ประชาชนส่วนใหญ่ 57.0 % ยกนโยบายประชานิยม รักษาฟรี ประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะทำให้เลือกเข้ามาเป็นนายกฯ ส่วนใหญ่ 64.4 % ระบุนายกฯคนต่อไป อยากให้เป็นผู้นำ ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีประวัติคอร์รัปชั่น ส่วนใหญ่ 56.5% เชื่อว่าการลงพื้นที่ของ พล.อ.ประยุทธ์ จะทำให้คะแนนนิยมเพื่อขึ้นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ประชาชนสนับสนุนพล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ เพิ่มขึ้น
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “นายกฯ แบบไหนที่โดนใจคนไทย” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาค ทั่วประเทศจำนวน 1,205 คน พบว่า
นโยบายประชานิยมที่โดนใจประชาชนทำให้อยากเลือกเข้ามาเป็นนายกฯ มากที่สุดคือ นโยบายรักษาฟรี ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ร้อยละ 57.0) รองลงมาคือ นโยบายช่วย เกษตรกร ผลผลิตเกษตรกร (ร้อยละ 54.4) นโยบายสวัสดิการ และค่าครองชีพ รายได้ (ร้อยละ 48.3) นโยบายช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ร้อยละ 48.0) และ นโยบายเกี่ยวกับการปราบการทุจริตคอร์รัปชั่น (ร้อยละ 46.9)
เมื่อถามว่านายกรัฐมนตรีแบบไหนที่อยากได้มาดำรงตำแหน่งคนต่อไป ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.4 อยากให้เป็นผู้นำที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีประวัติคอร์รัปชั่น รองลงมาร้อยละ 46.6 เป็นผู้นำที่มีความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจในการบริหารประเทศ ร้อยละ 45.9 เป็นผู้นำที่มีความสามารถสร้างสรรค์ผลงานเป็นที่ประจักษ์หรือโครงการใหม่ๆ และร้อยละ 45.2 เป็นผู้นำ ที่มีความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อประชาชน
ส่วนเมื่อถามว่าการที่นายกฯ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลงพื้นที่ไปตามจังหวัดต่างๆ ท่านคาดว่าจะทำให้ได้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.5 เห็นว่า จะเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 43.5 เห็นว่าจะได้เพิ่มขึ้นน้อยถึงน้อยที่สุด
สุดท้ายเมื่อถามว่าหากวันนี้ ท่านมีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ท่านจะออกเสียงสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ประชาชนร้อยละ 40.0 จะสนับสนุน (เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเดือนมกราคม 2561 ร้อยละ 3.2) ขณะที่ร้อยละ 25.5 จะไม่สนับสนุน ส่วนร้อยละ 34.5 งดออกเสียง
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
นโยบายรักษาฟรี ประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 57.0 นโยบายช่วยเกษตรกร ผลผลิตเกษตรกร ร้อยล 54.4 นโยบายสวัสดิการ และค่าครองชีพ รายได้ ร้อยละ 48.3 นโยบายช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากจน เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ร้อยละ 48.0 นโยบายเกี่ยวกับการปราบการทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 46.9 นโยบายเกี่ยวกับการศึกษา การเรียนฟรี ร้อยละ 45.7 นโยบายสาธารณูปโภค การคมนาคม การเดินทางข้ามจังหวัด เช่น รถไฟความเร็วสูง ร้อยละ 27.7 2. ข้อคำถาม “นายกรัฐมนตรีแบบไหนที่อยากได้มาดำรงตำแหน่งคนต่อไป” (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) เป็นผู้นำที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีประวัติคอร์รัปชั่น ร้อยละ 66.4 เป็นผู้นำที่มีความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจในการบริหารประเทศ ร้อยละ 46.6 เป็นผู้นำที่มีความสามารถสร้างสรรค์ผลงานเป็นที่ประจักษ์หรือโครงการใหม่ๆ ร้อยละ 45.9 เป็นผู้นำที่มีความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อประชาชน ร้อยละ 45.2 เป็นนายกคนกลาง นายกคนนอก ร้อยละ 15.0 เป็นผู้นำที่มาจากพรรคการเมืองใหม่ ไม่เคยเป็นนายกฯ มาก่อน ร้อยละ 12.4 เป็นผู้นำที่มาจากพรรคการเมืองใหญ่ เช่น ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย ร้อยละ 12.3 3. ข้อคำถาม “การที่นายกฯ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชาลงพื้นที่ไปตามจังหวัดต่างๆ ท่านคาดว่าจะทำให้ได้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด” ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 56.5 (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 47.8 และมากที่สุดร้อยละ 8.7) ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 43.5 (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 31.6 และน้อยที่สุดร้อยละ 11.9) 5. ข้อคำถาม “หากวันนี้ ท่านมีสิทธิออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี ท่านจะออกเสียงสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่” สำรวจเมื่อ ม.ค. 61 สำรวจเมื่อ พ.ค. 61 เพิ่มขึ้น/ลดลง (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) สนับสนุน 36.8 40.0 +3.2 ไม่สนับสนุน 34.8 25.5 -9.3 งดออกเสียง 28.4 34.5 +6.1
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนความเห็นเกี่ยวกับนโยบายประชานิยมที่โดนใจทำให้อยากเลือกเข้ามาเป็นนายกฯ
2) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีแบบไหนที่อยากได้มาดำรงตำแหน่งคนต่อไป
3) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการที่นายกฯ ลงพื้นที่ไปตามจังหวัดต่างๆ จะทำให้ได้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด
4) เพื่อสะท้อนเสียงสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 16 – 17 พฤษภาคม 2561
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 19 พฤษภาคม 2561
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--