ผู้ใช้รถเมล์ส่วนใหญ่ 71.4% ชี้เจอปัญหารอรถเมล์นาน รถไม่พอกับความต้องการมากที่สุด ส่วนใหญ่ 51.7% ทราบว่าจะได้รถเมล์ NGV ใหม่มาแทนของเก่าทันก่อนปีใหม่ 74.3% คาดหวังว่าถ้าได้รถเมล์ NGV ใหม่แล้วจะมีรถเมล์พอกับความต้องการของประชาชน แต่ 52.8% ไม่ค่อยเชื่อมั่นกับ การบริการของรถเมล์จะดี และมีประสิทธิภาพ หากได้รถเมล์ NGV ใหม่ 82.0% ไม่เชื่อว่าการจัดหารถเมล์ NGV ใหม่จะมีความโปร่งใส
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความคาดหวังของคนกรุงกับการใช้บริการรถเมล์ NGV ใหม่” โดยเก็บ ข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้บริการรถเมล์ พบว่า
ปัญหาหรือสิ่งที่พบเจอมากที่สุดจากการใช้บริการรถเมล์ในปัจจุบันคือ ปัญหาการรอรถเมล์นาน รถไม่พอกับความต้องการ (ร้อยละ 71.4) รองลงมาคือ การขับรถหวาดเสียว ขับเร็ว ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร (ร้อยละ 60.2) และสภาพรถชำรุด มีควันดำ แอร์ร้อน มีกลิ่นเหม็น (ร้อยละ 57.5)
สำหรับความพึงพอใจในภาพรวมของการใช้บริการรถเมล์ในปัจจุบันพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.6 มีความพึงใจต่อการใช้บริการในระดับปานกลาง ขณะที่ร้อยละ 21.6 พึงพอใจ ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ส่วนร้อยละ 11.8 พึงพอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
เมื่อถามว่าทราบข่าวการจัดหารถเมล์ NGV ใหม่มาแทนของเก่าให้ทันก่อนปีใหม่หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.7 “ทราบ” ขณะที่ร้อยละ 48.3 “ไม่ทราบ”
ทั้งนี้เมื่อถามถึงความคาดหวังหากได้รถเมล์ NGV ใหม่แล้วพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.3 อยากให้มีปริมาณรถเมล์ให้เพียงพอกับความต้องการ รองลงมาคือ อยากให้พนักงานขับ และพนักงานเก็บเงินให้บริการดี สุภาพเรียบร้อย (ร้อยละ 73.0) และอยากให้มีรถเมล์ใหม่ในทุกสาย ครอบคลุมทุกเส้นทาง (ร้อยละ64.6)
ด้านความเชื่อมั่นว่าหากเปลี่ยนเป็นรถเมล์ NGV ใหม่แล้ว การบริการของรถเมล์จะดี และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ ร้อยละ 47.2 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
สุดท้ายเมื่อถามว่าเชื่อมั่นหรือไม่ว่า การจัดหารถเมล์ NGV ใหม่ จะมีความโปร่งใสไม่มีทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 82.0 ระบุว่า “ไม่เชื่อมั่น” ขณะที่ร้อยละ 18.0 ระบุว่า “เชื่อมั่น”
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ปัญหาการรอรถเมล์นาน รถไม่พอกับความต้องการ ร้อยละ 71.4 การขับรถหวาดเสียว ขับเร็ว ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ร้อยละ 60.2 สภาพรถชำรุด มีควันดำ แอร์ร้อน มีกลิ่นเหม็น ร้อยละ 57.5 รถเมล์ไม่จอดป้าย จอดเลยป้าย ร้อยละ 52.2 รถเมล์ไม่จอดชิดขอบทางขณะรับส่งคน ร้อยละ 42.1 ความสุภาพเรียบร้อยในการให้บริการ ร้อยละ 39.3 อื่นๆ รถเมล์จอดแช่ที่ป้ายนาน ร้อยละ 5.5 2. ความพึงพอใจมากน้อยเพียงใดกับภาพรวมของการใช้บริการรถเมล์ในปัจจุบัน ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 11.8 (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 11.6 และมากที่สุดร้อยละ 0.2) ปานกลาง ร้อยละ 66.6 ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 21.6 (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 15.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 5.8) 3. ข้อคำถาม “ท่านทราบข่าวการจัดหารถเมล์ NGV ใหม่มาแทนของเก่าให้ทันก่อนปีใหม่หรือไม่” ทราบ ร้อยละ 51.7 ไม่ทราบ ร้อยละ 48.3 4. ความคาดหวังหากได้รถเมล์ NGV ใหม่แล้ว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) อยากให้มีปริมาณรถเมล์ให้เพียงพอกับความต้องการ ร้อยละ 74.3 อยากให้พนักงานขับและพนักงานเก็บเงินให้บริการดี สุภาพเรียบร้อย ร้อยละ 73.0 อยากให้มีรถเมล์ใหม่ในทุกสาย ครอบคลุมทุกเส้นทาง ร้อยละ 64.6 อยากให้มีกฎระเบียบ บทลงโทษ ทางวินัยที่ชัดเจนแก่ พนักงานขับ และ พนักงานเก็บเงิน ร้อยละ 59.6 อยากให้มีการบริการผู้ด้อยโอกาส คนพิการ เป็นพิเศษ ร้อยละ 53.8 อยากให้ใช้บัตรเงินสดจ่ายค่าโดยสารแทนการใช้เงินสด ร้อยละ 18.5 5. ความเชื่อมั่นว่าหากเปลี่ยนเป็นรถเมล์ NGV ใหม่แล้ว การบริการของรถเมล์จะดี และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 52.8 (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 48.0 และน้อยที่สุดร้อยละ 4.8) ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 47.2 (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 44.9 และมากที่สุดร้อยละ 2.3) 6. ข้อคำถาม “ท่านเชื่อมั่นหรือไม่ว่า การจัดหารถเมล์ NGV ใหม่ จะมีความโปร่งใสไม่มีทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้น” ไม่เชื่อมั่น ร้อยละ 82.0 เชื่อมั่น ร้อยละ 18.0
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนต่อการใช้บริการรถเมล์ในปัจจุบัน
2) เพื่อสะท้อนความคาดหวังหากได้รถเมล์ NGV ใหม่แล้ว
3) เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อการจัดหารถเมล์ NGV ใหม่ จะมีความโปร่งใสไม่มีทุจริตคอร์รัปชั่น
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 10เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ จตุจักร ดอนเมือง บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางแค บางนา บางรัก ราชเทวี และพระนคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 606 คน เป็นชายร้อยละ 46.0และหญิงร้อยละ 54.0
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น คณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18 – 24 สิงหาคม 2560 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 27 สิงหาคม 2560
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 279 46 หญิง 327 54 รวม 606 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 135 22.3 31 ปี - 40 ปี 111 18.3 41 ปี - 50 ปี 132 21.8 51 ปี - 60 ปี 117 19.3 61 ปี ขึ้นไป 111 18.3 รวม 606 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 374 61.7 ปริญญาตรี 209 34.5 สูงกว่าปริญญาตรี 23 3.8 รวม 606 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 43 7.1 ลูกจ้างเอกชน 224 37 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว 172 28.3 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 10 1.7 ทำงานให้ครอบครัว 3 0.5 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 88 14.5 นักเรียน/ นักศึกษา 54 8.9 ว่างงาน 12 2 รวม 606 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--