ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 63.3 มีความเห็นว่า หากปลดล็อคให้มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นบรรยากาศทางการเมืองน่าจะดีขึ้น โดยร้อยละ 53.9 อยากให้จัดเลือกตั้งท้องถิ่นพร้อมกัน ทุกระดับทั่วประเทศ
ร้อยละ 40.0เห็นว่าการที่รัฐอาจจะพิจารณาให้จัดเลือกตั้งท้องถิ่นในบางระดับหรือเฉพาะพื้นที่ ก็เพื่อต้องการทดสอบระบบและความพร้อมของการจัดการเลือกตั้งหลังจากว่างเว้นไปนาน
โดยร้อยละ 48.1 คิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะได้ผู้นำท้องถิ่นที่ดีมีคุณสมบัติตรงตามรัฐธรรมนูญ
จากข่าวที่จะมีการปลดล็อคเตรียมจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นแต่ยังไม่ทราบว่าจะเลือกตั้งเมื่อไหร่และจะเลือกกันในระดับและประเภทใดบ้างกรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนคิดเห็นอย่างไร เรื่องการปลดล็อคเตรียมจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,184คน พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.9 มีความเห็นว่า ควรจัดเลือกตั้งท้องถิ่นให้พร้อมกันทุกระดับทั่วประเทศ รองลงมาร้อยละ 33.2 มีความเห็นว่าควรจัดเลือกตั้งท้องถิ่นเฉพาะในส่วนที่ หมดวาระ/ว่างอยู่ก่อนที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ และร้อยละ 12.9 มีความเห็นว่า ควรจัดเลือกตั้งท้องถิ่นในบางระดับก่อนเฉพาะเขตปกครองพิเศษเช่นผู้ว่ากทม. และเมืองพัทยาหรือเฉพาะ อบจ.
สำหรับความเห็นต่อการปลดล็อคโดย รัฐบาล คสช.อาจพิจารณาให้จัดเลือกตั้งท้องถิ่นในบางระดับหรือเฉพาะพื้นที่ก่อนเลือกตั้งระดับชาติ นั้น ประชาชนร้อยละ 40.0 มีความเห็นว่า เพื่อต้องการทดสอบระบบและความพร้อมการจัดการเลือกตั้งหลังจากว่างเว้นไปนานรองลงมาร้อยละ 35.6 คิดว่าเพื่อต้องการนำร่องการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่และเพื่อทดแทนตำแหน่ง ผู้นำระดับท้องถิ่นเดิมที่หมดวาระไปและร้อยละ 30.0 คิดว่าต้องการดูคะแนนนิยมของพรรคการเมืองในระดับท้องถิ่นเพื่อวัดกระแสความนิยมการเมืองในระดับชาติ
เมื่อถามว่าการปลดล็อคทางการเมืองเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นจะส่งผลอย่างไรต่อบ้านเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 48.1 มีความเห็นว่าจะได้ผู้นำท้องถิ่นที่ดีมีคุณสมบัติตรง ตามรัฐธรรมนูญ รองลงมาร้อยละ 16.6 ระบุว่าจะได้ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นมาบริหารท้องถิ่นเหมือนเดิม และร้อยละ 15.7 ระบุว่าจะกลับไปสู่การซื้อสิทธิขายเสียงเหมือนเดิม
ทั้งนี้หากจัดให้มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น จะทำให้บรรยากาศทางการเมืองไปในทิศทางใดประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 63.3 ระบุว่าบรรยากาศการเมืองน่าจะดีขึ้น รองลงมาร้อยละ 32.5 ระบุว่าน่าจะเหมือนเดิม และมีเพียงร้อยละ 4.5 เท่านั้นที่ระบุว่า น่าจะแย่ลง
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
- ควรจัดเลือกตั้งท้องถิ่นให้พร้อมกันทุกระดับทั่วประเทศ ร้อยละ 53.9 - ควรจัดเลือกตั้งท้องถิ่นเฉพาะในส่วนที่หมดวาระ/ว่างอยู่ก่อนที่คสช. เข้ามาบริหารประเทศ ร้อยละ 33.2 - ควรจัดเลือกตั้งท้องถิ่นในบางระดับก่อนเฉพาะเขตปกครองพิเศษ เช่นผู้ว่ากทม. และเมืองพัทยาหรือเฉพาะอบจ. ร้อยละ 12.9 2. ความเห็นต่อการปลดล็อคโดยรัฐบาล คสช. อาจพิจารณาให้จัดเลือกตั้งท้องถิ่นในบางระดับหรือเฉพาะพื้นที่ก่อน(เลือกตอบได้มากกว่า1ข้อ) - เพื่อทดสอบระบบและความพร้อมการจัดการเลือกตั้งหลังจากว่างเว้นไปนาน ร้อยละ 40.0 - เพื่อทดสอบ/นำร่องการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ร้อยละ 35.6 - เพื่อทดแทนตำแหน่งผู้นำระดับท้องถิ่นเดิมที่หมดวาระไป ร้อยละ 35.6 - เพื่อดูคะแนนนิยมของพรรคการเมืองในระดับท้องถิ่นเพื่อวัดกระแสความนิยมการเมืองในระดับชาติ ร้อยละ 30.0 - เพื่อเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมือง ร้อยละ 27.8 3.การปลดล็อคทางการเมืองเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นจะส่งผลอย่างไรต่อบ้านเมือง - จะได้ผู้นำท้องถิ่นที่ดีมีคุณสมบัติตรงตามรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 48.1 - จะได้ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นมาบริหารท้องถิ่นเหมือนเดิม ร้อยละ 16.6 - จะกลับไปสู่การซื้อสิทธิขายเสียงเหมือนเดิม ร้อยละ 15.7 - ทำให้มีบรรยากาศการหาเสียงคึกคัก/การเลือกตั้งคึกคัก ร้อยละ 13.6 - ทำให้มีการชุมนุมทางการเมืองได้เกิน 5 คนโดยไม่ผิดกฎหมาย ร้อยละ 6.0 4.การจัดให้มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นจะทำให้บรรยากาศทางการเมืองไปในทิศทางใด - น่าจะดีขึ้น ร้อยละ 63.0 - น่าจะเหมือนเดิม ร้อยละ 32.5 - น่าจะแย่ลง ร้อยละ 4.5
รายละเอียดการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการหารือเพื่อเตรียมปลดล็อคการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ในประเด็นต่างๆ อาทิ รูปแบบการจัดเลือกตั้ง บรรยากาศและทิศทาง การเมืองหากมีการจัดเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นต้น เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 14-15 พฤศจิกายน 2560
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 18 พฤศจิกายน 2560
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--