ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 64.5 มีพฤติกรรมซื้อสินค้าและบริการเท่าเดิมถึงแม้ว่าช่วงนี้รัฐบาลจะออกมาตรการ“ช้อปช่วยชาติ”โดยร้อยละ 52.9 ระบุว่าต้องการให้รัฐดูแลห้างร้าน ที่เข้าร่วมโครงการไม่ให้ขายสินค้าราคาแพงกว่าช่วงปกติ
ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 55.0 ระบุว่า มาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560” ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระดับ “ปานกลาง”และร้อยละ 52.6 อยากให้ขยายเวลาจนถึงสิ้นปีขณะที่ร้อยละ 48.3 ยังคงมองว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากมาตรการนี้คือ เอกชน/ห้าง/ร้าน/ที่จำหน่ายสินค้าและบริการ
จากที่รัฐบาลออกมาตรการ “ช้อปช่วยชาติ 2560” เมื่อซื้อสินค้าและบริการสามารถลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาทระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2560 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ช้อปช่วยชาติกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชน” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,099 คน พบว่า
ในช่วงที่รัฐบาลออกมาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 64.5 ระบุว่าพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการเท่าเดิมเหมือนช่วงปกติ รองลงมาร้อยละ 14.7 ระบุว่าทำให้ซื้อสินค้าและบริการปริมาณมากขึ้น และร้อยละ 10.7 ระบุว่า ทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นใหญ่และมีราคาสูงง่ายขึ้นเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า/สมาร์ทโฟน/โน้ตบุค
ส่วนเรื่องที่ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลสำหรับห้างร้านที่เข้าร่วมโครงการ“ช้อปช่วยชาติ 2560 ”ประชาชนร้อยละ 52.9 ระบุว่าต้องการให้ดูเรื่องสินค้าไม่ให้มีราคาแพงกว่า ช่วงเวลาปกติ รองลงมาร้อยละ 27.3 ระบุว่าเรื่องนำสินค้าหมดอายุ/ตกรุ่นมาขาย และร้อยละ 10.1 ระบุว่าเรื่องการจำกัดปริมาณการซื้อ
ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.0 มีความเห็นว่า มาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560” ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในระดับ “ปานกลาง” รองลงมาร้อยละ 24.0 ระบุว่าช่วยได้ ในระดับ “มากถึงมากที่สุด” และร้อยละ 21.0 ระบุว่า ช่วยได้ในระดับ “น้อยถึงน้อยที่สุด”
สำหรับความเห็นต่อช่วงเวลาของมาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560” นั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ52.6 ระบุว่าควรขยายเวลาจนถึงสิ้นปี รองลงมาร้อยละ 33.6 ระบุว่าควรจัด ช่วงใกล้สิ้นปีเหมือนปีที่ผ่านมา(1-2 สัปดาห์ก่อนสิ้นปี) และร้อยละ 13.8 ระบุว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมดีแล้ว
เมื่อถามถึงนโยบายช้อปช่วยชาติว่าควรเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งท้ายปีแบบใด ประชาชนร้อยละ 47.6 ระบุว่าควรจัดเป็นมาตรการแบบปีต่อปีแบบนี้ดีแล้วเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจในปีนั้นๆ รองลงมาร้อยละ 46.7 ระบุว่า ควรออกเป็นมาตรการระยะยาว 5 ปี/ 10 ปีเพื่อจะได้วางแผนการใช้จ่าย และร้อยละ 5.7 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
สุดท้ายเมื่อถามว่าการออกมาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560”ใครได้ประโยชน์มากที่สุดประชาชน ร้อยละ 48.3 ระบุว่า เอกชน/ห้าง/ร้าน/ที่จำหน่ายสินค้าและบริการรองลงมา ร้อยละ 27.6 ระบุว่าประชาชนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี และร้อยละ 20.1 ระบุว่า รัฐบาล
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ซื้อเหมือนช่วงปกติ/ซื้อเท่าเดิมไม่เปลี่ยน ร้อยละ 64.5 - ทำให้ซื้อสินค้าและบริการปริมาณมากขึ้นกว่าช่วงปกติ ร้อยละ 14.7 - ทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นใหญ่/ราคาสูงง่ายขึ้นเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า/สมาร์ทโฟน/โน้ตบุคฯลฯ ร้อยละ 10.7 - ทำให้ซื้อสินค้าและบริการที่ไม่จำเป็นมากขึ้น ร้อยละ 10.1 2. ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลเรื่องใดสำหรับห้างร้านที่เข้าร่วมโครงการ“ช้อปช่วยชาติ 2560 ” - สินค้าไม่ให้มีราคาแพงกว่าช่วงเวลาปกติ ร้อยละ 52.9 - การนำสินค้าหมดอายุ/ตกรุ่นมาขาย ร้อยละ 27.3 - จำกัดปริมาณการซื้อต่อวัน/ต่อคน ร้อยละ 10.1 - สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ ร้อยละ 9.7 3.มาตรการ “ช้อปช่วยชาติ 2560” จะกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี 2560 ได้มากน้อยเพียงใด - มากถึงมากที่สุด ร้อยละ 24.0 - ปานกลาง ร้อยละ 55.0 - น้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 21.0 4.ความเห็นต่อช่วงเวลาของมาตรการ “ช้อปช่วยชาติ 2560” ที่จัดตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2560 - ควรขยายเวลาจนถึงสิ้นปี ร้อยละ 52.6 - ควรจัดช่วงใกล้สิ้นปีเหมือนปีที่ผ่านมา(1-2 สัปดาห์ก่อนสิ้นปี) ร้อยละ 33.6 - เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมดีแล้ว ร้อยละ 13.8 5. นโยบายช้อปช่วยชาติควรเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งท้ายปีแบบใด - แบบปีต่อปีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนั้นๆ ร้อยละ 47.6 - เป็นแบบระยะยาว 5 ปี 10 ปีเพื่อประชาชนจะได้วางแผนการใช้จ่าย ร้อยละ 46.7 - ไม่แน่ใจ ร้อยละ 5.7 6. การออกมาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560”ใครได้ประโยชน์มากที่สุด - เอกชน/ห้าง/ร้าน/ที่จำหน่ายสินค้าและบริการ ร้อยละ 48.3 - ประชาชนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ร้อยละ 27.6 - รัฐบาล ร้อยละ 20.1 - อื่นๆ อาทิ ได้ประโยชน์ร่วมกันในภาพรวม ร้อยละ 4.0
รายละเอียดการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการการออกมาตรการ “ช้อปช่วยชาติ 2560” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี ของรัฐบาล ในเรื่องพฤติกรรมการซื้อสินค้า ความเหมาะสมของช่วงเวลาและ ผลที่ได้รับจากการออกมาตรการเพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 22-24 พฤศจิกายน 2560 วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 25 พฤศจิกายน 2560
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--