คนกรุงส่วนใหญ่ 57.4 % ทราบข่าวการเปิดตัว PromptPay QR Code เพื่อการชำระเงินรูปแบบใหม่สร้างสังคมไร้เงินสด 72.4% มองว่าจะทำให้สะดวกรวดเร็วขึ้นในการซื้อ สินค้าและบริการ และ 63.1% มองว่าจะทำให้เกิดสังคมรูปแบบ Smart City
อย่างไรก็ตาม 52.6% กังวลว่าร้านค้าที่รับชำระยังไม่ครอบคลุม และ 43.8% ยังไม่แน่ใจว่าจะใช้ระบบ PromptPay QR Code หรือไม่
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนไทยพร้อมหรือไม่กับการใช้ PromptPay QR Code ชำระเงิน” โดยเก็บ ข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 1,150 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 57.4 ทราบข่าวเกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดตัว PromptPay QR Code เพื่อการชำระเงิน รูปแบบใหม่สร้างสังคมไร้เงินสด ขณะที่ร้อยละ 42.6 ไม่ทราบ
เมื่อถามถึงข้อดีของการชำระเงินผ่าน PromptPay QR Code พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 72.4 เห็นว่าสะดวกรวดเร็วในการซื้อสินค้าและบริการ รองลงมาร้อยละ 64.0 เห็นว่าไม่ ต้องพกพาเงินสดให้ยุ่งยาก และร้อยละ 44.2 เห็นว่าเป็นการเพิ่มช่องทางในการชำระสินค้า
ด้านความกังวลกับการใช้ PromptPay QR Code ชำระสินค้าแทนการใช้เงินสดพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.6 กังวลว่า
ร้านค้าที่รับชำระยังไม่ครอบคลุมทุกร้าน รองลงมาร้อยละ 52.2 กังวลด้านความปลอดภัยในการใช้งาน และร้อยละ 45.0 กังวลด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ QR Code ของประชาชน
เมื่อถามว่าคิดว่าการนำ PromptPay QR Code มาใช้แทนการชำระเงินสด จะช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมในด้านใด
ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.1 เห็นว่าจะทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่สู่สังคมแบบ Smart City รองลงมาร้อยละ 45.9 จะช่วยทำให้เศรษฐกิจคล่องตัวขึ้น และร้อยละ 34.8 จะช่วยให้การท่องเที่ยวขยายตัว นักท่องเที่ยวใช้จ่ายมากขึ้น
สุดท้ายเมื่อถามว่าสนใจที่จะปรับตัวมาใช้ระบบการชำระเงินซื้อสินค้าโดยใช้ PromptPay QR Code แทนที่การใช้เงินสดหรือไม่ พบว่า ประชาชนร้อยละ 43.8 ยังไม่แน่ใจ ส่วน ร้อยละ 39.0 สนใจ ขณะที่ร้อยละ 17.2 ไม่สนใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ทราบ ร้อยละ 57.4 ไม่ทราบ ร้อยละ 42.6 2. ข้อคำถาม “คิดว่าข้อดีของการชำระเงินผ่าน PromptPay QR Code คืออะไร” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) สะดวกรวดเร็วในการซื้อสินค้าและบริการ ร้อยละ 72.4 ไม่ต้องพกพาเงินสดให้ยุ่งยาก ร้อยละ 64.0 เพิ่มช่องทางในการชำระสินค้า ร้อยละ 44.2 ใช้ได้รองรับกับธนาคารต่างๆ บัตรเดบิต บัตรเครดิต ร้อยละ 28.0 ปลอดภัยไม่ต้องยื่นบัตรเครดิต บัตรเดบิตให้ร้านค้า จะได้ไม่โดนขโมยข้อมูล ร้อยละ 22.5 3. ความกังวลกับการใช้ PromptPay QR Code ชำระสินค้าแทนการใช้เงินสด(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ร้านค้าที่รับชำระยังไม่ครอบคลุมทุกร้าน ร้อยละ 52.6 ด้านความปลอดภัยในการใช้งาน ร้อยละ 52.2 ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ QR Code ของประชาชน ร้อยละ 45.0 ด้านความพร้อมทางเทคโนโลยีของประชาชน ร้อยละ 37.0 4. ข้อคำถาม “คิดว่าการนำ PromptPay QR Code มาใช้แทนการชำระเงินสด จะช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมในด้านใด” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) รูปแบบการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่สู่สังคมแบบ Smart City ร้อยละ 63.1 ช่วยทำให้เศรษฐกิจคล่องตัวขึ้น ร้อยละ 45.9 ช่วยให้การท่องเที่ยวขยายตัว นักท่องเที่ยวใช้จ่ายมากขึ้น ร้อยละ 34.8 5. ข้อคำถาม “สนใจที่จะปรับตัวมาใช้ระบบการชำระเงินซื้อสินค้าโดยใช้ PromptPay QR Code แทนที่การใช้เงินสดหรือไม่” สนใจ ร้อยละ 39.0 ไม่สนใจ ร้อยละ 17.2 ยังไม่แน่ใจ ร้อยละ 43.8
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนต่อการรับทราบข่าวเกี่ยวกับธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดตัว PromptPay QR Code
2) เพื่อสะท้อนข้อดีของการชำระเงินผ่าน PromptPay QR Code
3) เพื่อสะท้อนความกังวลกับการใช้ PromptPay QR Code ชำระสินค้าแทนการใช้เงินสด
4) เพื่อสะท้อนความสนใจที่จะปรับตัวมาใช้ระบบการชำระเงินซื้อสินค้าโดยใช้ PromptPay QR Code
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 19เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และ ชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ทุ่งครุ บางกะปิ บางแค บางซื่อ บางนา บางรัก ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สายไหม และหลักสี่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,150 คน เป็นชายร้อยละ 49.6 และหญิง ร้อยละ 50.4
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น คณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 26 – 28 กันยายน 2560 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 30 กันยายน 2560
ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 570 49.6 หญิง 580 50.4 รวม 1,150 100 อายุ 18 ปี - 30 ปี 463 40.2 31 ปี - 40 ปี 341 29.7 41 ปี - 50 ปี 203 17.7 51 ปี - 60 ปี 111 9.7 61 ปี ขึ้นไป 32 2.7 รวม 1,150 100 การศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี 625 54.3 ปริญญาตรี 471 41 สูงกว่าปริญญาตรี 54 4.7 รวม 1,150 100 อาชีพ ลูกจ้างรัฐบาล 201 17.5 ลูกจ้างเอกชน 451 39.1 ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว 276 24 เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง 31 2.7 ทำงานให้ครอบครัว 7 0.6 พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ 49 4.3 นักเรียน/ นักศึกษา 115 10 ว่างงาน 20 1.8 รวม 1,150 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--