คนไทยส่วนใหญ่ 93.5% ตั้งใจว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 63.2% ยังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ โดย 79.1% ไม่ทราบรายละเอียด เกี่ยวกับตัวผู้สมัคร ส.ส. ของแต่ละพื้นที่ ส่วนใหญ่ 67.9% มีเรื่องกังวลว่าจะเจอจากการเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยกังวลเรื่องการซื้อสิทธิ์ขายเสียงมากที่สุด 72.2% เชื่อ “จะมีการใช้สื่อโซเชียลตรวจสอบทุจริตการเลือกตั้ง
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนไทยกับการเลือกตั้ง 62” โดยเก็บข้อมูลกับ ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,200 คน พบว่า
ในภาพรวมประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 63.2 “ยังไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่จะถึงนี้” โดยข้อมูลที่ไม่ทราบมากที่สุดคือ รายละเอียดเกี่ยวกับตัว ผู้สมัคร ส.ส. ของแต่ละพื้นที่ (ร้อยละ 79.1) รองลงมาคือ รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการเลือก ส.ส.(ร้อยละ 62.8) รายละเอียดเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ (ร้อยละ 55.7) และรายละเอียดเกี่ยวกับวัน/เวลา/สถานที่เลือกตั้ง (ร้อยละ 55.2) ขณะที่ร้อยละ 36.8 “รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่จะถึงนี้”
เมื่อถามว่ามีเรื่องที่กังวลว่าจะเจอจากการเลือกตั้งในครั้งนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.9 ระบุว่า “มีเรื่องที่กังวล” โดยเรื่องที่กังวลมากที่สุดคือ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง (ร้อยละ 45.2) รองลงมาคือ การกล่าวหาใส่ร้ายป้ายสีกัน (ร้อยละ 31.0) และการใช้นโยบายประชานิยมเกินจริง (ร้อยละ 30.4) ขณะที่ ร้อยละ 32.1 ระบุว่า “ไม่มีเรื่องที่กังวล”
เมื่อถามว่า “คิดว่าจะมีการใช้สื่อโซเชียล เช่น Facebook/youtube ในการตรวจสอบทุจริตการเลือกตั้ง ซื้อสิทธิ์ขายเสียงหรือไม่” ส่วนใหญ่ร้อยละ
72.2 ระบุว่า “จะมีการใช้สื่อโซเชียล” โดยมีการใช้สื่อโซเชียลแจ้งเบาะแสให้ กกต. ทราบมากที่สุด (ร้อยละ 53.8) รองลงมาคือ มีการแชร์แอบ ถ่ายคลิป (ร้อยละ 52.1) มีการแชร์แอบถ่ายภาพ (ร้อยละ 45.2) ขณะที่ร้อยละ 27.8 ระบุว่า “จะไม่มีการใช้สื่อโซเชียล”
สุดท้ายเมื่อถามว่า “จะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส. ที่คาดว่าจะจัดขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ที่จะถึงนี้หรือไม่” ส่วนใหญ่ร้อยละ 93.5 “ตั้งใจว่า จะไป” ขณะที่ร้อยละ 2.6 “ตังใจว่าจะไม่ไป” โดยในจำนวนนี้ให้เหตุผลว่า ต้องเรียน ทำงาน ติดธุระ (ร้อยละ 1.3) ร้องลงมาคือ เบื่อหน่ายการเมือง (ร้อยละ 0.7) ส่วนที่เหลือร้อยละ 3.9 ระบุว่า “ยังไม่แน่ใจ”
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ประเด็น ทราบ (ร้อยละ) ไม่ทราบ (ร้อยละ) รายละเอียดเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร ส.ส. ของแต่ละพื้นที่ 20.9 79.1 รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการเลือก ส.ส. 37.2 62.8 รายละเอียดเกี่ยวกับพรรคการเมืองต่างๆ 44.3 55.7 รายละเอียดเกี่ยวกับวัน/เวลา/สถานที่เลือกตั้ง 44.8 55.2 เฉลี่ยรวม 36.8 63.2 2. เรื่องที่กังวลว่าจะเจอจากการเลือกตั้งในครั้งนี้ มีเรื่องกังวล ร้อยละ 67.9 โดยกังวลเรื่อง การซื้อสิทธิ์ขายเสียง ร้อยละ 45.2 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) การกล่าวหาใส่ร้ายป้ายสีกัน ร้อยละ 31.0
การใช้นโยบายประชานิยมเกินจริง ร้อยละ 30.4
การแจกสิ่งของ ร้อยละ 27.5 การพาไปเที่ยว /ไปสัมมนา ร้อยละ 19.9 การจัดพาหนะรับส่งผู้ใช้สิทธ์ ร้อยละ 17.4 การหลอกลวง บังคับใช้อิทธิพล ร้อยละ 13.1 การกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้ใช้สิทธ์ ร้อยละ 7.8 ไม่มีเรื่องที่กังวล ร้อยละ 32.1 3. ข้อคำถาม “คิดว่าจะมีการใช้สื่อโซเชียล เช่น Facebook/youtube ในการตรวจสอบทุจริตการเลือกตั้ง ซื้อสิทธิ์ขายเสียงหรือไม่” มีการใช้สื่อโซเชียล ร้อยละ 72.2
โดย มีการใช้สื่อโซเชียลแจ้งเบาะแสให้ กกต. ทราบ ร้อยละ 53.8
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) มีการแชร์แอบถ่ายคลิป ร้อยละ 52.1 มีการแชร์แอบถ่ายภาพ ร้อยละ 45.2 ไม่มีการใช้สื่อโซเชียล ร้อยละ 27.8 4. ข้อคำถาม “คิดว่าจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส. ที่คาดว่าจะจัดขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ที่จะถึงนี้หรือไม่” ตั้งใจว่าจะไป ร้อยละ 93.5 ตั้งใจว่าจะไม่ไป ร้อยละ 2.6 โดยให้เหตุผลว่า เรียน ทำงาน ติดธุระ ร้อยละ 1.3 เบื่อหน่ายการเมือง ร้อยละ 0.7 ไม่เคยไปเลือกอยู่แล้ว ร้อยละ 0.2 เลือกไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์ให้เลย ร้อยละ 0.2 อื่นๆ ร้อยละ 0.2 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 3.9
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ ในประเด็นต่างๆ
2) เพื่อสะท้อนเรื่องที่กังวลว่าจะเจอจากการเลือกตั้งในครั้งนี้
3) เพื่อสะท้อนถึงการใช้สื่อโซเชียลเช่น Facebook/youtube ในการตรวจสอบทุจริตการเลือกตั้งซื้อสิทธิ์ขายเสียง
4) เพื่อสะท้อนความตั้งใจจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส.
ประชากรที่สนใจศึกษา
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการ
ปกครองกระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบ ด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 27-28 พฤศจิกายน 2561
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 8 ธันวาคม 2561
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--