คะแนนนิยมพรรคการเมือง พรรคเพื่อไทยยังนำประชาชนส่วนใหญ่ 65.4% มองการเปิดให้ยื่นแจ้งจัดตั้งพรรคการเมืองช่วยสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้ประชาชนเยอะขึ้น 65.0% อยากได้พรรคการเมืองแบบที่มีสมาชิกพรรคมีความรู้ความสามารถหลากหลายแขนง 78.6% หวังภายหลังการเลือกตั้งอยากเห็นการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “อนาคตพรรคการเมืองกับความหวังคนไทยในการเลือกตั้ง” โดยเก็บข้อมูลกับ ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,192 คน พบว่า
ประชาชนร้อยละ 65.4 เห็นว่าสถานการณ์ที่เปิดให้ยื่นแจ้งเตรียมจัดตั้งพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา ช่วยสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้ประชาชนเยอะขึ้น รองลงมา ร้อยละ 39.3 เห็นว่าช่วยทำให้การเมืองคึกคักขึ้น /บรรยากาศเข้าสู่การเลือกตั้ง และร้อยละ 28.7 เห็นว่ามีพรรคการเมืองเยอะไปทำให้เสียงแตก
เมื่อถามว่าท่านคาดหวังอยากได้พรรคการเมืองแบบไหน ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.0 อยากให้มีสมาชิกพรรคที่มีความรู้ความสามารถหลากหลายแขนง รองลงมาร้อยละ 43.2 อยาก ให้มีนโยบายใหม่ๆ ที่พลิกโฉมประเทศ และร้อยละ 35.7 อยากให้สานต่อนโยบายพล.อ.ประยุทธ์ เช่น ปฏิรูปประเทศ ปราบทุจริต
สำหรับสิ่งที่หวังและรอคอยอยากจะเห็นภายหลังการเลือกตั้งที่จะถึงพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.6 อยากเห็นการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ รองลงมาร้อยละ 64.6 อยากเห็นการปฏิรูป ด้านสังคม กระบวนการยุติธรรม การศึกษา และร้อยละ 40.8 อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงระบบราชการ
ด้านคะแนนนิยมต่อพรรคการเมืองพบว่า พรรคเพื่อไทยอยู่ที่ร้อยละ 14.3 (ลดลงจากผลสำรวจเมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 ร้อยละ 3.5) รองลงมาคือพรรคประชาธิปัตย์ที่มีคะแนน นิยมอยู่ที่ร้อยละ 12.2 (ลดลงร้อยละ 3.4) และพรรคอนาคตใหม่มีคะแนนนิยมอยู่ที่ร้อยละ 3.9
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ช่วยสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้ประชาชนเยอะขึ้น ร้อยละ 65.4 ช่วยทำให้การเมืองคึกคักขึ้น /บรรยากาศเข้าสู่การเลือกตั้ง ร้อยละ 39.3 มีพรรคการเมืองเยอะไปทำให้เสียงแตก ร้อยละ 28.7 ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นว่าพรรคใหม่จะไม่สามารถสู้พรรคเก่าๆได้ ร้อยละ 20.7 2. ข้อคำถาม “ท่านคาดหวังอยากได้พรรคการเมืองแบบไหน” (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) มีสมาชิกพรรคที่มีความรู้ความสามารถหลากหลายแขนง ร้อยละ 65.0 มีนโยบายใหม่ที่พลิกโฉมประเทศ ร้อยละ 43.2 มีการสานต่อนโยบายรัฐบาล คสช. เช่น ปฏิรูปประเทศ ปราบทุจริต ร้อยละ 35.7 มีนโยบายพรรคที่สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ ร้อยละ 15.9 มีสมาชิกพรรคเป็นอดีต ส.ส. นักการเมืองเก่า ร้อยละ 12.7 มีสมาชิกพรรคเป็นคนดัง คนมีชื่อเสียงทางสังคม ร้อยละ 5.9 3. สิ่งที่หวังและรอคอยอยากจะเห็นภายหลังการเลือกตั้งที่จะถึง(เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) การปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 78.6 การปฏิรูปด้านสังคม กระบวนการยุติธรรม การศึกษา ร้อยละ 64.6 การเปลี่ยนแปลงระบบราชการ ร้อยละ 40.8 นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 27.0 คณะรัฐมนตรี ร้อยละ 21.2 4. ข้อคำถาม “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งจะเลือกพรรคการเมืองใด” จะเลือกพรรค... สำรวจเมื่อ สำรวจเมื่อ เพิ่มขึ้น / ลดลง พ.ค. 60 มี.ค. 61 (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) พรรคเพื่อไทย 17.8 14.3 -3.5 พรรคประชาธิปัตย์ 15.6 12.2 -3.4 พรรคอนาคตใหม่ - 3.9 - พรรคประชาชนปฏิรูป - 2.9 - พรรคภูมิใจไทย 0.8 0.7 -0.1 พรรครักประเทศไทย 1.5 0.6 -0.9 พรรคชาติไทยพัฒนา 1.0 0.6 -0.4 พรรคพลังชล 0.3 0.4 +0.1 พรรคอื่นๆ 1.1 3.1 +2.0 ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 61.9 61.3 -0.6
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อสถานการณ์ที่เปิดให้ยื่นแจ้งเตรียมจัดตั้งพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา
2) เพื่อสะท้อนความคาดหวังต่อพรรคการเมืองแบบไหนที่อยากได้
3) เพื่อสะท้อนความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองต่างๆ
4) เพื่อต้องการทราบสิ่งที่หวังและรอคอยอยากจะเห็นภายหลังการเลือกตั้งที่จะถึง
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 20 – 22 มีนาคม 2561
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 25 มีนาคม 2561
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--