงจากเดิม 0.56 คะแนน
ผลการปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 7.00 คะแนน ลดลงจากเดิม 0.40 คะแนน โดยมี ความพึงพอใจลดลงทุกด้าน เช่นกัน
พร้อมฝากถึงรัฐบาลให้ปฏิรูปเศรษฐกิจให้ดีขึ้นและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งในวงราชการและการเมืองให้สำเร็จ ก่อนจัดให้มีการเลือกตั้ง
ด้วยเดือนสิงหาคม 2560 นี้ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บริหารประเทศครบ 3 ปี กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ประเมินผลงาน 3 ปี รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,216 คน จากทุกภูมิภาค ทั่วประเทศ พบว่า
ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจในการบริหารงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วง 3 ปี เฉลี่ย 5.27 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งลดลงจากการ ประเมินการทำงานรอบ 2 ปี 6 เดือนที่ได้ 5.83 คะแนน และรอบ 2 ปี ที่ได้ 6.19 คะแนน โดยการสำรวจครั้งนี้รัฐบาลได้คะแนนลดลงทุกด้าน
สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วง 3 ปี ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจ เฉลี่ย 7.00 คะแนน ซึ่งลดลงจากการประเมิน รอบ 2 ปี 6 เดือน ที่ได้ 7.40 คะแนน และรอบ 2 ปี ที่ได้ 7.57 คะแนน โดยการสำรวจครั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้คะแนนลดลงทุกด้าน
ส่วนเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลปฏิรูปให้สำเร็จก่อนจัดให้มีการเลือกตั้งมากที่สุด พบว่า ร้อยละ 32.5 ระบุว่าทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นและมีความมั่นคงกว่านี้ รองลงมามาร้อยละ 12.8 ระบุว่าให้ปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งในวงราชการและการเมือง และร้อยละ 10.0 ระบุว่าให้ดูแลราคาสินค้าเกษตรเช่น ข้าว ยางพารา ไม่ให้ตกต่ำ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
1. คะแนนความพึงพอใจ ที่มีต่อการบริหารประเทศของรัฐบาล ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา ได้คะแนนเฉลี่ย 5.27 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ด้านที่ทำการประเมินความพึงพอใจ คะแนนความพึงพอใจ (เต็ม10 คะแนน) ครบ 2 ปี ครบ 2 ปี 6 เดือน ครบ 3 ปี เพิ่มขึ้น / ลดลง รัฐบาล รัฐบาล รัฐบาล ด้านความมั่นคงของประเทศ 7.04 6.9 6.38 -0.52 ด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมาย 6.68 6.33 5.75 -0.58 ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต 6.04 5.89 5.3 -0.59 ด้านการต่างประเทศ 5.7 5.41 5.09 -0.32 ด้านเศรษฐกิจ 5.49 4.63 3.85 -0.78 คะแนนเฉลี่ย 6.19 5.83 5.27 -0.56 หมายเหตุ : การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน 2. คะแนนความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา ได้คะแนนเฉลี่ย 7.00 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ด้านที่ทำการประเมินความพึงพอใจ คะแนนความพึงพอใจ (เต็ม10 คะแนน) ครบ 2 ปี ครบ 2 ปี 6 เดือน ครบ3 ปี เพิ่มขึ้น/ลดลง นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ 8.23 7.98 7.61 -0.37 ความซื่อสัตย์สุจริต 7.93 7.70 7.48 -0.22 ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศ 7.74 7.75 7.14 -0.61 การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ 7.65 7.48 7.01 -0.47 ความสามารถในการบริหารจัดการตามอำนาจหน้าที่ ที่มี 7.35 7.15 6.73 -0.42 ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือโครงการใหม่ๆ 6.54 6.36 6.02 -0.34 คะแนนเฉลี่ย 7.57 7.40 7.00 -0.40 หมายเหตุ : การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน 3. เรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลปฏิรูปให้สำเร็จก่อนจัดให้มีการเลือกตั้งมากที่สุด 5 อันดับแรก(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นและมีความมั่นคงกว่านี้ ร้อยละ 32.5 ปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งในวงราชการและการเมือง ร้อยละ 12.8 ดูแลราคาสินค้าเกษตรเช่น ข้าว ยางพารา ไม่ให้ตกต่ำ ร้อยละ 10.0 ความรักและสามัคคีของคนในชาติ ไม่ให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองเหมืนที่ผ่านมา ร้อยละ 9.3 ออกกฎหมายที่เป็นธรรม เหมาะกับยุคสมัย และบังคับใช้ให้เด็ดขาด ร้อยละ 9.2
รายละเอียดการสำรวจ
เพื่อวัดความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำหน้าที่ของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ในการบริหารประเทศครบ 3 ปี ที่ผ่านมา ตลอดจนเรื่องที่ต้องการให้ปฏิรูปให้เสร็จก่อนจัดให้ มีการเลือกตั้ง เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และ คำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเองโดยอิสระ (Open Ended) แล้วได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 8-9 สิงหาคม 2560
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 19 สิงหาคม 2560
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 614 50.5 หญิง 602 49.5 รวม 1,216 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 154 12.7 31 ปี – 40 ปี 251 20.6 41 ปี – 50 ปี 326 26.8 51 ปี - 60 ปี 286 23.5 61 ปี ขึ้นไป 199 16.4 รวม 1,216 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 799 65.7 ปริญญาตรี 347 28.5 สูงกว่าปริญญาตรี 70 5.8 รวม 1,216 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 151 12.4 ลูกจ้างเอกชน 276 22.7 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร 501 41.2 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 45 3.7 ทำงานให้ครอบครัว 3 0.3 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 186 15.3 นักเรียน/ นักศึกษา 39 3.2 ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม 15 1.2 รวม 1,216 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--