วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อทราบความคิดเห็นของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ที่ผ่านมา ในประเด็น
ต่อไปนี้
1. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ยังไม่ยุติ
2. วิธีการแก้ปัญหาของรัฐบาลในแต่ละโครงการที่ผ่านมาเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกทางหรือไม่
3. คิดว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ให้ยุติลงได้หรือไม่
4. ความคิดเห็นต่อแนวคิดการตั้งนครรัฐปัตตานีเป็นเขตปกครองท้องถิ่นเหมือนกรุงเทพมหานคร
5. รู้สึกอย่างไรกับคำพูดของคนในรัฐบาลที่ว่า “สถานการณ์ความไม่สงบจะดีขึ้น”
6. สิ่งที่ฝากถึงรัฐบาลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา โดยสุ่มอำเภอได้ทั้งสิ้น 16 อำเภอ ได้แก่
อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอรือเสาะ อำเภอศรีสาคร อำเภอเมือง อำเภอแว้ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส อำเภอยะรัง อำเภอ
โคกโพธิ์ อำเภอหนองจิก อำเภอยะหริ่ง อำเภอเมือง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี อำเภอยะหา อำเภอธารโต อำเภอเมือง และอำเภอรา
มัน จังหวัดยะลา จากนั้นสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,142 คน เป็นชายร้อยละ 50.8 และหญิงร้อยละ
49.2
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 34.0 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 33.8 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 18.4 และอายุ 46 ปี
ขึ้นไปร้อยละ 13.8
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 15.2 มัธยมศึกษา/ปวช.ร้อยละ 41.9 อนุปริญญา/ปวส.ร้อยละ 16.6
ปริญญาตรีร้อยละ 23.3 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 3.0
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 17.2 พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 18.0 ค้าขาย
และธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 15.2 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 16.8 เกษตรกรรมและประมงร้อยละ 6.9 นิสิต นักศึกษาร้อยละ 18.0 พ่อบ้าน
แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 3.2 และอื่นๆ ร้อยละ 4.7
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 45.7 ศาสนาอิสลามร้อยละ 52.7 และศาสนาคริสต์ร้อยละ 1.6
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 14 - 20 พฤศจิกายน 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 22 พฤศจิกายน 2548
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ระบุว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ยังไม่ยุติเนื่องมาจากการที่รัฐบาลยังแก้ปัญหาไม่ถูกทาง (ร้อยละ 60.2) รองลงมาได้แก่การแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง
(ร้อยละ 49.0) การมีช่องว่างระหว่างคนในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ร้อยละ 37.3) การแทรกแซงจากต่างชาติและปัจจัยภายนอกประเทศ
(ร้อยละ 23.3) และอื่นๆ อาทิปัจจัยเรื่องความยากจนและด้อยโอกาส ขบวนการค้ายาเสพติด และความต้องการแบ่งแยกดินแดนของคนบางกลุ่ม
(ร้อยละ 7.5)
2. สำหรับความเห็นต่อวิธีการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมานั้น พบว่าวิธีการแก้ปัญหาที่คนในพื้นที่เห็นว่าเป็น
การแก้ปัญหาที่ถูกทาง ได้แก่
- การจดทะเบียนซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือเพื่อหาต้นตอผู้ก่อเหตุระเบิด (ร้อยละ 69.0)
- การจัดทำบัตรสมาร์ทการ์ดแทนบัตรประจำตัวประชาชนแบบเก่า (ร้อยละ 61.3)
- การจัดระเบียบโรงเรียนปอเนาะ (ร้อยละ 49.4)
- การจัดตลาดนัดธงฟ้าวันศุกร์ (ร้อยละ 42.0)
- การออกพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ร้อยละ 41.0)
- การจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) (ร้อยละ 37.5)
ส่วนวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกทางได้แก่
- การจัดหาปืนราคาถูกให้ครูในพื้นที่ซื้อไว้ป้องกันตัว (ร้อยละ 37.9)
- การติดตั้งเคเบิ้ลทีวี (ยูบีซี) เพื่อดึงเยาวชนไม่ให้เข้าร่วมกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ (ร้อยละ 38.9)
3. สำหรับแนวคิดเรื่องการตั้งนครรัฐปัตตานีเป็นเขตปกครองท้องถิ่นเหมือนกรุงเทพมหานครนั้น
ประชาชนร้อยละ 43.6 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 34.7 ไม่แน่ใจ โดยมีผู้ที่เห็นด้วยร้อยละ 21.7
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้นับถือศาสนาพูทธ และศาสนาอิสลาม พบว่า ผู้นับถือศาสนาพุทธส่วนใหญ่คือ
ร้อยละ 54.8 ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ขณะที่ผู้นับถือศานาอิสลามร้อยละ 41.5 ระบุว่าไม่แน่ใจ
ส่วนแนวคิดเรื่องการอพยพคนจากภาคอีสานไปอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น มีผู้ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 65.5 ไม่แน่ใจ ร้อยละ
21.0 และเห็นด้วยร้อยละ 13.5
4. เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยุติลงได้หรือไม่นั้น ร้อย
ละ 44.5 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ ขณะที่ร้อยละ 40.8 ไม่แน่ใจ โดยมีผู้ที่เชื่อว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถแก้ปัญหาได้เพียงร้อยละ 14.7
5. สำหรับความรู้สึกที่มีต่อคำพูดของคนในรัฐบาลที่ว่า “สถานการณ์ความไม่สงบจะดีขึ้น” นั้น ส่วนใหญ่คือ ร้อยละ57.1 รู้สึกไม่เชื่อถือและ
เบื่อหน่าย ร้อยละ 12.8 ยังรู้สึกเชื่อมั่นและมีความหวัง ขณะที่ร้อยละ 30.1 ตอบว่าเฉยๆ ไม่รู้สึกอะไร
6. สิ่งที่ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ฝากถึงรัฐบาลและผู้รับผิดชอบในการแก้ปัญหาความไม่สงบ คือ ไม่ควรพูดในสิ่งที่ทำไม่
ได้ ควรมีความตั้งใจจริงในการแก้ปัญหาให้มากกว่านี้ ควรถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ ควรใส่ใจดูแลเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ให้ดีกว่านี้
ขอให้นายกรัฐมนตรีเข้าถึงประชาชนใน 3 จังหวัดให้มากขึ้น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 580 50.8
หญิง 562 49.2
อายุ :
18 — 25 ปี 388 34.0
26 — 35 ปี 386 33.8
36 — 45 ปี 210 18.4
46 ปีขึ้นไป 158 13.8
การศึกษา
ประถมศึกษา 174 15.2
มัธยมศึกษา/ปวช. 478 41.9
อนุปริญญา/ปวส. 190 16.6
ปริญญาตรี 266 23.3
สูงกว่าปริญญาตรี 34 3.0
อาชีพ
ข้าราชการ/ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 196 17.2
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 206 18.0
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 174 15.2
รับจ้างทั่วไป 192 16.8
เกษตรกรรม/ประมง 78 6.9
นิสิต/นักศึกษา 206 18.0
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 36 3.2
อื่นๆ 54 4.7
ศาสนา
พุทธ 522 45.7
อิสลาม 602 52.7
คริสต์ 18 1.6
ตารางที่ 2 : อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่ยุติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
-รัฐบาลแก้ปัญหาไม่ถูกทาง 688 60.2
-การแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง 560 49.0
-การมีช่องว่างระหว่างคนในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ 426 37.3
-การแทรกแซงจากต่างชาติและปัจจัยภายนอกประเทศ 266 23.3
-อื่นๆ อาทิ ปัจจัยเรื่องความยากจน/ด้อยโอกาส ความอยุติธรรม-
ขบวนการค้ายาเสพติด และความต้องการแบ่งแยกดินแดนของคนบางกลุ่ม 86 7.5
ตารางที่ 3 : วิธีการต่อไปนี้เป็นการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ถูกทางหรือไม่
ถูกทาง ไม่ถูกทาง ไม่แน่ใจ
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
การจดทะเบียนซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือเพื่อหาต้นตอผู้ก่อเหตุระเบิด 788 69.0 156 13.7 198 17.3
การจัดทำบัตรสมาร์ทการ์ดแทนบัตรประจำตัวประชาชนแบบเก่า 700 61.3 152 13.3 290 25.4
การจัดระเบียบโรงเรียนปอเนาะ 564 49.4 304 26.6 274 24.0
การจัดตลาดนัดธงฟ้าวันศุกร์ 480 42.0 346 30.3 316 27.7
การออกพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 468 41.0 286 25.0 388 34.0
การจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) 428 37.5 294 25.7 420 36.8
การจัดหาปืนราคาถูกให้ครูในพื้นที่ซื้อไว้ป้องกันตัว 310 27.1 432 37.9 400 35.0
การติดตั้งเคเบิ้ลทีวี (ยูบีซี) เพื่อดึงเยาวชนไม่ให้เข้าร่วมกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ 286 25.0 444 38.9 412 36.1
ตารางที่ 4: เห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดการตั้งนครรัฐปัตตานีเป็นเขตปกครองท้องถิ่นเหมือนกรุงเทพมหานคร
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 248 21.7
ไม่เห็นด้วย 498 43.6
ไม่แน่ใจ 396 34.7
ตารางที่ 4.1: ความเห็นต่อแนวคิดการตั้งนครรัฐปัตตานีเป็นเขตปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบระหว่างผู้นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์
พุทธ อิสลาม
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 92 17.6 148 24.6
ไม่เห็นด้วย 286 54.8 204 33.9
ไม่แน่ใจ 144 27.6 250 41.5
ตารางที่ 5: ความเห็นต่อแนวคิดการอพยพคนจากภาคอีสานไปอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 154 13.5
ไม่เห็นด้วย 748 65.5
ไมแน่ใจ 240 21.0
ตารางที่ 6: คิดว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยุติลงได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 168 14.7
ไม่ได้ 508 44.5
ไม่แน่ใจ 466 40.8
ตารางที่ 7: รู้สึกอย่างไรกับคำพูดของคนในรัฐบาลที่ว่า “สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้จะดีขึ้น”
จำนวน ร้อยละ
รู้สึกเชื่อมั่นและมีความหวัง 146 12.8
รู้สึกไม่เชื่อถือและเบื่อหน่าย 652 57.1
เฉยๆ ไม่รู้สึกอะไร 344 30.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อทราบความคิดเห็นของประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ที่ผ่านมา ในประเด็น
ต่อไปนี้
1. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ยังไม่ยุติ
2. วิธีการแก้ปัญหาของรัฐบาลในแต่ละโครงการที่ผ่านมาเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกทางหรือไม่
3. คิดว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ให้ยุติลงได้หรือไม่
4. ความคิดเห็นต่อแนวคิดการตั้งนครรัฐปัตตานีเป็นเขตปกครองท้องถิ่นเหมือนกรุงเทพมหานคร
5. รู้สึกอย่างไรกับคำพูดของคนในรัฐบาลที่ว่า “สถานการณ์ความไม่สงบจะดีขึ้น”
6. สิ่งที่ฝากถึงรัฐบาลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา โดยสุ่มอำเภอได้ทั้งสิ้น 16 อำเภอ ได้แก่
อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอรือเสาะ อำเภอศรีสาคร อำเภอเมือง อำเภอแว้ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส อำเภอยะรัง อำเภอ
โคกโพธิ์ อำเภอหนองจิก อำเภอยะหริ่ง อำเภอเมือง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี อำเภอยะหา อำเภอธารโต อำเภอเมือง และอำเภอรา
มัน จังหวัดยะลา จากนั้นสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,142 คน เป็นชายร้อยละ 50.8 และหญิงร้อยละ
49.2
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 18-25 ปีร้อยละ 34.0 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 33.8 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 18.4 และอายุ 46 ปี
ขึ้นไปร้อยละ 13.8
กลุ่มตัวอย่างมีการศึกษาในระดับประถมศึกษาร้อยละ 15.2 มัธยมศึกษา/ปวช.ร้อยละ 41.9 อนุปริญญา/ปวส.ร้อยละ 16.6
ปริญญาตรีร้อยละ 23.3 และสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 3.0
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 17.2 พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชนร้อยละ 18.0 ค้าขาย
และธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 15.2 รับจ้างทั่วไปร้อยละ 16.8 เกษตรกรรมและประมงร้อยละ 6.9 นิสิต นักศึกษาร้อยละ 18.0 พ่อบ้าน
แม่บ้าน และเกษียณอายุร้อยละ 3.2 และอื่นๆ ร้อยละ 4.7
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 45.7 ศาสนาอิสลามร้อยละ 52.7 และศาสนาคริสต์ร้อยละ 1.6
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 14 - 20 พฤศจิกายน 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 22 พฤศจิกายน 2548
โดย ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776
http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
สรุปผลการสำรวจ
1. ประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ระบุว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ยังไม่ยุติเนื่องมาจากการที่รัฐบาลยังแก้ปัญหาไม่ถูกทาง (ร้อยละ 60.2) รองลงมาได้แก่การแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง
(ร้อยละ 49.0) การมีช่องว่างระหว่างคนในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ร้อยละ 37.3) การแทรกแซงจากต่างชาติและปัจจัยภายนอกประเทศ
(ร้อยละ 23.3) และอื่นๆ อาทิปัจจัยเรื่องความยากจนและด้อยโอกาส ขบวนการค้ายาเสพติด และความต้องการแบ่งแยกดินแดนของคนบางกลุ่ม
(ร้อยละ 7.5)
2. สำหรับความเห็นต่อวิธีการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมานั้น พบว่าวิธีการแก้ปัญหาที่คนในพื้นที่เห็นว่าเป็น
การแก้ปัญหาที่ถูกทาง ได้แก่
- การจดทะเบียนซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือเพื่อหาต้นตอผู้ก่อเหตุระเบิด (ร้อยละ 69.0)
- การจัดทำบัตรสมาร์ทการ์ดแทนบัตรประจำตัวประชาชนแบบเก่า (ร้อยละ 61.3)
- การจัดระเบียบโรงเรียนปอเนาะ (ร้อยละ 49.4)
- การจัดตลาดนัดธงฟ้าวันศุกร์ (ร้อยละ 42.0)
- การออกพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ร้อยละ 41.0)
- การจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) (ร้อยละ 37.5)
ส่วนวิธีการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกทางได้แก่
- การจัดหาปืนราคาถูกให้ครูในพื้นที่ซื้อไว้ป้องกันตัว (ร้อยละ 37.9)
- การติดตั้งเคเบิ้ลทีวี (ยูบีซี) เพื่อดึงเยาวชนไม่ให้เข้าร่วมกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ (ร้อยละ 38.9)
3. สำหรับแนวคิดเรื่องการตั้งนครรัฐปัตตานีเป็นเขตปกครองท้องถิ่นเหมือนกรุงเทพมหานครนั้น
ประชาชนร้อยละ 43.6 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 34.7 ไม่แน่ใจ โดยมีผู้ที่เห็นด้วยร้อยละ 21.7
ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้นับถือศาสนาพูทธ และศาสนาอิสลาม พบว่า ผู้นับถือศาสนาพุทธส่วนใหญ่คือ
ร้อยละ 54.8 ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว ขณะที่ผู้นับถือศานาอิสลามร้อยละ 41.5 ระบุว่าไม่แน่ใจ
ส่วนแนวคิดเรื่องการอพยพคนจากภาคอีสานไปอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น มีผู้ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 65.5 ไม่แน่ใจ ร้อยละ
21.0 และเห็นด้วยร้อยละ 13.5
4. เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยุติลงได้หรือไม่นั้น ร้อย
ละ 44.5 เชื่อว่าแก้ไม่ได้ ขณะที่ร้อยละ 40.8 ไม่แน่ใจ โดยมีผู้ที่เชื่อว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถแก้ปัญหาได้เพียงร้อยละ 14.7
5. สำหรับความรู้สึกที่มีต่อคำพูดของคนในรัฐบาลที่ว่า “สถานการณ์ความไม่สงบจะดีขึ้น” นั้น ส่วนใหญ่คือ ร้อยละ57.1 รู้สึกไม่เชื่อถือและ
เบื่อหน่าย ร้อยละ 12.8 ยังรู้สึกเชื่อมั่นและมีความหวัง ขณะที่ร้อยละ 30.1 ตอบว่าเฉยๆ ไม่รู้สึกอะไร
6. สิ่งที่ประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ฝากถึงรัฐบาลและผู้รับผิดชอบในการแก้ปัญหาความไม่สงบ คือ ไม่ควรพูดในสิ่งที่ทำไม่
ได้ ควรมีความตั้งใจจริงในการแก้ปัญหาให้มากกว่านี้ ควรถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ ควรใส่ใจดูแลเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ให้ดีกว่านี้
ขอให้นายกรัฐมนตรีเข้าถึงประชาชนใน 3 จังหวัดให้มากขึ้น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 580 50.8
หญิง 562 49.2
อายุ :
18 — 25 ปี 388 34.0
26 — 35 ปี 386 33.8
36 — 45 ปี 210 18.4
46 ปีขึ้นไป 158 13.8
การศึกษา
ประถมศึกษา 174 15.2
มัธยมศึกษา/ปวช. 478 41.9
อนุปริญญา/ปวส. 190 16.6
ปริญญาตรี 266 23.3
สูงกว่าปริญญาตรี 34 3.0
อาชีพ
ข้าราชการ/ พนักงานรัฐวิสาหกิจ 196 17.2
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 206 18.0
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 174 15.2
รับจ้างทั่วไป 192 16.8
เกษตรกรรม/ประมง 78 6.9
นิสิต/นักศึกษา 206 18.0
พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 36 3.2
อื่นๆ 54 4.7
ศาสนา
พุทธ 522 45.7
อิสลาม 602 52.7
คริสต์ 18 1.6
ตารางที่ 2 : อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่ยุติ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
จำนวน ร้อยละ
-รัฐบาลแก้ปัญหาไม่ถูกทาง 688 60.2
-การแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมือง 560 49.0
-การมีช่องว่างระหว่างคนในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ 426 37.3
-การแทรกแซงจากต่างชาติและปัจจัยภายนอกประเทศ 266 23.3
-อื่นๆ อาทิ ปัจจัยเรื่องความยากจน/ด้อยโอกาส ความอยุติธรรม-
ขบวนการค้ายาเสพติด และความต้องการแบ่งแยกดินแดนของคนบางกลุ่ม 86 7.5
ตารางที่ 3 : วิธีการต่อไปนี้เป็นการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ถูกทางหรือไม่
ถูกทาง ไม่ถูกทาง ไม่แน่ใจ
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
การจดทะเบียนซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือเพื่อหาต้นตอผู้ก่อเหตุระเบิด 788 69.0 156 13.7 198 17.3
การจัดทำบัตรสมาร์ทการ์ดแทนบัตรประจำตัวประชาชนแบบเก่า 700 61.3 152 13.3 290 25.4
การจัดระเบียบโรงเรียนปอเนาะ 564 49.4 304 26.6 274 24.0
การจัดตลาดนัดธงฟ้าวันศุกร์ 480 42.0 346 30.3 316 27.7
การออกพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 468 41.0 286 25.0 388 34.0
การจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) 428 37.5 294 25.7 420 36.8
การจัดหาปืนราคาถูกให้ครูในพื้นที่ซื้อไว้ป้องกันตัว 310 27.1 432 37.9 400 35.0
การติดตั้งเคเบิ้ลทีวี (ยูบีซี) เพื่อดึงเยาวชนไม่ให้เข้าร่วมกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ 286 25.0 444 38.9 412 36.1
ตารางที่ 4: เห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดการตั้งนครรัฐปัตตานีเป็นเขตปกครองท้องถิ่นเหมือนกรุงเทพมหานคร
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 248 21.7
ไม่เห็นด้วย 498 43.6
ไม่แน่ใจ 396 34.7
ตารางที่ 4.1: ความเห็นต่อแนวคิดการตั้งนครรัฐปัตตานีเป็นเขตปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบระหว่างผู้นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม และศาสนาคริสต์
พุทธ อิสลาม
จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 92 17.6 148 24.6
ไม่เห็นด้วย 286 54.8 204 33.9
ไม่แน่ใจ 144 27.6 250 41.5
ตารางที่ 5: ความเห็นต่อแนวคิดการอพยพคนจากภาคอีสานไปอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย 154 13.5
ไม่เห็นด้วย 748 65.5
ไมแน่ใจ 240 21.0
ตารางที่ 6: คิดว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะสามารถแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยุติลงได้หรือไม่
จำนวน ร้อยละ
ได้ 168 14.7
ไม่ได้ 508 44.5
ไม่แน่ใจ 466 40.8
ตารางที่ 7: รู้สึกอย่างไรกับคำพูดของคนในรัฐบาลที่ว่า “สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้จะดีขึ้น”
จำนวน ร้อยละ
รู้สึกเชื่อมั่นและมีความหวัง 146 12.8
รู้สึกไม่เชื่อถือและเบื่อหน่าย 652 57.1
เฉยๆ ไม่รู้สึกอะไร 344 30.1
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-