กรุงเทพโพลล์: “ผลกระทบต่อผู้โดยสารกับการขึ้นราคารถเมล์”

ข่าวผลสำรวจ Monday January 21, 2019 08:43 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนส่วนใหญ่ 52.7% ยังไม่ทราบการปรับขึ้นราคารถเมล์ของ ขสมก. ในวันที่ 21 ม.ค. 2562 60.9% เห็นว่าการปรับราคาไม่เหมาะสม ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น 75.8% เชื่อจะส่งผลกระทบต่อคนใช้รถเมล์ จะทำให้ค่าครองชีพเพิ่มมากขึ้น ถ้าต้องไปหลายต่อแต่ 61.1% เห็นว่าการปรับขึ้นราคา รถเมล์ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของตัวเองน้อยถึงน้อยที่สุด 78.2% ชี้ถ้าปรับขึ้นราคาแล้วอยากให้มีรถสภาพใหม่ทุกสาย ไม่มีควันดำ แอร์ไม่ร้อน ไม่มีกลิ่นเหม็น

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ผลกระทบต่อผู้โดยสารกับการขึ้นราคารถเมล์” โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ จำนวน 1,209 คน พบว่า

ในภาพรวมประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 52.7 ไม่ทราบเกี่ยวกับการปรับขึ้นราคารถเมล์สาธารณะของ ขสมก. ในวันที่ 21 มกราคม 62 ที่จะถึงนี้ โดยทราบการปรับราคารถโดยสารธรรมดาครีม-แดง (รถเมล์ร้อน) จะปรับขึ้นจาก 6.50 บาท เป็น 8 บาท มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.3 ขณะที่ทราบการ ปรับราคาสำหรับผู้ที่ใช้รถปรับอากาศทางด่วนจะต้องชำระเพิ่มจากค่าโดยสารอีก 2 บาทน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40.2

เมื่อถามว่าการปรับขึ้นค่ารถเมล์เหมาะสมหรือไม่อย่างไร พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.9 เห็นว่าไม่เหมาะสม โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 47.1 ให้ เหตุผลว่าทำให้ประชาชนมีค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น และร้อยละ 13.8 เห็นว่าระยะเวลาการปรับขึ้นอีกครั้งห่างกันแค่ 1 ปี น่าจะนานกว่านี้ (อาจมีการปรับราคาอีกในปี 2563) ขณะที่ร้อยละ 39.1 เห็นว่าเหมาะสม

เมื่อถามต่อว่าในภาพรวมคิดว่าการปรับขึ้นค่ารถเมล์ จะส่งผลกระทบกับประชาชนที่ใช้รถเมล์หรือไม่อย่างไร พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 75.8 เห็นว่า จะส่งผลกระทบ โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 69.0 ให้เหตุผลว่าจะทำให้ค่าครองชีพเพิ่มมากขึ้น ถ้าต้องไปหลายต่อ รองลงมาร้อยละ 4.4 จะทำให้คนหันไปใช้ระบบ ขนส่งอื่นแทน เช่น เรือ รถไฟฟ้า และร้อยละ 2.4 จะทำให้คนหันไปซื้อรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 24.2 เห็นว่าจะไม่ส่งผลกระทบ คิดว่าใช้เหมือนเดิม เพราะราคาไม่ได้ปรับขึ้นสูงมาก

ทั้งนี้เมื่อถามว่าการขึ้นราคารถเมล์สาธารณะของ ขสมก. ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของตัวท่านเองมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.1 เห็นว่า จะส่งผลกระทบค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 38.9 จะส่งผลกระทบค่อนข้างมากถึง มากที่สุด

สุดท้ายเมื่อถามถึงเรื่องที่คาดหวังอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงกับการใช้บริการรถเมล์ หลังจากมีการปรับขึ้นราคาพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 78.2 อยากให้ มีรถสภาพใหม่ทุกสาย ไม่มีควันดำ แอร์ไม่ร้อน ไม่มีกลิ่นเหม็น รองลงมาร้อยละ 68.0 อยากให้มีพนักงานขับและพนักงานเก็บเงินให้บริการดี สุภาพเรียบร้อย และ ร้อยละ 62.7 อยากให้มีรถเมล์ครอบคลุมทุกเส้นทาง เพียงพอกับความต้องการ

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. การรับทราบเกี่ยวกับการปรับขึ้นราคารถเมล์สาธารณะของ ขสมก. ในวันที่ 21 มกราคม 62 ที่จะถึงนี้
          การปรับราคา                                                                      ทราบ        ไม่ทราบ

(ร้อยละ) (ร้อยละ)

รถโดยสารธรรมดาครีม-แดง  (รถเมล์ร้อน) จะปรับขึ้นจาก 6.50 บาท เป็น 8 บาท (ชะลอการปรับราคา)          57.3          42.7
รถเมล์แอร์ครีม-น้ำเงิน จะปรับขึ้นจาก 10-18 บาท เป็น 12-20 บาท ตามระยะทาง (ชะลอการปรับราคา)          49.5          50.5
รถเมล์แอร์ยูโรทูสีเหลืองส้ม จะปรับขึ้นจาก 11-23 บาท เป็น 13-25 บาท ตามระยะทาง (ชะลอการปรับราคา)       48.7          51.3
รถโดยสาร NGV ใหม่ จะปรับขึ้นจาก 11-23 บาท เป็น 15, 20, 25 บาท ตามระยะทาง                       41.0          59.0
สำหรับผู้ที่ใช้รถปรับอากาศทางด่วนจะต้องชำระเพิ่มจากค่าโดยสารอีก 2 บาท (ชะลอการปรับราคา)                 40.2          59.8
เฉลี่ยรวม                                                                                   47.3          52.7

2. ข้อคำถาม “คิดว่าการปรับขึ้นค่ารถเมล์ เหมาะสมหรือไม่อย่างไร”
ไม่เหมาะสม  โดยให้เหตุผลว่า                                                            ร้อยละ  60.9
          ทำให้ประชาชนมีค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น                  ร้อยละ 47.1

ระยะเวลาการปรับขึ้นอีกครั้งห่างกันแค่ 1 ปี น่าจะนานกว่านี้

          (อาจมีการปรับราคาอีกในปี 2563)                                ร้อยละ 13.8
เหมาะสม  โดยให้เหตุผลว่า                                                              ร้อยละ  39.1
          จะได้นำค่าโดยสารที่ปรับเพิ่มขึ้นมาพัฒนาการบริการและสภาพรถ            ร้อยละ 23.0
          ไม่ได้ปรับขึ้นราคามานานแล้ว และปรับขึ้นไม่สูงมาก                     ร้อยละ 16.1

3. ข้อคำถาม “ในภาพรวมคิดว่าการปรับขึ้นค่ารถเมล์ จะส่งผลกระทบกับประชาชนที่ใช้รถเมล์หรือไม่อย่างไร”
ส่งผลกระทบ                                                                           ร้อยละ  75.8
          โดย ทำให้ค่าครองชีพเพิ่มมากขึ้น ถ้าต้องไปหลายต่อ                    ร้อยละ 69.0
              ทำให้คนหันไปใช้ระบบขนส่งอื่นแทน เช่น เรือ รถไฟฟ้า              ร้อยละ  4.4
              ทำให้คนหันไปซื้อรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น                           ร้อยละ  2.4
ไม่ส่งผลกระทบ คิดว่าใช้เหมือนเดิม เพราะราคาไม่ได้ปรับขึ้นสูงมาก                                  ร้อยละ  24.2

4. ข้อคำถาม “การขึ้นราคารถเมล์สาธารณะของ ขสมก. ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของตัวท่านมากน้อยเพียงใด”
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด                                                   ร้อยละ 61.1
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 48.5  และน้อยที่สุดร้อยละ 12.6)
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด                                                   ร้อยละ 38.9
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 4.7  และมากที่สุดร้อยละ 34.2)

5. เรื่องที่คาดหวังอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงกับการใช้บริการรถเมล์  หลังจากมีการปรับขึ้นราคา
มีรถสภาพใหม่ทุกสาย ไม่มีควันดำ แอร์ไม่ร้อน ไม่มีกลิ่นเหม็น                        ร้อยละ 78.2
มีพนักงานขับและพนักงานเก็บเงินให้บริการดี สุภาพเรียบร้อย                        ร้อยละ 68.0
มีรถเมล์ครอบคลุมทุกเส้นทาง  เพียงพอกับความต้องการ                           ร้อยละ 62.7
มีสิทธิพิเศษแก่ เด็ก คนชรา ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ                               ร้อยละ 50.4
มีสิ่งอำนวยความสะดวกและปลอดภัย สามรถใช้ได้จริง เช่น จีพีเอส กล้องซีซีทีวี  WIFI    ร้อยละ 44.1
มีบัตรเงินสดจ่ายค่าโดยสารแทนการใช้เงินสด                                   ร้อยละ 15.3

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1) เพื่อสะท้อนว่าประชาชนทราบหรือไม่กับการปรับขึ้นราคารถเมล์

2) เพื่อสะท้อนว่าการปรับราคารถเมล์ เหมาะสมหรือไม่ และจะส่งผลกระทบอย่างไรกับประชาชน

3) เพื่อสะท้อนความคาดหวังอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงกับการใช้บริการรถเมล์ หลังจากมีการปรับขึ้นราคา

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชน ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 20 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางแค บางซื่อ บางนา บางรัก ปทุมวัน พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี สวนหลวง และสายไหม ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,209 คน

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบ ด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 14 – 17 มกราคม 2562

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 20 มกราคม 2562

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ