วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :
การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ ต้องการทราบความเชื่อมั่นของประชาชนต่อคดีการปกปิดหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลัง
การเปิดเผยความสัมพันธ์ในอดีต ระหว่างพรรคการเมืองกับเลขาธิการ ปปช.ว่าประชาชนยังมั่นใจในความเป็นกลางและเที่ยง
ธรรมขององค์กร ปปช. และศาลรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด เพื่อจะนำผลการสำรวจนี้เผยแพร่แก่สาธารณชนทราบต่อไป
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง :
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร
เทคนิคการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขตปกครอง
ในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 32 เขต ดังนี้
คลองเตย คลองสาน คันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ธนบุรี บางกอกใหญ่
บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางแค บางนา บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พระโขนง ภาษีเจริญ มีนบุรี
ยานนาวา ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สาทร หนองแขม ห้วยขวาง
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโควต้า ตามเพศ และอาชีพ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน
1,317 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) :
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล :
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ความเชื่อมั่น
ต่อการพิจารณาคดีปกปิดหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังลดความน่าเชื่อถือเลขาธิการ ปปช."
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :
29 - 30 พฤษภาคม 2544
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
31 พฤษภาคม 2544
สำรวจโดย :
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพ
มหานคร เป็นชายร้อยละ 50.6 เป็นหญิงร้อยละ 49.4 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.1 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เหลือ
ร้อยละ 39.2 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพ รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน
เจ้าของกิจการ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย นักศึกษา และแม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อถามถึงความมั่นใจในความเป็นกลางและเที่ยงธรรมของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริต
แห่งชาติ ในการพิจารณาคดีปกปิดหุ้นที่ผ่านมา
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 41.1 ระบุว่ามั่นใจ
ร้อยละ 51.3 ระบุว่าไม่มั่นใจ
และร้อยละ 7.6 ไม่มีความเห็น
3. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ ถึงการเปิดเผยความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างพรรคการเมืองกับเลขาธิการ ปปช.
เป็นการลดความน่าเชื่อถือต่อองค์กร ปปช.
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.3 เห็นด้วย เพราะขาดความเป็นกลาง
ขณะที่ร้อยละ 31.0 ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้วไม่เกี่ยวข้องกัน
และร้อยละ 20.7 ไม่มีความเห็น
4. ส่วนความขัดแย้งในระหว่างกรรมการ ปปช. ในคดีปกปิดหุ้น มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นองค์กร ปปช. หรือไม่
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.7 ระบุว่ามีผลกระทบ เพราะทำให้ภาพลักษณ์เสื่อมเสีย ขาดความสามัคคี
ขณะที่ร้อยละ 25.1 ระบุว่าไม่มีผลกระทบ เพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคล คนยังเชื่อมั่นในองค์กร ปปช.
และร้อยละ 16.2 ไม่มีความเห็น
5. สำหรับความมั่นใจต่อความเป็นกลางและเที่ยงธรรมของศาลรัฐธรรมนูญ ในการพิจารณาคดีปกปิดหุ้นของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.5 ระบุว่ามั่นใจ
ร้อยละ 35.1 ระบุว่าไม่มั่นใจ
และร้อยละ 7.4 ไม่มีความเห็น
6. เมื่อถามว่าคดีปกปิดหุ้น ศาลรัฐธรรมนูญควรตัดสินเมื่อใด
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.3 ระบุว่าควรตัดสินให้เร็วที่สุด เพราะจะได้รู้ผลที่แท้จริง จะทำให้ภาพลักษณ์ของผู้นำดี
ขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้ต่างประเทศ ขณะที่ร้อยละ 23.2 ระบุว่าควรชะลอออกไปก่อน เพราะต้องการให้รัฐบาลได้พิสูจน์
ผลงาน แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เร่งด่วน และร้อยละ 14.4 ไม่มีความเห็น
7. เมื่อถามความคาดหวังคดีปกปิดหุ้นว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินออกมาเช่นไร
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 64.0 คาดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะชนะคดี
ร้อยละ 18.8 คาดว่าจะแพ้คดี
และร้อยละ 17.2 ไม่มีความเห็น
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 666 50.6
หญิง 651 49.4
อายุ :
18 - 25 ปี 290 22
26 - 35 ปี 394 29.9
36 - 45 ปี 453 34.4
มากกว่า 45 ปี 180 13.7
การศึกษา :
ประถมศึกษา 66 5
มัธยมศึกษา 135 10.3
ปวช. 174 13.2
ปวส./อนุปริญญา 403 30.6
ปริญญาตรี 473 35.9
สูงกว่าปริญญาตรี 43 3.3
ไม่ระบุ 23 1.7
อาชีพ :
รับราชการ 102 7.7
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 130 9.9
พนักงานเอกชน 306 23.2
เจ้าของกิจการ 100 7.6
รับจ้างทั่วไป 165 12.5
ค้าขาย 183 13.9
นักศึกษา 219 16.6
แม่บ้าน 79 6
อาชีพอื่น ๆ 33 2.5
ตารางที่ 2 ความมั่นใจในความเป็นกลางและเที่ยงธรรมของกรรมการ ปปช. ที่ผ่านมาในการพิจารณาคดีปกปิดหุ้น
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 541 41.1
ไม่มั่นใจ 676 51.3
ไม่มีความเห็น 100 7.6
ตารางที่ 3 การเปิดเผยความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองกับเลขาธิการ ปปช. เป็นการลดความน่าเชื่อถือ
ขององค์กร ปปช.
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 636 48.3
ไม่เห็นด้วย 408 31
ไม่มีความเห็น 273 20.7
ตารางที่ 4 ความขัดแย้งระหว่างกรรมการ ปปช. ในคดีปกปิดหุ้นกับผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในองค์กร ปปช.
จำนวน ร้อยละ
มีผลกระทบ 773 58.7
ไม่มีผลกระทบ 331 25.1
ไม่มีความเห็น 213 16.2
ตารางที่ 5 ความมั่นใจในความเป็นกลางและเที่ยงธรรมของศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาคดีปกปิดหุ้น
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 757 57.5
ไม่มั่นใจ 462 35.1
ไม่มีความเห็น 98 7.4
ตารางที่ 6 ความเห็นเกี่ยวกับช่วงเวลาในการตัดสินคดีปกปิดหุ้น
จำนวน ร้อยละ
ตัดสินเร็วที่สุด 821 62.3
ชะลอการตัดสินไว้ก่อน 306 23.2
ไม่มีความเห็น 190 14.4
ตารางที่ 7 ความคาดหวังผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในคดีปกปิดหุ้น
จำนวน ร้อยละ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ชนะคดี 843 64
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แพ้คดี 248 18.8
ไม่มีความเห็น 226 17.2
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
การสำรวจความคิดเห็นครั้งนี้ ต้องการทราบความเชื่อมั่นของประชาชนต่อคดีการปกปิดหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลัง
การเปิดเผยความสัมพันธ์ในอดีต ระหว่างพรรคการเมืองกับเลขาธิการ ปปช.ว่าประชาชนยังมั่นใจในความเป็นกลางและเที่ยง
ธรรมขององค์กร ปปช. และศาลรัฐธรรมนูญมากน้อยเพียงใด เพื่อจะนำผลการสำรวจนี้เผยแพร่แก่สาธารณชนทราบต่อไป
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง :
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตปกครองของกรุงเทพมหานคร
เทคนิคการสุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) กล่าวคือ
ขั้นแรก แบ่งเขตปกครองกรุงเทพมหานครเป็น เขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก หลังจากนั้นสุ่มเขตปกครอง
ในแต่ละชั้น ได้เขตต่าง ๆ จำนวน 32 เขต ดังนี้
คลองเตย คลองสาน คันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ธนบุรี บางกอกใหญ่
บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางแค บางนา บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พระโขนง ภาษีเจริญ มีนบุรี
ยานนาวา ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สาทร หนองแขม ห้วยขวาง
ขั้นที่สอง จากแต่ละเขตที่สุ่มได้ สุ่มถนน ซอย และที่อยู่อาศัย
ขั้นที่สาม สุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ โดยกำหนดโควต้า ตามเพศ และอาชีพ ได้ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน
1,317 คน
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) :
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล :
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง "ความเชื่อมั่น
ต่อการพิจารณาคดีปกปิดหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ภายหลังลดความน่าเชื่อถือเลขาธิการ ปปช."
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :
29 - 30 พฤษภาคม 2544
วันที่เผยแพร่ข้อมูล :
31 พฤษภาคม 2544
สำรวจโดย :
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
สรุปผลการสำรวจ
1. การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีสำรวจภาคสนาม ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพ
มหานคร เป็นชายร้อยละ 50.6 เป็นหญิงร้อยละ 49.4 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.1 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ที่เหลือ
ร้อยละ 39.2 มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพ รับราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน
เจ้าของกิจการ รับจ้างทั่วไป ค้าขาย นักศึกษา และแม่บ้าน เป็นต้น
2. เมื่อถามถึงความมั่นใจในความเป็นกลางและเที่ยงธรรมของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริต
แห่งชาติ ในการพิจารณาคดีปกปิดหุ้นที่ผ่านมา
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 41.1 ระบุว่ามั่นใจ
ร้อยละ 51.3 ระบุว่าไม่มั่นใจ
และร้อยละ 7.6 ไม่มีความเห็น
3. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ ถึงการเปิดเผยความสัมพันธ์ในอดีตระหว่างพรรคการเมืองกับเลขาธิการ ปปช.
เป็นการลดความน่าเชื่อถือต่อองค์กร ปปช.
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.3 เห็นด้วย เพราะขาดความเป็นกลาง
ขณะที่ร้อยละ 31.0 ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้วไม่เกี่ยวข้องกัน
และร้อยละ 20.7 ไม่มีความเห็น
4. ส่วนความขัดแย้งในระหว่างกรรมการ ปปช. ในคดีปกปิดหุ้น มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นองค์กร ปปช. หรือไม่
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.7 ระบุว่ามีผลกระทบ เพราะทำให้ภาพลักษณ์เสื่อมเสีย ขาดความสามัคคี
ขณะที่ร้อยละ 25.1 ระบุว่าไม่มีผลกระทบ เพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคล คนยังเชื่อมั่นในองค์กร ปปช.
และร้อยละ 16.2 ไม่มีความเห็น
5. สำหรับความมั่นใจต่อความเป็นกลางและเที่ยงธรรมของศาลรัฐธรรมนูญ ในการพิจารณาคดีปกปิดหุ้นของ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.5 ระบุว่ามั่นใจ
ร้อยละ 35.1 ระบุว่าไม่มั่นใจ
และร้อยละ 7.4 ไม่มีความเห็น
6. เมื่อถามว่าคดีปกปิดหุ้น ศาลรัฐธรรมนูญควรตัดสินเมื่อใด
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.3 ระบุว่าควรตัดสินให้เร็วที่สุด เพราะจะได้รู้ผลที่แท้จริง จะทำให้ภาพลักษณ์ของผู้นำดี
ขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้ต่างประเทศ ขณะที่ร้อยละ 23.2 ระบุว่าควรชะลอออกไปก่อน เพราะต้องการให้รัฐบาลได้พิสูจน์
ผลงาน แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เร่งด่วน และร้อยละ 14.4 ไม่มีความเห็น
7. เมื่อถามความคาดหวังคดีปกปิดหุ้นว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินออกมาเช่นไร
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 64.0 คาดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะชนะคดี
ร้อยละ 18.8 คาดว่าจะแพ้คดี
และร้อยละ 17.2 ไม่มีความเห็น
ตารางที่ 1 ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 666 50.6
หญิง 651 49.4
อายุ :
18 - 25 ปี 290 22
26 - 35 ปี 394 29.9
36 - 45 ปี 453 34.4
มากกว่า 45 ปี 180 13.7
การศึกษา :
ประถมศึกษา 66 5
มัธยมศึกษา 135 10.3
ปวช. 174 13.2
ปวส./อนุปริญญา 403 30.6
ปริญญาตรี 473 35.9
สูงกว่าปริญญาตรี 43 3.3
ไม่ระบุ 23 1.7
อาชีพ :
รับราชการ 102 7.7
พนักงานรัฐวิสาหกิจ 130 9.9
พนักงานเอกชน 306 23.2
เจ้าของกิจการ 100 7.6
รับจ้างทั่วไป 165 12.5
ค้าขาย 183 13.9
นักศึกษา 219 16.6
แม่บ้าน 79 6
อาชีพอื่น ๆ 33 2.5
ตารางที่ 2 ความมั่นใจในความเป็นกลางและเที่ยงธรรมของกรรมการ ปปช. ที่ผ่านมาในการพิจารณาคดีปกปิดหุ้น
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 541 41.1
ไม่มั่นใจ 676 51.3
ไม่มีความเห็น 100 7.6
ตารางที่ 3 การเปิดเผยความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองกับเลขาธิการ ปปช. เป็นการลดความน่าเชื่อถือ
ขององค์กร ปปช.
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 636 48.3
ไม่เห็นด้วย 408 31
ไม่มีความเห็น 273 20.7
ตารางที่ 4 ความขัดแย้งระหว่างกรรมการ ปปช. ในคดีปกปิดหุ้นกับผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในองค์กร ปปช.
จำนวน ร้อยละ
มีผลกระทบ 773 58.7
ไม่มีผลกระทบ 331 25.1
ไม่มีความเห็น 213 16.2
ตารางที่ 5 ความมั่นใจในความเป็นกลางและเที่ยงธรรมของศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาคดีปกปิดหุ้น
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจ 757 57.5
ไม่มั่นใจ 462 35.1
ไม่มีความเห็น 98 7.4
ตารางที่ 6 ความเห็นเกี่ยวกับช่วงเวลาในการตัดสินคดีปกปิดหุ้น
จำนวน ร้อยละ
ตัดสินเร็วที่สุด 821 62.3
ชะลอการตัดสินไว้ก่อน 306 23.2
ไม่มีความเห็น 190 14.4
ตารางที่ 7 ความคาดหวังผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในคดีปกปิดหุ้น
จำนวน ร้อยละ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ชนะคดี 843 64
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แพ้คดี 248 18.8
ไม่มีความเห็น 226 17.2
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--