วัตถุประสงค์ของการสำรวจ
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในประเด็นต่อไปนี้
- การออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้
- เกณฑ์การพิจารณาเลือกผู้สมัคร
- สถานการณ์การซื้อเสียงในแต่ละพื้นที่และรูปแบบของการซื้อเสียง
- การวางตัวเป็นกลางของข้าราชการในพื้นที่
- ความพึงพอใจที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
- ความมั่นใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในการดูแลการเลือกตั้งครั้งนี้ให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรม
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรใน 31 จังหวัดจากทุกภาคของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี อยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี อ่างทอง ภูเก็ต ตรัง พังงา กระบี่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ขอนแก่น อุดรธานี ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี มหาสารคาม กาฬสินธุ์ สกลนคร นครราชสีมา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ประจวบคีรีขันธ์ และชลบุรี ได้ตัวอย่างจำนวน 5,222 คน เป็นชายร้อยละ 45.9 หญิงร้อยละ 54.1
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 28.5 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี
ร้อยละ 27.6 อายุระหว่าง 26-35 ปี
ร้อยละ 25.4 อายุระหว่าง 36-45 ปี
ร้อยละ 18.1 อายุ 46 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 0.4 ไม่ระบุอายุ
กลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษา ดังนี้ ร้อยละ 15.2 ประถมศึกษา
ร้อยละ 24.8 มัธยมศึกษา/ปวช.
ร้อยละ 20.1 ปวส./อนุปริญญา
ร้อยละ 4.4 สูงกว่าปริญญาตรี
และร้อยละ 2.1 ไม่ระบุระดับการศึกษา
อาชีพของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 19.8 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 13.2 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 21.0 พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
ร้อยละ 13.0 ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 17.8 นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา
ร้อยละ 7.6 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.7 ว่างงาน และอื่น ๆ อีกร้อยละ 3.9
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง “สถานการณ์การซื้อเสียงในการเลือกตั้งปี 48”
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 20-23 มกราคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 27 มกราคม 2548
ผลการสำรวจ
1. เมื่อสอบถามถึงการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ร้อยละ 86.6 ระบุว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 3.8 จะไม่ไปใช้สิทธิ์ และร้อยละ 9.6 ไม่แน่ใจ
2. สำหรับเกณฑ์การตัดสินใจเลือกผู้สมัครในการเลือกตั้งครั้งนี้ อันดับแรก คือร้อยละ 36.3 ดูพรรคที่สังกัด
รองลงมา ร้อยละ 31.0 ดูนโยบายที่นำเสนอ ร้อยละ 30.5 ดูตัวผู้สมัคร และร้อยละ 2.2 ดูที่หัวคะแนน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ในส่วนของการดูพรรคที่สังกัด ร้อยละ 62.8 เลือกพรรคที่สมาชิกมีคุณภาพ รองลงมาร้อยละ 26.1 เลือกพรรคที่คาดว่าน่าจะได้เป็นรัฐบาล ร้อยละ 11.1 เลือกพรรคที่เป็นทางเลือกใหม่
- ในส่วนของการดูนโยบายที่นำเสนอ ร้อยละ 80.4 เลือกนโยบายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ขณะที่
ร้อยละ 19.6 เลือกนโยบายที่เห็นผลในระยะสั้น
- ในส่วนของการดูที่ตัวผู้สมัคร ร้อยละ 80.8 เลือกผู้สมัครหน้าเก่าที่มีผลงานเป็นที่รู้จัก
ขณะที่ ร้อยละ 19.2 เลือกผู้สมัครหน้าใหม่
- ในส่วนของการดูที่หัวคะแนน ร้อยละ 53.2 เลือกหัวคะแนนที่เป็นคนดีน่าเชื่อถือ ขณะที่ร้อยละ 46.8 เลือกหัวคะแนนที่เป็นคนรู้จักคุ้นเคย
3. สำหรับสถานการณ์การซื้อเสียงในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งนั้น ร้อยละ 17.2 ระบุว่าได้มีการติดต่อทาบทามเพื่อซื้อเสียงของบุคคลในพื้นที่แล้ว โดยอยู่ในรูปของการซื้อเสียงผ่านแกนนำชาวบ้านและผู้นำชุมชนมากที่สุด คือ (ร้อยละ 59.5) รองลงมาเป็นการซื้อเสียงจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเป็นรายบุคคล (ร้อยละ 28.8) และซื้อเสียงจากข้าราชการที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 11.8) ในขณะที่ ร้อยละ 82.8 ระบุว่าไม่มีการติดต่อทาบทามเพื่อซื้อเสียง
ในส่วนของกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขตนั้น พบว่าได้มีการติดต่อทาบทามเพื่อซื้อเสียงแล้ว
ร้อยละ 16.1 โดยเขตที่มีการติดต่อซื้อเสียงมากที่สุดได้แก่ เขตตลิ่งชัน (ร้อยละ 66.7) รองลงมาได้แก่
เขตปทุมวัน (ร้อยละ 41.7) และเขตสายไหม (ร้อยละ 39.1) ตามลำดับ
4. เมื่อถามว่าวิธีการซื้อเสียงเพื่อให้ได้รับเลือกตั้งยังใช้ได้ผลอยู่หรือไม่ในปัจจุบัน ร้อยละ 55.1 คิดว่าไม่ได้ผล
(โดยร้อยละ 16.6 คิดว่าไม่ได้ผลเลย และร้อยละ 38.5 คิดว่าไม่ค่อยได้ผล) ขณะที่ ร้อยละ 44.9 คิดว่าได้ผล
(โดยร้อยละ 13.1 คิดว่าได้ผลมาก และร้อยละ 31.8 คิดว่าค่อนข้างได้ผล)
ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ร้อยละ 62.3 เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการใช้เงินซื้อเสียงน้อยกว่าการเลือกตั้ง
ทั่วประเทศครั้งก่อนเมื่อ 4 ปีที่แล้ว โดยให้เหตุผลว่า ในปัจจุบันการใช้เงินซื้อเสียงไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากประชาชนรับเงินแล้วไม่เลือก (ร้อยละ 40.1) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เข้มงวดมากขึ้น (ร้อยละ 34.7) และพรรคการเมืองใช้วิธีการอื่นที่แนบเนียนกว่าการใช้เงินซื้อเสียง (ร้อยละ 22.0)
ในขณะที่ ร้อยละ 37.7 เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการใช้เงินซื้อเสียงมากกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อน เนื่องจาก การเลือกตั้งครั้งนี้มีการแข่งขันรุนแรงกว่าครั้งก่อน (ร้อยละ 54.4) มีการย้ายพรรคของผู้สมัครจำนวนมาก (ร้อยละ 22.8) และผู้สมัครมีเวลาในการหาเสียงน้อย (ร้อยละ 21.0)
5. ส่วนประเด็นเรื่องการวางตัวเป็นกลางของข้าราชการในพื้นที่ ร้อยละ 46.3 ระบุว่าข้าราชการในพื้นที่วางตัวเป็นกลาง ในขณะที่ ร้อยละ 20.6 ระบุว่าข้าราชการในพื้นที่วางตัวไม่เป็นกลาง และร้อยละ 33.1 ไม่แสดงความเห็น
สำหรับกลุ่มที่ระบุว่าข้าราชการในพื้นที่วางตัวไม่เป็นกลาง ให้รายละเอียดว่าข้าราชการที่วางตัวไม่เป็นกลางมากที่สุด ได้แก่ ตำรวจ (ร้อยละ 42.1) รองลงมาได้แก่ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน (ร้อยละ 32.5) ข้าราชการฝ่ายปกครอง
(ร้อยละ 19.7) ทหาร (ร้อยละ 1.7) และ ครู (ร้อยละ 1.1) ตามลำดับ
6. สำหรับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่จนถึงขณะนี้ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นั้น ร้อยละ 61.4 เห็นว่า กกต.ปฏิบัติหน้าที่ได้น่าพอใจ ขณะที่ร้อยละ 37.2 เห็นว่าไม่น่าพอใจ และร้อยละ 1.4 ไม่แสดงความเห็น
สำหรับกลุ่มที่เห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ไม่น่าพอใจนั้น ให้เหตุผลว่า กกต. ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ล่าช้าเกินไป (ร้อยละ 27.8) เข้าข้างพรรครัฐบาล (ร้อยละ 24.1) กำหนดกฎเกณฑ์ข้อห้ามในการเลือกตั้งไม่ชัดเจน
(ร้อยละ20.9) กกต.แต่ละคนออกมาพูดไม่ตรงกันทำให้สับสน (ร้อยละ 16.5) กกต.ไม่ควรห้ามเผยแพร่ผลสำรวจโพลล์เลือกตั้ง (ร้อยละ 8.4) และ กกต.ขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการเลือกตั้งให้ประชาชนทราบอย่างเพียงพอ
(ร้อยละ 2.3)
7. ส่วนความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ในการดูแลการเลือกตั้งครั้งนี้ให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรม พบว่า ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งถึงร้อยละ 41.1 ไม่มั่นใจว่า กกต.จะปฏิบัติหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งครั้งนี้ให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรมได้ (โดยไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 7.9 และไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 33.2) ในขณะที่อีกร้อยละ 58.9 ยังคงมีความมั่นใจ (โดยมั่นใจมากร้อยละ 16.1 และค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 42.8)
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 2399 45.9
หญิง 2823 54.1
อายุ :
18-25 ปี 1490 28.5
26-35 ปี 1438 27.6
36-45 ปี 1328 25.4
46 ปีขึ้นไป 944 18.1
ไม่ระบุ 22 0.4
การศึกษา :
ประถมศึกษา 796 15.2
มัธยมศึกษา/ปวช. 1296 24.8
ปวส. / อนุปริญญา 1052 20.1
ปริญญาตรี 1740 33.4
สูงกว่าปริญญาตรี 232 4.4
ไม่ระบุ 106 2.1
อาชีพ :
ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 1034 19.8
รับจ้างทั่วไป 692 13.2
พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 1096 21.0
ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 680 13.0
นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา 928 17.8
พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 396 7.6
ว่างงาน 192 3.7
อื่น ๆ 204 3.9
ตารางที่ 2: ท่านจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้ หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ไป 4524 86.6
ไม่ไป 200 3.8
ไม่แน่ใจ 498 9.6
ตารางที่ 3: เกณฑ์ในการเลือกผู้สมัครสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ ท่านพิจารณาจากสิ่งใดเป็นสำคัญ
จำนวน ร้อยละ
ดูพรรคที่สังกัด 1894 36.3
ดูนโยบายที่นำเสนอ 1620 31.0
ดูที่ตัวผู้สมัคร 1594 30.5
ดูที่หัวคะแนน 114 2.2
-ดูที่ตัวผู้สมัคร โดย
จำนวน ร้อยละ
เลือกผู้สมัครหน้าเก่าที่เคยมีผลงานเป็นที่รู้จัก 1290 80.8
เลือกผู้สมัครหน้าใหม่ 306 19.2
-ดูพรรคที่สังกัด
จำนวน ร้อยละ
เลือกพรรคที่สมาชิกมีคุณภาพ 1196 62.8
เลือกพรรคที่คาดว่าน่าจะได้เป็นรัฐบาล 496 26.1
เลือกพรรคที่เป็นทางเลือกใหม่ 212 11.1
-ดูนโยบายที่นำเสนอ
จำนวน ร้อยละ
เลือกนโยบายที่จะเห็นผลในระยะสั้น 316 19.6
เลือกนโยบายที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนในระยะยาว 1298 80.4
-ดูที่หัวคะแนน
จำนวน ร้อยละ
เลือกหัวคะแนนที่เป็นคนรู้จักคุ้นเคย 58 46.8
เลือกหัวคะแนนที่เป็นคนดีน่าเชื่อถือ 66 53.2
ตารางที่ 4: ในช่วงระยะที่ผ่านมามีการติดต่อทาบทามเพื่อซื้อเสียงของท่านหรือคนรู้จักบ้างหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มี 896 17.2
ในรูปแบบ :
ซื้อเสียงผ่านแกนนำชาวบ้านและผู้นำชุมชน 59.5
ซื้อเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นรายบุคคล 28.8
ซื้อเสียงจากข้าราชการที่เกี่ยวข้อง 11.8
ไม่มี 4326 82.8
-การติดต่อทาบทามเพื่อซื้อเสียงในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานคร
เขต มี ไม่มี
1 คลองเตย 11.1 88.9
2 คลองสาน 12.5 87.5
3 คลองสามวา 17.6 82.4
4 คันนายาว 18.2 81.8
5 จตุจักร 4.3 95.7
6 จอมทอง 4.2 95.8
7 ดอนเมือง 4.3 95.7
8 ดินแดง 27.3 72.7
9 ดุสิต 28.6 71.4
10 ตลิ่งชัน 66.7 33.3
11 ทวีวัฒนา 29.2 70.8
12 ทุ่งครุ 15.0 85.0
13 ธนบุรี 16.7 83.3
14 บางกอกน้อย 12.5 87.5
15 บางกอกใหญ่ 4.2 95.8
16 บางกะปิ 4.3 95.7
17 บางขุนเทียน 9.5 90.5
18 บางเขน -- 100
19 บางคอแหลม 4.2 95.8
20 บางแค 14.3 85.7
21 บางซื่อ 19.0 81.0
22 บางนา -- 100
23 บางบอน 13.0 87.0
24 บางพลัด 37.5 62.5
25 บางรัก 33.3 66.7
26 บึงกุ่ม 25.0 75.0
27 ปทุมวัน 41.7 58.3
28 ประเวศ 9.1 90.9
29 ป้อมปราบ -- 100
30 พญาไท 9.5 90.5
31 พระโขนง 21.7 78.3
32 พระนคร 25.0 75.0
33 ภาษีเจริญ 29.2 70.8
34 มีนบุรี 36.4 63.6
35 ยานนาวา 13.6 86.4
36 ราชเทวี 20.8 79.2
37 ราษฎร์บูรณะ 8.3 91.7
38 ลาดกระบัง -- 100
39 ลาดพร้าว 13.0 87.0
40 วังทองหลาง 8.3 91.7
41 วัฒนา 13.0 87.0
42 สวนหลวง -- 100
43 สะพานสูง 25.0 75.0
44 สัมพันธวงศ์ 8.7 91.3
45 สาทร 25.0 75.0
46 สายไหม 39.1 60.9
47 หนองแขม 20.8 79.2
48 หนองจอก -- 100
49 หลักสี่ 4.8 95.2
50 ห้วยขวาง 15.8 84.2
ตารางที่ 5: ท่านคิดว่าวิธีซื้อเสียงเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้งยังใช้ได้ผลอยู่หรือไม่ในปัจจุบัน
จำนวน ร้อยละ
ได้ผลมาก 684 13.1
ค่อนข้างได้ผล 1662 31.8
ไม่ค่อยได้ผล 2010 38.5
ไม่ได้ผลเลย 866 16.6
ตารางที่ 6: ท่านคิดว่าในภาพรวมการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการใช้เงินซื้อเสียงมากกว่าหรือน้อยกว่าการเลือกตั้งครั้ง
ก่อนเมื่อ 4 ปีที่แล้ว
จำนวน ร้อยละ
มากกว่า 1968 37.7
น้อยกว่า 3254 62.3
-เหตุผลที่คิดว่าจะมีการใช้เงินซื้อเสียงมากกว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เพราะ
จำนวน ร้อยละ
การแข่งขันรุนแรงกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อน 1216 54.4
มีการย้ายพรรคของผู้สมัครจำนวนมาก 510 22.8
ผู้สมัครมีเวลาในการหาเสียงน้อย 470 21.0
อื่น ๆ 40 1.8
-เหตุผลที่คิดว่าจะมีการใช้เงินซื้อเสียงน้อยกว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เพราะ
จำนวน ร้อยละ
การใช้เงินซื้อเสียงไม่ได้ผลเพราะประชาชนรับเงินแล้วไม่เลือก 1430 40.1
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เข้มงวดมากขึ้น 1236 34.7
พรรคการเมืองใช้วิธีการแนบเนียนกว่าใช้เงินซื้อเสียง 784 22.0
อื่น ๆ 112 3.1
ตารางที่ 7: ข้าราชการในพื้นที่ของท่านวางตัวเป็นกลางหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
วางตัวเป็นกลาง 2418 46.3
วางตัวไม่เป็นกลาง 1076 20.6
ไม่แสดงความเห็น 1730 33.1
-ข้าราชการที่วางตัวไม่เป็นกลางมากที่สุด ได้แก่
จำนวน ร้อยละ
ตำรวจ 458 42.1
กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน 354 32.5
ข้าราชการฝ่ายปกครอง 214 19.7
ทหาร 18 1.7
ครู 12 1.1
อื่น ๆ 32 2.9
ตารางที่ 8: ท่านคิดว่าจนถึงขณะนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ปฏิบัติหน้าที่ได้น่าพอใจหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
น่าพอใจ 3208 61.4
ไม่น่าพอใจ 1940 37.2
ไม่แสดงความเห็น 74 1.4
-เหตุผลที่ไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. เนื่องจาก
จำนวน ร้อยละ
กกต. ตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ล่าช้าเกินไป 930 27.8
เข้าข้างพรรครัฐบาล 804 24.1
กำหนดกฎเกณฑ์ข้อห้ามในการเลือกตั้งไม่ชัดเจน 698 20.9
กกต. แต่ละคนออกมาพูดไม่ตรงกันทำให้สับสน 550 16.5
กกต. ไม่ควรห้ามเผยแพร่ผลสำรวจโพลล์เลือกตั้ง 280 8.4
กกต.ขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการเลือกตั้งแก่ประชาชนอย่างเพียงพอ 39 2.3
ตารางที่ 9: ท่านมีความมั่นใจเพียงใดว่า กกต. จะปฏิบัติหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
บริสุทธิ์ยุติธรรม
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจมาก 840 16.1
ค่อนข้างมั่นใจ 2236 42.8
ไม่ค่อยมั่นใจ 1736 33.2
ไม่มั่นใจเลย 412 7.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในประเด็นต่อไปนี้
- การออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้
- เกณฑ์การพิจารณาเลือกผู้สมัคร
- สถานการณ์การซื้อเสียงในแต่ละพื้นที่และรูปแบบของการซื้อเสียง
- การวางตัวเป็นกลางของข้าราชการในพื้นที่
- ความพึงพอใจที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
- ความมั่นใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในการดูแลการเลือกตั้งครั้งนี้ให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรม
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรใน 31 จังหวัดจากทุกภาคของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี อยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี อ่างทอง ภูเก็ต ตรัง พังงา กระบี่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ขอนแก่น อุดรธานี ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี มหาสารคาม กาฬสินธุ์ สกลนคร นครราชสีมา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ประจวบคีรีขันธ์ และชลบุรี ได้ตัวอย่างจำนวน 5,222 คน เป็นชายร้อยละ 45.9 หญิงร้อยละ 54.1
กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 28.5 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี
ร้อยละ 27.6 อายุระหว่าง 26-35 ปี
ร้อยละ 25.4 อายุระหว่าง 36-45 ปี
ร้อยละ 18.1 อายุ 46 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 0.4 ไม่ระบุอายุ
กลุ่มตัวอย่างมีระดับการศึกษา ดังนี้ ร้อยละ 15.2 ประถมศึกษา
ร้อยละ 24.8 มัธยมศึกษา/ปวช.
ร้อยละ 20.1 ปวส./อนุปริญญา
ร้อยละ 4.4 สูงกว่าปริญญาตรี
และร้อยละ 2.1 ไม่ระบุระดับการศึกษา
อาชีพของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 19.8 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 13.2 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 21.0 พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
ร้อยละ 13.0 ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 17.8 นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา
ร้อยละ 7.6 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.7 ว่างงาน และอื่น ๆ อีกร้อยละ 3.9
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ในเรื่อง “สถานการณ์การซื้อเสียงในการเลือกตั้งปี 48”
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 20-23 มกราคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 27 มกราคม 2548
ผลการสำรวจ
1. เมื่อสอบถามถึงการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ร้อยละ 86.6 ระบุว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 3.8 จะไม่ไปใช้สิทธิ์ และร้อยละ 9.6 ไม่แน่ใจ
2. สำหรับเกณฑ์การตัดสินใจเลือกผู้สมัครในการเลือกตั้งครั้งนี้ อันดับแรก คือร้อยละ 36.3 ดูพรรคที่สังกัด
รองลงมา ร้อยละ 31.0 ดูนโยบายที่นำเสนอ ร้อยละ 30.5 ดูตัวผู้สมัคร และร้อยละ 2.2 ดูที่หัวคะแนน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ในส่วนของการดูพรรคที่สังกัด ร้อยละ 62.8 เลือกพรรคที่สมาชิกมีคุณภาพ รองลงมาร้อยละ 26.1 เลือกพรรคที่คาดว่าน่าจะได้เป็นรัฐบาล ร้อยละ 11.1 เลือกพรรคที่เป็นทางเลือกใหม่
- ในส่วนของการดูนโยบายที่นำเสนอ ร้อยละ 80.4 เลือกนโยบายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ขณะที่
ร้อยละ 19.6 เลือกนโยบายที่เห็นผลในระยะสั้น
- ในส่วนของการดูที่ตัวผู้สมัคร ร้อยละ 80.8 เลือกผู้สมัครหน้าเก่าที่มีผลงานเป็นที่รู้จัก
ขณะที่ ร้อยละ 19.2 เลือกผู้สมัครหน้าใหม่
- ในส่วนของการดูที่หัวคะแนน ร้อยละ 53.2 เลือกหัวคะแนนที่เป็นคนดีน่าเชื่อถือ ขณะที่ร้อยละ 46.8 เลือกหัวคะแนนที่เป็นคนรู้จักคุ้นเคย
3. สำหรับสถานการณ์การซื้อเสียงในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งนั้น ร้อยละ 17.2 ระบุว่าได้มีการติดต่อทาบทามเพื่อซื้อเสียงของบุคคลในพื้นที่แล้ว โดยอยู่ในรูปของการซื้อเสียงผ่านแกนนำชาวบ้านและผู้นำชุมชนมากที่สุด คือ (ร้อยละ 59.5) รองลงมาเป็นการซื้อเสียงจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเป็นรายบุคคล (ร้อยละ 28.8) และซื้อเสียงจากข้าราชการที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 11.8) ในขณะที่ ร้อยละ 82.8 ระบุว่าไม่มีการติดต่อทาบทามเพื่อซื้อเสียง
ในส่วนของกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขตนั้น พบว่าได้มีการติดต่อทาบทามเพื่อซื้อเสียงแล้ว
ร้อยละ 16.1 โดยเขตที่มีการติดต่อซื้อเสียงมากที่สุดได้แก่ เขตตลิ่งชัน (ร้อยละ 66.7) รองลงมาได้แก่
เขตปทุมวัน (ร้อยละ 41.7) และเขตสายไหม (ร้อยละ 39.1) ตามลำดับ
4. เมื่อถามว่าวิธีการซื้อเสียงเพื่อให้ได้รับเลือกตั้งยังใช้ได้ผลอยู่หรือไม่ในปัจจุบัน ร้อยละ 55.1 คิดว่าไม่ได้ผล
(โดยร้อยละ 16.6 คิดว่าไม่ได้ผลเลย และร้อยละ 38.5 คิดว่าไม่ค่อยได้ผล) ขณะที่ ร้อยละ 44.9 คิดว่าได้ผล
(โดยร้อยละ 13.1 คิดว่าได้ผลมาก และร้อยละ 31.8 คิดว่าค่อนข้างได้ผล)
ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ร้อยละ 62.3 เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการใช้เงินซื้อเสียงน้อยกว่าการเลือกตั้ง
ทั่วประเทศครั้งก่อนเมื่อ 4 ปีที่แล้ว โดยให้เหตุผลว่า ในปัจจุบันการใช้เงินซื้อเสียงไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากประชาชนรับเงินแล้วไม่เลือก (ร้อยละ 40.1) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เข้มงวดมากขึ้น (ร้อยละ 34.7) และพรรคการเมืองใช้วิธีการอื่นที่แนบเนียนกว่าการใช้เงินซื้อเสียง (ร้อยละ 22.0)
ในขณะที่ ร้อยละ 37.7 เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการใช้เงินซื้อเสียงมากกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อน เนื่องจาก การเลือกตั้งครั้งนี้มีการแข่งขันรุนแรงกว่าครั้งก่อน (ร้อยละ 54.4) มีการย้ายพรรคของผู้สมัครจำนวนมาก (ร้อยละ 22.8) และผู้สมัครมีเวลาในการหาเสียงน้อย (ร้อยละ 21.0)
5. ส่วนประเด็นเรื่องการวางตัวเป็นกลางของข้าราชการในพื้นที่ ร้อยละ 46.3 ระบุว่าข้าราชการในพื้นที่วางตัวเป็นกลาง ในขณะที่ ร้อยละ 20.6 ระบุว่าข้าราชการในพื้นที่วางตัวไม่เป็นกลาง และร้อยละ 33.1 ไม่แสดงความเห็น
สำหรับกลุ่มที่ระบุว่าข้าราชการในพื้นที่วางตัวไม่เป็นกลาง ให้รายละเอียดว่าข้าราชการที่วางตัวไม่เป็นกลางมากที่สุด ได้แก่ ตำรวจ (ร้อยละ 42.1) รองลงมาได้แก่ กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน (ร้อยละ 32.5) ข้าราชการฝ่ายปกครอง
(ร้อยละ 19.7) ทหาร (ร้อยละ 1.7) และ ครู (ร้อยละ 1.1) ตามลำดับ
6. สำหรับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่จนถึงขณะนี้ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นั้น ร้อยละ 61.4 เห็นว่า กกต.ปฏิบัติหน้าที่ได้น่าพอใจ ขณะที่ร้อยละ 37.2 เห็นว่าไม่น่าพอใจ และร้อยละ 1.4 ไม่แสดงความเห็น
สำหรับกลุ่มที่เห็นว่าการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ไม่น่าพอใจนั้น ให้เหตุผลว่า กกต. ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ล่าช้าเกินไป (ร้อยละ 27.8) เข้าข้างพรรครัฐบาล (ร้อยละ 24.1) กำหนดกฎเกณฑ์ข้อห้ามในการเลือกตั้งไม่ชัดเจน
(ร้อยละ20.9) กกต.แต่ละคนออกมาพูดไม่ตรงกันทำให้สับสน (ร้อยละ 16.5) กกต.ไม่ควรห้ามเผยแพร่ผลสำรวจโพลล์เลือกตั้ง (ร้อยละ 8.4) และ กกต.ขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการเลือกตั้งให้ประชาชนทราบอย่างเพียงพอ
(ร้อยละ 2.3)
7. ส่วนความมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ในการดูแลการเลือกตั้งครั้งนี้ให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรม พบว่า ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งถึงร้อยละ 41.1 ไม่มั่นใจว่า กกต.จะปฏิบัติหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งครั้งนี้ให้มีประสิทธิภาพและบริสุทธิ์ยุติธรรมได้ (โดยไม่มั่นใจเลย ร้อยละ 7.9 และไม่ค่อยมั่นใจ ร้อยละ 33.2) ในขณะที่อีกร้อยละ 58.9 ยังคงมีความมั่นใจ (โดยมั่นใจมากร้อยละ 16.1 และค่อนข้างมั่นใจ ร้อยละ 42.8)
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 2399 45.9
หญิง 2823 54.1
อายุ :
18-25 ปี 1490 28.5
26-35 ปี 1438 27.6
36-45 ปี 1328 25.4
46 ปีขึ้นไป 944 18.1
ไม่ระบุ 22 0.4
การศึกษา :
ประถมศึกษา 796 15.2
มัธยมศึกษา/ปวช. 1296 24.8
ปวส. / อนุปริญญา 1052 20.1
ปริญญาตรี 1740 33.4
สูงกว่าปริญญาตรี 232 4.4
ไม่ระบุ 106 2.1
อาชีพ :
ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 1034 19.8
รับจ้างทั่วไป 692 13.2
พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน 1096 21.0
ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ 680 13.0
นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา 928 17.8
พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ 396 7.6
ว่างงาน 192 3.7
อื่น ๆ 204 3.9
ตารางที่ 2: ท่านจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้ หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ไป 4524 86.6
ไม่ไป 200 3.8
ไม่แน่ใจ 498 9.6
ตารางที่ 3: เกณฑ์ในการเลือกผู้สมัครสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ ท่านพิจารณาจากสิ่งใดเป็นสำคัญ
จำนวน ร้อยละ
ดูพรรคที่สังกัด 1894 36.3
ดูนโยบายที่นำเสนอ 1620 31.0
ดูที่ตัวผู้สมัคร 1594 30.5
ดูที่หัวคะแนน 114 2.2
-ดูที่ตัวผู้สมัคร โดย
จำนวน ร้อยละ
เลือกผู้สมัครหน้าเก่าที่เคยมีผลงานเป็นที่รู้จัก 1290 80.8
เลือกผู้สมัครหน้าใหม่ 306 19.2
-ดูพรรคที่สังกัด
จำนวน ร้อยละ
เลือกพรรคที่สมาชิกมีคุณภาพ 1196 62.8
เลือกพรรคที่คาดว่าน่าจะได้เป็นรัฐบาล 496 26.1
เลือกพรรคที่เป็นทางเลือกใหม่ 212 11.1
-ดูนโยบายที่นำเสนอ
จำนวน ร้อยละ
เลือกนโยบายที่จะเห็นผลในระยะสั้น 316 19.6
เลือกนโยบายที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนในระยะยาว 1298 80.4
-ดูที่หัวคะแนน
จำนวน ร้อยละ
เลือกหัวคะแนนที่เป็นคนรู้จักคุ้นเคย 58 46.8
เลือกหัวคะแนนที่เป็นคนดีน่าเชื่อถือ 66 53.2
ตารางที่ 4: ในช่วงระยะที่ผ่านมามีการติดต่อทาบทามเพื่อซื้อเสียงของท่านหรือคนรู้จักบ้างหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
มี 896 17.2
ในรูปแบบ :
ซื้อเสียงผ่านแกนนำชาวบ้านและผู้นำชุมชน 59.5
ซื้อเสียงจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นรายบุคคล 28.8
ซื้อเสียงจากข้าราชการที่เกี่ยวข้อง 11.8
ไม่มี 4326 82.8
-การติดต่อทาบทามเพื่อซื้อเสียงในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานคร
เขต มี ไม่มี
1 คลองเตย 11.1 88.9
2 คลองสาน 12.5 87.5
3 คลองสามวา 17.6 82.4
4 คันนายาว 18.2 81.8
5 จตุจักร 4.3 95.7
6 จอมทอง 4.2 95.8
7 ดอนเมือง 4.3 95.7
8 ดินแดง 27.3 72.7
9 ดุสิต 28.6 71.4
10 ตลิ่งชัน 66.7 33.3
11 ทวีวัฒนา 29.2 70.8
12 ทุ่งครุ 15.0 85.0
13 ธนบุรี 16.7 83.3
14 บางกอกน้อย 12.5 87.5
15 บางกอกใหญ่ 4.2 95.8
16 บางกะปิ 4.3 95.7
17 บางขุนเทียน 9.5 90.5
18 บางเขน -- 100
19 บางคอแหลม 4.2 95.8
20 บางแค 14.3 85.7
21 บางซื่อ 19.0 81.0
22 บางนา -- 100
23 บางบอน 13.0 87.0
24 บางพลัด 37.5 62.5
25 บางรัก 33.3 66.7
26 บึงกุ่ม 25.0 75.0
27 ปทุมวัน 41.7 58.3
28 ประเวศ 9.1 90.9
29 ป้อมปราบ -- 100
30 พญาไท 9.5 90.5
31 พระโขนง 21.7 78.3
32 พระนคร 25.0 75.0
33 ภาษีเจริญ 29.2 70.8
34 มีนบุรี 36.4 63.6
35 ยานนาวา 13.6 86.4
36 ราชเทวี 20.8 79.2
37 ราษฎร์บูรณะ 8.3 91.7
38 ลาดกระบัง -- 100
39 ลาดพร้าว 13.0 87.0
40 วังทองหลาง 8.3 91.7
41 วัฒนา 13.0 87.0
42 สวนหลวง -- 100
43 สะพานสูง 25.0 75.0
44 สัมพันธวงศ์ 8.7 91.3
45 สาทร 25.0 75.0
46 สายไหม 39.1 60.9
47 หนองแขม 20.8 79.2
48 หนองจอก -- 100
49 หลักสี่ 4.8 95.2
50 ห้วยขวาง 15.8 84.2
ตารางที่ 5: ท่านคิดว่าวิธีซื้อเสียงเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้งยังใช้ได้ผลอยู่หรือไม่ในปัจจุบัน
จำนวน ร้อยละ
ได้ผลมาก 684 13.1
ค่อนข้างได้ผล 1662 31.8
ไม่ค่อยได้ผล 2010 38.5
ไม่ได้ผลเลย 866 16.6
ตารางที่ 6: ท่านคิดว่าในภาพรวมการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการใช้เงินซื้อเสียงมากกว่าหรือน้อยกว่าการเลือกตั้งครั้ง
ก่อนเมื่อ 4 ปีที่แล้ว
จำนวน ร้อยละ
มากกว่า 1968 37.7
น้อยกว่า 3254 62.3
-เหตุผลที่คิดว่าจะมีการใช้เงินซื้อเสียงมากกว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เพราะ
จำนวน ร้อยละ
การแข่งขันรุนแรงกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อน 1216 54.4
มีการย้ายพรรคของผู้สมัครจำนวนมาก 510 22.8
ผู้สมัครมีเวลาในการหาเสียงน้อย 470 21.0
อื่น ๆ 40 1.8
-เหตุผลที่คิดว่าจะมีการใช้เงินซื้อเสียงน้อยกว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เพราะ
จำนวน ร้อยละ
การใช้เงินซื้อเสียงไม่ได้ผลเพราะประชาชนรับเงินแล้วไม่เลือก 1430 40.1
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เข้มงวดมากขึ้น 1236 34.7
พรรคการเมืองใช้วิธีการแนบเนียนกว่าใช้เงินซื้อเสียง 784 22.0
อื่น ๆ 112 3.1
ตารางที่ 7: ข้าราชการในพื้นที่ของท่านวางตัวเป็นกลางหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
วางตัวเป็นกลาง 2418 46.3
วางตัวไม่เป็นกลาง 1076 20.6
ไม่แสดงความเห็น 1730 33.1
-ข้าราชการที่วางตัวไม่เป็นกลางมากที่สุด ได้แก่
จำนวน ร้อยละ
ตำรวจ 458 42.1
กำนัน / ผู้ใหญ่บ้าน 354 32.5
ข้าราชการฝ่ายปกครอง 214 19.7
ทหาร 18 1.7
ครู 12 1.1
อื่น ๆ 32 2.9
ตารางที่ 8: ท่านคิดว่าจนถึงขณะนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ปฏิบัติหน้าที่ได้น่าพอใจหรือไม่
จำนวน ร้อยละ
น่าพอใจ 3208 61.4
ไม่น่าพอใจ 1940 37.2
ไม่แสดงความเห็น 74 1.4
-เหตุผลที่ไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. เนื่องจาก
จำนวน ร้อยละ
กกต. ตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ล่าช้าเกินไป 930 27.8
เข้าข้างพรรครัฐบาล 804 24.1
กำหนดกฎเกณฑ์ข้อห้ามในการเลือกตั้งไม่ชัดเจน 698 20.9
กกต. แต่ละคนออกมาพูดไม่ตรงกันทำให้สับสน 550 16.5
กกต. ไม่ควรห้ามเผยแพร่ผลสำรวจโพลล์เลือกตั้ง 280 8.4
กกต.ขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการเลือกตั้งแก่ประชาชนอย่างเพียงพอ 39 2.3
ตารางที่ 9: ท่านมีความมั่นใจเพียงใดว่า กกต. จะปฏิบัติหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งครั้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
บริสุทธิ์ยุติธรรม
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจมาก 840 16.1
ค่อนข้างมั่นใจ 2236 42.8
ไม่ค่อยมั่นใจ 1736 33.2
ไม่มั่นใจเลย 412 7.9
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-