ประชาชนส่วนใหญ่ 73.9% จะติดตามข้อมูลการเลือกตั้ง การหาเสียง ของ กกต. และพรรคการเมืองผ่านสื่อโซเชียล 67.8% เชื่อพลังสื่อโซเชียลจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกระแส ทำให้คนอยากออกมาเลือกตั้ง 73.3% มองพลังสื่อโซเชียลทำให้รับรู้สถานการณ์การเมืองมากขึ้นช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “พลังสื่อโซเชียลกับการเมืองไทยยุค 4.0” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจาก ทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,192 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 67.8 เห็นว่าการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ พลังสื่อโซเชียล (IG, facebook ,twitter) จะช่วยกระตุ้นให้เกิดกระแส ทำให้ คนอยากออกมาเลือกตั้ง รองลงมาร้อยละ 58.4 จะช่วยติดตามกิจกรรมการรณรงค์การเลือกตั้ง และร้อยละ 53.6 จะช่วยสร้างช่องทางให้พรรคการเมืองนำเสนอนโยบายของพรรค
เมื่อถามว่าพลังสื่อโซเชียลมีผลอย่างไรต่อประชาชนในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.3 เห็นว่าทำให้รับรู้สถานการณ์การเมืองมากขึ้น รองลงมา ร้อยละ 65.9 ทำให้การเมืองเข้าถึงประชาชนในวงกว้าง และร้อยละ 52.1 ทำให้มีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นทั้งเป็นผู้รับและผู้ส่งสาร
สุดท้ายเมื่อถามว่าจะติดตามหรือไม่หากพรรคการเมืองหรือ กกต. มีการใช้สื่อโซเชียลประชาสัมพันธ์ข้อมูลการเลือกตั้งหรือ การหาเสียง ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.9 จะติดตาม ขณะที่ ร้อยละ 16.8 จะไม่ติดตาม ที่เหลือร้อยละ 9.3 ยังไม่แน่ใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ช่วยกระตุ้นให้เกิดกระแส ทำให้คนอยากออกมาเลือกตั้ง ร้อยละ 67.8 ช่วยติดตามกิจกรรมการรณรงค์การเลือกตั้ง ร้อยละ 58.4 ช่วยสร้างช่องทางให้พรรคการเมืองนำเสนอนโยบายของพรรค ร้อยละ 53.6 ช่วยเป็นเวทีให้นักการเมืองมาหาเสียง เช่นไลฟ์สด หรือการดีเบต ร้อยละ 49.1 ช่วยตรวจสอบการซื้อสิทธิ์ขายเสียง/หาเสียงแบบมิชอบ ร้อยละ 42.7 2. ข้อคำถาม “ท่านคิดว่าพลังสื่อโซเชียลมีผลอย่างไรต่อประชาชนในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย” (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ทำให้รับรู้สถานการณ์การเมืองมากขึ้น ร้อยละ 73.3 ทำให้การเมืองเข้าถึงประชาชนในวงกว้าง ร้อยละ 65.9 ทำให้มีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นทั้งเป็นผู้รับและผู้ส่งสาร ร้อยละ 52.1 เป็นช่องทางการโจมตีการบิดเบือนข้อมูล ร้อยละ 39.1 ทำให้เกิดความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ร้อยละ 37.7 3. ข้อคำถาม “ท่านจะติดตามหรือไม่ หากพรรคการเมืองหรือ กกต. มีการใช้สื่อโซเชียลประชาสัมพันธ์ข้อมูลการเลือกตั้งหรือ การหาเสียง” ติดตาม ร้อยละ 73.9 ไม่ติดตาม ร้อยละ 16.8 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 9.3
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อพลังสื่อโซเชียล (IG, facebook,twitter) จะมีผลอย่างไรกับการเลือกตั้งที่จะถึง
2) เพื่อสะท้อนความเห็นว่าพลังสื่อโซเชียลมีผลอย่างไรต่อประชาชนในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย
3) เพื่อต้องการทราบถึงติดตามหากพรรคการเมืองหรือ กกต. มีการใช้สื่อโซเชียลประชาสัมพันธ์ข้อมูลการเลือกตั้งหรือการหาเสียง
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 20 – 22 มีนาคม 2561
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 24 มีนาคม 2561
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--