กรุงเทพโพลล์: “คนกรุงกับการท่องเที่ยวปีใหม่ 2018”

ข่าวผลสำรวจ Monday December 25, 2017 08:26 —กรุงเทพโพลล์

คนกรุง 83.8% มีการวางแผนเดินทางในช่วงหยุดยาวปีใหม่ โดยส่วนใหญ่อยากไปเข้าวัดทำบุญมากที่สุด 64.6% กังวลเรื่องการจราจรที่ติดขัด เป็นอัมพาต ส่วนปัจจัยที่อาจทำให้ ไม่ออกไปท่องเที่ยวช่วงปีใหม่คือ รถติดมาก รองลงมาคือ เศรษฐกิจไม่ดี ไม่มีเงินใช้จ่าย

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนกรุงกับการท่องเที่ยวปีใหม่ 2018” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ กรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 1,147 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 83.8 มีการวางแผนเดินทางในช่วงหยุดยาวปีใหม่ที่จะถึงนี้ โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 37.6 จะไปเข้าวัดทำบุญ รองลง มาร้อยละ 28.8 จะกลับไปจังหวัดบ้านเกิด / เยี่ยมญาติ และร้อยละ 20.8 จะเที่ยวอยู่ ช้อปปิ้ง กินข้าว ตามร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ใน กรุงเทพฯ ขณะที่ร้อยละ 16.2 ไม่มีการวางแผน เดินทางคิดว่าจะอยู่บ้าน

สำหรับเรื่องที่กังวลมากที่สุด หากต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.6 กังวลเรื่องการจราจรที่ติดขัด เป็นอัมพาต รองลงมาร้อยละ 60.7 กังวลเรื่องอุบัติเหตุ รถชน บนท้องถนน และร้อยละ 34.4 กังวลเรื่องความแออัดของคนในสถานที่เที่ยว

ทั้งนี้เมื่อถามถึงอุปสรรคหรือปัจจัยที่อาจทำให้ไม่ไปท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่ที่จะถึงนี้ พบว่าอันดับแรกคือ กลัวรถติดมาก (ร้อยละ 44.5) รองลงมาคือ เศรษฐกิจไม่ดี ไม่มีเงินใช้จ่าย (ร้อยละ 42.0) ไม่ชอบที่เที่ยวที่คนเยอะๆ อึดอัด (ร้อยละ 35.5) ไม่ชอบแย่งกันกิน แย่งกันใช้ (ร้อยละ 29.6) และกลัวอุบัติเหตุ กลัวอันตราย โรคติดต่อ (ร้อยละ27.1)

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. การวางแผนเดินทางในช่วงหยุดยาวปีใหม่ที่จะถึงนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
มีการวางแผนเดินทาง                                                                       ร้อยละ    83.8
โดย  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
       คิดว่าจะไปเข้าวัดทำบุญ                                            ร้อยละ    37.6
       คิดว่าจะกลับไปจังหวัดบ้านเกิด / เยี่ยมญาติ                             ร้อยละ    28.8
คิดว่าจะเที่ยวอยู่ ช้อปปิ้ง กินข้าว ตามร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ใน กรุงเทพฯ  ร้อยละ    20.8
       คิดว่าจะออกจะไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด                                 ร้อยละ    17.0
       คิดว่าจะไปต่างประเทศ                                            ร้อยละ     1.3
ไม่มีการวางแผนเดินทางคิดว่าจะอยู่บ้าน                                                          ร้อยละ    16.2

2. เรื่องที่กังวลมากที่สุด หากต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
การจราจรที่ติดขัด เป็นอัมพาต                                              ร้อยละ    64.6
อุบัติเหตุ รถชน บนท้องถนน                                                ร้อยละ    60.7
ความแออัดของคนในสถานที่เที่ยว                                            ร้อยละ    34.4
ที่พัก อาหาร ราคาแพง                                                   ร้อยละ    19.5
การก่อการร้าย วางระเบิด สร้างสถานการณ์                                   ร้อยละ     5.7

3. อุปสรรคหรือปัจจัยที่อาจทำให้ไม่ไปท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่ที่จะถึงนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
กลัวรถติดมาก                                                          ร้อยละ    44.5
เศรษฐกิจไม่ดี ไม่มีเงินใช้จ่าย                                              ร้อยละ    42.0
ไม่ชอบที่เที่ยวที่คนเยอะๆ อึดอัด                                             ร้อยละ    35.5
ไม่ชอบแย่งกันกิน แย่งกันใช้                                                ร้อยละ    29.6
กลัวอุบัติเหตุ กลัวอันตราย โรคติดต่อ                                         ร้อยละ    27.1
ไม่มีเวลาต้องทำงาน                                                     ร้อยละ    16.7

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1) เพื่อต้องการทราบถึงการวางแผนท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่

2) เพื่อสะท้อนเรื่องที่กังวล หากต้องเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่

3) เพื่อสะท้อนอุปสรรคหรือปัจจัยที่อาจทำให้ไม่ไปท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่ที่จะถึงนี้

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 23เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง ตลิ่งชัน บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางแค บางนา บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พระโขนง พระนคร มีนบุรี ยานนาวา วังทองหลาง สายไหม หนองแขม หลักสี่ และห้วยขวาง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่าง ทั้งสิ้นจำนวน 1,147 คน เป็นชายร้อยละ 50.1และหญิงร้อยละ 49.9

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น คณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 14 – 18 ธันวาคม 2560

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 25 ธันวาคม 2560

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ