กลุ่มตัวอย่าง:
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่ม 2 ขั้นตอน (Two-stage sampling) คือ
ขั้นแรก สุ่มเขตปกครองจำนวน 16 เขต จากทั้งหมด 50 เขต ได้เขตต่าง ๆ ดังนี้
ดอนเมือง บางเขน ลาดพร้าว มีนบุรี พระโขนง คลองเตย ห้วยขวาง
จตุจักร ราชเทวี ดุสิต บางรัก ยานนาวา คลองสาน จอมทอง บางกอกน้อย
บางกอกใหญ่
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มประชากรเป้าหมายโดยกำหนดโควต้าตามกลุ่มอายุ เพศ และอาชีพ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,740 คน
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ในเรื่อง “ รัฐบาลควรยุบสภาเมื่อไร “
โดยแบบสอบถามประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 ถามด้านข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง
ส่วนที่ 2 ถามความคิดเห็นในหัวข้อที่ทำการสำรวจ
ระยะเวลาเก็บข้อมูล:
9 - 11 กรกฎาคม 2543
สรุปผลการสำรวจ
1. กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
เป็นเพศชายร้อยละ 51.1
เป็นหญิงร้อยละ 48.9
มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 55.0
ปริญญาตรีหรือสูงกว่าร้อยละ 43.7
มีหลายอาชีพ เช่น รับราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัทเอกชน
รับจ้างทั่วไป
เจ้าของกิจการ
ค้าขาย
นักศึกษา
แม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อสอบถามความเห็นว่ารัฐบาลควรยุบสภาเมื่อใด
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 31.5 เห็นว่าไม่ควรยุบสภา อยู่ไปจนครบวาระ
ร้อยละ 27.0 เห็นว่าควรยุบสภา หลังจากแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ร้อยละ 19.5 เห็นว่าควรยุบสภาทันที
ร้อยละ 19.0 เห็นว่าควรยุบสภาหลังจาก พรบ.งบประมาณผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว
3. เมื่อถามถึงความชอบธรรมของรัฐบาลในการบริหารประเทศ หลังจาก สส.ฝ่ายค้านส่วนใหญ่ลาออก
ร้อยละ 36.2 ตอบว่ามี
ร้อยละ 35.6 ตอบว่าไม่แน่ใจ
ร้อยละ 27.4 ตอบว่าไม่มี
4. ในการจัดตั้งรัฐบาลหลังจากมีการเลือกตั้งแล้ว
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 36.3 ต้องการให้พรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
ร้อยละ 34.6 ต้องการให้เป็นพรรคประชาธิปัตย์
และคิดว่าผู้ที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
ร้อยละ 39.0 คิดว่าควรเป็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ร้อยละ 34.4 ควรเป็นนายชวน หลีกภัย
ร้อยละ 4.8 ควรเป็น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หรือนายกร ทัพพะรังสี
ร้อยละ 3.8 ควรเป็นนายบรรหาร ศิลปอาชา
5. เมื่อถามถึงความเห็นที่ให้สื่อมวลชนตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลแทน สส.ฝ่ายค้าน
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 64.1 เห็นด้วย
ร้อยละ 20.5 ไม่เห็นด้วย
ร้อยละ 15.4 ไม่แน่ใจ
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่ม 2 ขั้นตอน (Two-stage sampling) คือ
ขั้นแรก สุ่มเขตปกครองจำนวน 16 เขต จากทั้งหมด 50 เขต ได้เขตต่าง ๆ ดังนี้
ดอนเมือง บางเขน ลาดพร้าว มีนบุรี พระโขนง คลองเตย ห้วยขวาง
จตุจักร ราชเทวี ดุสิต บางรัก ยานนาวา คลองสาน จอมทอง บางกอกน้อย
บางกอกใหญ่
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มประชากรเป้าหมายโดยกำหนดโควต้าตามกลุ่มอายุ เพศ และอาชีพ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,740 คน
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ในเรื่อง “ รัฐบาลควรยุบสภาเมื่อไร “
โดยแบบสอบถามประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 ถามด้านข้อมูลประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง
ส่วนที่ 2 ถามความคิดเห็นในหัวข้อที่ทำการสำรวจ
ระยะเวลาเก็บข้อมูล:
9 - 11 กรกฎาคม 2543
สรุปผลการสำรวจ
1. กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
เป็นเพศชายร้อยละ 51.1
เป็นหญิงร้อยละ 48.9
มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 55.0
ปริญญาตรีหรือสูงกว่าร้อยละ 43.7
มีหลายอาชีพ เช่น รับราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
พนักงานบริษัทเอกชน
รับจ้างทั่วไป
เจ้าของกิจการ
ค้าขาย
นักศึกษา
แม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อสอบถามความเห็นว่ารัฐบาลควรยุบสภาเมื่อใด
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 31.5 เห็นว่าไม่ควรยุบสภา อยู่ไปจนครบวาระ
ร้อยละ 27.0 เห็นว่าควรยุบสภา หลังจากแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ร้อยละ 19.5 เห็นว่าควรยุบสภาทันที
ร้อยละ 19.0 เห็นว่าควรยุบสภาหลังจาก พรบ.งบประมาณผ่านการพิจารณาของรัฐสภาแล้ว
3. เมื่อถามถึงความชอบธรรมของรัฐบาลในการบริหารประเทศ หลังจาก สส.ฝ่ายค้านส่วนใหญ่ลาออก
ร้อยละ 36.2 ตอบว่ามี
ร้อยละ 35.6 ตอบว่าไม่แน่ใจ
ร้อยละ 27.4 ตอบว่าไม่มี
4. ในการจัดตั้งรัฐบาลหลังจากมีการเลือกตั้งแล้ว
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 36.3 ต้องการให้พรรคไทยรักไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
ร้อยละ 34.6 ต้องการให้เป็นพรรคประชาธิปัตย์
และคิดว่าผู้ที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
ร้อยละ 39.0 คิดว่าควรเป็น พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ร้อยละ 34.4 ควรเป็นนายชวน หลีกภัย
ร้อยละ 4.8 ควรเป็น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หรือนายกร ทัพพะรังสี
ร้อยละ 3.8 ควรเป็นนายบรรหาร ศิลปอาชา
5. เมื่อถามถึงความเห็นที่ให้สื่อมวลชนตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลแทน สส.ฝ่ายค้าน
กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 64.1 เห็นด้วย
ร้อยละ 20.5 ไม่เห็นด้วย
ร้อยละ 15.4 ไม่แน่ใจ
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--