กลุ่มตัวอย่าง:
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
โดยสุ่มตัวอย่าง 2 ขั้นตอน (Two-stage sampling) คือ
ขั้นแรก สุ่มเขตปกครองกทม. ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอกจำนวน 14 เขต ได้เขตต่าง ๆ คือ
พระนคร ปทุมวัน บางรัก สัมพันธวงศ์ ดุสิต ดินแดง พญาไท คลองเตย บึงกุ่ม บางกอกน้อย
ราษฎร์บูรณะ บางเขน บางแค ลาดกระบัง
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มประชากรเป้าหมายโดยกำหนดตามกลุ่มอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,375 คน
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในเรื่อง “การเปิดอภิปรายทั่วไปของวุฒิสมาชิกและการแก้ปัญหาการชุมนุมของรัฐบาล”
แบบสอบถามประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นในหัวข้อที่สำรวจ
ระยะเวลาเก็บข้อมูล:
12 - 14 สิงหาคม 2543
สรุปผลการสำรวจ
1. กลุ่มตัวอย่างอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
เป็นชายร้อยละ 55.6
เป็นหญิงร้อยละ 44.4
มีระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 59.2
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า ร้อยละ 39.0
ประกอบอาชีพรับราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัทเอกชน
เจ้าของกิจการ
รับจ้างทั่วไป
นักศึกษา
และแม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อสอบถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่วุฒิสมาชิกบางคนจะขอเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาล
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 52.4 ตอบว่าเห็นด้วย
ร้อยละ 16.2 ตอบว่าไม่เห็นด้วย
ร้อยละ 31.4 ไม่มีความเห็น
เหตุผลที่เห็นด้วย เช่น อยากทราบข้อเท็จจริงในการบริหารงานของรัฐบาล เพื่อความโปร่งใสของรัฐบาล ให้วุฒิสมาชิกตรวจสอบรัฐบาล อยากรู้พฤติกรรมของนักการเมือง เป็นต้น
เหตุผลที่ไม่เห็นด้วย เช่น รัฐบาลจะครบวาระแล้ว รัฐบาลทำงานดีอยู่แล้ว เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ เป็นต้น
3. เมื่อถามถึงปัญหาที่อยากให้วุฒิสมาชิกอภิปรายมากที่สุด
ร้อยละ 38.2 อยากให้อภิปรายถึงการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
ร้อยละ 14.3 อภิปรายการแก้ปัญหาการว่างงาน
ร้อยละ 13.4 อภิปรายการอนุมัติโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมาก
ร้อยละ 13.3 อภิปรายการแก้ปัญหาความยากจน
4. เมื่อถามถึงความเชื่อว่ารัฐบาลปัจจุบัน สามารถแก้ปัญหา การชุมนุมเรียกร้องของสมัชชาคนจนได้หมดทุกข้อหรือไม่
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 41.9 เชื่อว่าแก้ไขได้บางกรณี
ร้อยละ 26.5 เชื่อว่าแก้ไม่ได้
ร้อยละ 3.3 เชื่อว่าแก้ได้
ร้อยละ 28.2 ไม่แน่ใจ
สำหรับเหตุผลสำคัญที่เชื่อว่าแก้ไขได้บางกรณี เช่น ข้อเสนอบางข้อรัฐบาลทำไม่ได้ ข้อเสนอของสมัชชาคนจนมากเกินไป ปัญหาเรื้อรังมานาน บางปัญหาเป็นเรื่องการเมือง เป็นต้น
5. สำหรับอุปสรรคที่สำคัญ ในการแก้ปัญหาข้อเรียกร้องของสมัชชาคนจนอยู่ที่ฝ่ายใด
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 44.9 คิดว่าอยู่ที่ฝ่ายชุมนุมและแกนนำ
ร้อยละ 27.8 คิดว่าอยู่ที่ฝ่ายรัฐบาล
ร้อยละ 16.7 อยู่ที่พรรคการเมือง
และร้อยละ 3.2 อยู่ที่นักวิชาการ
6. เมื่อถามถึงการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มสมัชชาคนจน จะมีผลต่อฐานเสียงของพรรคร่วมรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไปหรือไม่
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 47.6 คิดว่าเป็นผลเสียต่อพรรคร่วมรัฐบาล
ร้อยละ 26.0 คิดว่าไม่มีผล
ร้อยละ 8.4 คิดว่าเป็นผลดีต่อพรรคร่วมรัฐบาล
ร้อยละ 17.9 ไม่มีความเห็น
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
โดยสุ่มตัวอย่าง 2 ขั้นตอน (Two-stage sampling) คือ
ขั้นแรก สุ่มเขตปกครองกทม. ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอกจำนวน 14 เขต ได้เขตต่าง ๆ คือ
พระนคร ปทุมวัน บางรัก สัมพันธวงศ์ ดุสิต ดินแดง พญาไท คลองเตย บึงกุ่ม บางกอกน้อย
ราษฎร์บูรณะ บางเขน บางแค ลาดกระบัง
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มประชากรเป้าหมายโดยกำหนดตามกลุ่มอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,375 คน
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างในเรื่อง “การเปิดอภิปรายทั่วไปของวุฒิสมาชิกและการแก้ปัญหาการชุมนุมของรัฐบาล”
แบบสอบถามประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 เป็นข้อมูลประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ส่วนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นในหัวข้อที่สำรวจ
ระยะเวลาเก็บข้อมูล:
12 - 14 สิงหาคม 2543
สรุปผลการสำรวจ
1. กลุ่มตัวอย่างอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
เป็นชายร้อยละ 55.6
เป็นหญิงร้อยละ 44.4
มีระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 59.2
ปริญญาตรีหรือสูงกว่า ร้อยละ 39.0
ประกอบอาชีพรับราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัทเอกชน
เจ้าของกิจการ
รับจ้างทั่วไป
นักศึกษา
และแม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อสอบถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่วุฒิสมาชิกบางคนจะขอเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาล
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 52.4 ตอบว่าเห็นด้วย
ร้อยละ 16.2 ตอบว่าไม่เห็นด้วย
ร้อยละ 31.4 ไม่มีความเห็น
เหตุผลที่เห็นด้วย เช่น อยากทราบข้อเท็จจริงในการบริหารงานของรัฐบาล เพื่อความโปร่งใสของรัฐบาล ให้วุฒิสมาชิกตรวจสอบรัฐบาล อยากรู้พฤติกรรมของนักการเมือง เป็นต้น
เหตุผลที่ไม่เห็นด้วย เช่น รัฐบาลจะครบวาระแล้ว รัฐบาลทำงานดีอยู่แล้ว เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ เป็นต้น
3. เมื่อถามถึงปัญหาที่อยากให้วุฒิสมาชิกอภิปรายมากที่สุด
ร้อยละ 38.2 อยากให้อภิปรายถึงการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
ร้อยละ 14.3 อภิปรายการแก้ปัญหาการว่างงาน
ร้อยละ 13.4 อภิปรายการอนุมัติโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมาก
ร้อยละ 13.3 อภิปรายการแก้ปัญหาความยากจน
4. เมื่อถามถึงความเชื่อว่ารัฐบาลปัจจุบัน สามารถแก้ปัญหา การชุมนุมเรียกร้องของสมัชชาคนจนได้หมดทุกข้อหรือไม่
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 41.9 เชื่อว่าแก้ไขได้บางกรณี
ร้อยละ 26.5 เชื่อว่าแก้ไม่ได้
ร้อยละ 3.3 เชื่อว่าแก้ได้
ร้อยละ 28.2 ไม่แน่ใจ
สำหรับเหตุผลสำคัญที่เชื่อว่าแก้ไขได้บางกรณี เช่น ข้อเสนอบางข้อรัฐบาลทำไม่ได้ ข้อเสนอของสมัชชาคนจนมากเกินไป ปัญหาเรื้อรังมานาน บางปัญหาเป็นเรื่องการเมือง เป็นต้น
5. สำหรับอุปสรรคที่สำคัญ ในการแก้ปัญหาข้อเรียกร้องของสมัชชาคนจนอยู่ที่ฝ่ายใด
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 44.9 คิดว่าอยู่ที่ฝ่ายชุมนุมและแกนนำ
ร้อยละ 27.8 คิดว่าอยู่ที่ฝ่ายรัฐบาล
ร้อยละ 16.7 อยู่ที่พรรคการเมือง
และร้อยละ 3.2 อยู่ที่นักวิชาการ
6. เมื่อถามถึงการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มสมัชชาคนจน จะมีผลต่อฐานเสียงของพรรคร่วมรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไปหรือไม่
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 47.6 คิดว่าเป็นผลเสียต่อพรรคร่วมรัฐบาล
ร้อยละ 26.0 คิดว่าไม่มีผล
ร้อยละ 8.4 คิดว่าเป็นผลดีต่อพรรคร่วมรัฐบาล
ร้อยละ 17.9 ไม่มีความเห็น
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--