คนไทยได้รับความสุข 6.48 จาก 10 คะแนนหลังจากรัฐบาล คสช. เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งจัดได้ว่ามีความสุขอยู่ในระดับปานกลาง
โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 62.9 ระบุว่าความสุขที่รัฐบาล คสช. คืนให้ประชาชนคือ การดูแลบ้านเมืองให้สงบสุขไม่วุ่นวาย ไม่มีการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงอย่างไรก็ตามร้อยละ 47.5 กังวลว่ารัฐบาลคสช.ไม่สามารถคืนความสุขให้ได้ คือ เรื่องการอยู่ดีกินดีของประชาชน
เมื่อถามถึงระยะเวลาในการคืนความสุขให้ประชาชน ร้อยละ 48.2 เห็นว่า“ถ้าเร็วกว่านี้ก็จะดี” และอยากให้ ควรจัดการเรื่องปราบปรามคอร์รัปชั่น ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน เลือกตั้งปี 2562
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความสุข...ความทุกข์คนไทยภายใต้รัฐบาล คสช.” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาค ทั่วประเทศจำนวน 1,212 คน พบว่า
ระดับความสุขที่คนไทยได้รับหลังจากที่รัฐบาล คสช. เข้ามาบริหารประเทศมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.48 คะแนน จากเต็ม 10 คะแนน ซึ่งมีความสุขอยู่ในระดับปานกลาง
โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 62.9 ระบุว่าความสุขที่รัฐบาลคสช. คืนให้ประชาชนคือการดูแลบ้านเมืองให้สงบสุขไม่วุ่นวายไม่มีการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงรองลงมาร้อยละ 41.3 คือ การช่วย เหลือผู้มีรายได้น้อยผ่าน“โครงการประชารัฐ” และร้อยละ 36.8 คือ การติดต่อสถานที่ราชการสะดวกรวดเร็วขึ้น
ส่วนเรื่องที่กังวลว่ารัฐบาลคสช. จะไม่สามารถคืนความสุขให้ได้ นั้น ร้อยละ 47.5 ระบุว่า เรื่องการอยู่ดีกินดีของประชาชนรองลงมาร้อยละ 37.3 ระบุว่าเรื่องการควบคุมราคา น้ำมัน/ก๊าซหุงต้ม และร้อยละ 37.1 ระบุว่าเรื่องการจัดให้มีการเลือกตั้ง
เมื่อถามถึงระยะเวลาในการบริหารงานเพื่อคืนความสุขให้ประชาชนของรัฐบาลคสช. ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 48.2 มีความเห็นว่า ถ้าเร็วกว่านี้ก็จะดี รองลงมาร้อยละ 35.6 มีความเห็นว่าไม่ต้องรีบค่อยเป็นค่อยไปเรื่อยๆ และร้อยละ 16.2 มีความเห็นว่า ระยะเวลาเหมาะสมดีแล้ว
สำหรับเรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาล คสช.ทำให้เสร็จก่อนเลือกตั้งและได้รัฐบาลชุดใหม่ในปี 2562 นั้น ร้อยละ 26.5 คือ การปราบปรามคอร์รัปชั่นของนักการเมืองและ ข้าราชการ รองลงมาร้อยละ 22.7 คือการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของแพงค่าครองชีพสูง และร้อยละ 11.5 คือ ช่วยทำให้สินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ระดับความสุขที่ได้รับหลังจากมีรัฐบาล คสช. เข้ามาบริหารประเทศ
มีค่าเฉลี่ย 6.48 คะแนน จากเต็ม 10 คะแนน ซึ่งแปลผลได้ว่า “อยู่ในระดับปานกลาง”
บ้านเมืองสงบสุขไม่วุ่นวาย ไม่มีการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรง ร้อยละ 62.9 การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่าน“โครงการประชารัฐ” ร้อยละ 41.3 การติดต่อสถานที่ราชการสะดวกรวดเร็วขึ้น ร้อยละ 36.8 ปราบปรามผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น ร้อยละ 34.8 ชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมดีขึ้นรู้สึกปลอดภัยไม่หวาดระแวง ร้อยละ 32.8 3.เรื่องที่กังวลว่ารัฐบาล คสช. จะไม่สามารถคืนความสุขให้กับประชาชนได้ 5 อันดับแรก การอยู่ดีกินดีของประชาชน ร้อยละ 47.5 การควบคุมราคาน้ำมัน/ก๊าซหุงต้ม ร้อยละ 37.3 การจัดให้มีการเลือกตั้ง ร้อยละ 37.1 การแก้ปัญญาทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมือง ร้อยละ 37.0 ลอตเตอรี่ที่ขายเกินราคา ร้อยละ 30.1 4.ความเห็นต่อระยะเวลา ในการบริหารงานเพื่อคืนความสุขให้ประชาชนของรัฐบาล คสช. ระยะเวลาเหมาะสมดีแล้ว ร้อยละ 16.2 ถ้าเร็วกว่านี้ก็จะดี ร้อยละ 48.2 ไม่รีบค่อยเป็นค่อยไปเรื่อยๆ ร้อยละ 35.6 5. เรื่องที่ต้องการให้รัฐบาล คสช.ทำให้เสร็จก่อนเลือกตั้งและได้รัฐบาลชุดใหม่ในปี 2562 มากที่สุด 5อันดับแรก (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) การปราบปรามคอร์รัปชั่นของนักการเมืองและข้าราชการ ร้อยละ 26.5 การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ของแพง ค่าครองชีพสูง ร้อยละ 22.7 ช่วยทำให้สินค้าเกษตรมีราคาสูงขึ้น ร้อยละ 11.5 จัดทำกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้รัดกุม บทลงโทษเด็ดขาด ร้อยละ 6.1 ไม่ให้มีการทุจริต การปราบปรามยาเสพติดในท้องถิ่น ร้อยละ 4.2
รายละเอียดการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับความสุขที่ประชาชนได้รับจากการคืนความสุขให้ประชาชนภายใต้รัฐบาล คสช. และความกังวลว่ารัฐบาลจะไม่สามารถคืนความสุขให้ได้ ตลอดจนความเห็นต่อระยะเวลาในการบริหารประเทศเพื่อคืนความสุขให้ประชาชนและเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลทำให้เสร็จก่อนการจัดให้มีการเลือกตั้งและได้รัฐบาลชุดใหม่เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็น ของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 30 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2561
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 3 กุมภาพันธ์ 2561
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--