วัยใสส่วนใหญ่ 85.8% จะติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง และข่าวพรรคการเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์เช่น facebook youtube มุมมองของคน รุ่นใหม่ส่วนใหญ่ 57.9% อยากเห็นการลงคะแนนเลือกตั้งผ่านแอปพลิเคชัน จากการเลือกตั้งในครั้งนี้
ส่วนใหญ่ 66.6% มองบรรยากาศการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีความคึกคักมากเพราะห่างหายการเลือกตั้งมานาน
ส่วนใหญ่ 91.8% จะตัดสินใจเลือก ส.ส. ด้วยตัวเอง โดย 60.9 จะเลือกผู้ที่มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมากที่สุด
ส่วนใหญ่ 78.6% ตั้งใจว่าจะไปเลือกตั้ง
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “วัยใสจะไปเลือกตั้ง” โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่ม ตัวอย่างประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในครั้งแรก จำนวน 1,202 คน พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.8 จะใช้ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์เช่น facebook youtube ติดตามข่าวสารการเลือกตั้งและข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมือง รองลงมาร้อยละ 36.5 จะติดตามผ่านช่องทางทีวี และร้อยละ 20.8 จะติดตามผ่านเว็บไซต์
เมื่อถามถึงมุมมองของคนรุ่นใหม่ อยากเห็นอะไรจากการเลือกตั้งในครั้งนี้พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.9 อยากให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งผ่าน แอปพลิเคชัน รองลงมาร้อยละ 39.6 อยากให้มีแอปพลิเคชันแสดงข้อมูลผู้สมัคร ส.ส. ในพื้นที่เขตต่างๆ และร้อยละ 33.0 อยากให้มีแอปพลิเคชันแจ้งเตือน วันเวลา สถานที่เลือกตั้ง
สำหรับความคิดเห็นต่อบรรยากาศการเลือกตั้ง ที่คาดว่าจะจัดขึ้นในวันที่ 24 ก.พ. 2562 ที่จะถึงนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 66.6 คิดว่าจะมีความ คึกคักมากเพราะห่างหายการเลือกตั้งมานาน ส่วนร้อยละ 19.0 คิดว่าอาจจะมีการสร้างเหตุความไม่สงบ ก่อความวุ่นวายขึ้น ขณะที่ร้อยละ 14.4 คิดว่าจะเงียบเหงา ไม่คึกคักเท่าที่ควร
เมื่อถามว่าใช้เกณฑ์ใดเป็นหลักในการเลือกตั้ง ส.ส. ในครั้งนี้พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.8 จะตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง โดนในจำนวนนี้จะเลือกผู้ ที่มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมากที่สุด (ร้อยละ 60.9) รองลงมาคือ จะเลือกผู้ที่มีผลงานแก้ปัญหาของชุมชน (ร้อยละ 46.1) และ จะเลือกผู้ที่ไม่มีประวัติ ด่างพร้อยเรื่องทุจริต (ร้อยละ43.5) ส่วนร้อยละ 7.0 จะเลือกตามญาติพี่น้อง คนในครอบครัว และมีร้อยละ 0.4 เท่ากัน ที่เลือกตามเพื่อนและเลือกตามกระแสโซเชียล
สุดท้ายเมื่อถามว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส. ที่คาดว่าจะจัดขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ที่จะถึงนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.6 ตั้งใจว่าจะไป ขณะที่ร้อยละ 15.1 ตั้งใจว่าจะไม่ไป โดยในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่า ต้องเรียน ทำงาน ติดธุระ (ร้อยละ 8.7) รองลงมาคือ ไม่เคยไปเลือกอยู่แล้ว (ร้อยละ 2.2) และเบื่อหน่ายการเมือง (ร้อยละ 1.4) ส่วนร้อยละ 6.2 ยังไม่แน่ใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
สื่อสังคมออนไลน์ เช่น facebook youtube ร้อยละ 85.8 ทีวี ร้อยละ 36.5 เว็บไซต์ ร้อยละ 20.8 สื่อบุคคลอาทิ พ่อแม่ ญาติ เพื่อน ร้อยละ 21.0 ป้ายหาเสียงต่างๆ ร้อยละ 15.5 หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 8.4 อื่นๆ เช่น วิทยุ ร้อยละ 0.2 2. มุมมองของคนรุ่นใหม่ อยากเห็นอะไรจากการเลือกตั้งในครั้งนี้ (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) มีการลงคะแนนเลือกตั้งผ่านแอปพลิเคชัน ร้อยละ 57.9 มีแอปพลิเคชันแสดงข้อมูลผู้สมัคร ส.ส. ในพื้นที่เขตต่างๆ ร้อยละ 39.6 มีแอปพลิเคชันแจ้งเตือน วันเวลา สถานที่เลือกตั้ง ร้อยละ 33.0 มีการดีเบตของผู้สมัครผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 28.6 มีแอปพลิเคชันแสดง GPS คูหาที่ต้องไปลงคะแนนเลือกตั้ง ร้อยละ 17.9 มีการสร้างกระแสรณรงค์การเลือกตั้งผ่านสื่อโซเชียลให้ว้าวๆ ร้อยละ 17.7 3. ความเห็นต่อบรรยากาศการเลือกตั้ง ที่คาดว่าจะจัดขึ้นในวันที่ 24 ก.พ. 2562 ที่จะถึงนี้ คิดว่าจะมีความคึกคักมากเพราะห่างหายการเลือกตั้งมานาน ร้อยละ 66.6 คิดว่าจะเงียบเหงา ไม่คึกคักเท่าที่ควร ร้อยละ 14.4 คิดว่าอาจจะมีการสร้างเหตุความไม่สงบ ก่อความวุ่นวายขึ้น ร้อยละ 19.0 4. ข้อคำถาม “ใช้เกณฑ์ใดเป็นหลักในการเลือกตั้ง ส.ส. ในครั้งนี้”(เลือกตอบเพียง 1 ข้อ) ตัดสินใจเลือกด้วยตนเอง ร้อยละ 91.8
โดย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
เลือกผู้ที่มีความสามารถ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ร้อยละ 60.9
เลือกผู้ที่มีผลงานแก้ปัญหาของชุมชน ร้อยละ 46.1 เลือกผู้ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยเรื่องทุจริต ร้อยละ 43.5 เลือกที่นโยบายเป็นหลัก ร้อยละ 33.9 เลือกผู้ที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนมากที่สุด ร้อยละ 17.0 เลือกผู้ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก ร้อยละ 3.7 เลือกจากพรรคการเมืองเป็นหลัก ร้อยละ 3.5 เลือกตามญาติพี่น้อง คนในครอบครัว ร้อยละ 7.0 เลือกตามเพื่อน ร้อยละ 0.4 เลือกตามกระแสโซเชียล ร้อยละ 0.4 เลือกผู้ที่คาดว่าจะมีคะแนนนำ ร้อยละ 0.3 เลือกตามผู้นำชุมชน คนในชุมชน ร้อยละ 0.1 5. ข้อคำถาม “คิดว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส. ที่คาดว่าจะจัดขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ที่จะถึงนี้หรือไม่” ตั้งใจว่าจะไป ร้อยละ 78.6 ตั้งใจว่าจะไม่ไป ร้อยละ 15.1 โดยให้เหตุผลว่า เรียน ทำงาน ติดธุระ ร้อยละ 8.7 ไม่เคยไปเลือกอยู่แล้ว ร้อยละ 2.2 เบื่อหน่ายการเมือง ร้อยละ 1.4 ไม่มีผู้สมัครที่สนใจจะเลือก ร้อยละ 1.2 เลือกไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์ให้เลย ร้อยละ 0.7 ไม่รู้ว่าเลือกไปทำหน้าที่อะไร ร้อยละ 0.7 อื่นๆ ร้อยละ 0.2 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 6.2
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อต้องการทราบช่องทางการติดตามข่าวสาร และข่าวเกี่ยวกับพรรคการเมือง
2) เพื่อสะท้อนมุมมองของคนรุ่นใหม่ อยากเห็นอะไรจากการเลือกตั้งในครั้งนี้
3) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อบรรยากาศการเลือกตั้ง ที่คาดว่าจะจัดขึ้นในวันที่ 24 ก.พ. 2562 ที่จะถึงนี้
4) เพื่อสะท้อนเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกตั้ง ส.ส. ในครั้งนี้
5) เพื่อสะท้อนความตั้งใจจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส. ในครั้งนี้
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18-24 ปี ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 14 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ จตุจักร ทุ่งครุ ธนบุรี บางกะปิ บางเขน บางซื่อ บางนา ปทุมวัน พระนคร ภาษีเจริญ ลาดกระบัง วัฒนา สวนหลวง สาทร และปริมณฑล 2 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี สมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดย การสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,202 คน เป็นชายร้อยละ 50.5 และหญิงร้อยละ 49.5
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 7 – 12 พฤศจิกายน 2561
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 17 พฤศจิกายน 2561
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--