ประชาชนที่ตัดสินใจแล้ว11.7% จะเลือกพรรคเพื่อไทยรองลงมา10.6% จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์และ10.2% จะเลือกพรรคพลังประชารัฐขณะที่ ส่วนใหญ่51.7% ยังไม่ตัดสินใจ
ส่วนประชาชนที่ตัดสินใจแล้ว15.1% จะสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีรองลงมา11.0% จะสนับสนุนคุณหญิงสุดารัตน์และ9.0% จะสนับสนุน นายธนาธรขณะที่47.2% ยังไม่ตัดสินใจ
ส่วนใหญ่ 95.6% ตั้งใจว่าจะไปเลือกตั้งในวันที่ 24 มี.ค. 62
ส่วนสโลแกนนโยบายพรรคที่เห็นหรือได้ยินแล้วสนใจมากที่สุดคือ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส
เนื่องในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่จะถึงนี้เป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “นับถอยหลัง 28 วัน สู่การเลือกตั้ง” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,506 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 95.6 ตั้งใจว่าจะไปเลือกตั้งส.ส.ในวันที่ 24 มี.ค. 62 ที่จะถึงนี้ขณะที่ร้อยละ 2.1 ตั้งใจว่าจะไม่ไป ส่วนที่เหลือร้อยละ 2.3 ยังไม่แน่ใจ
เมื่อถามว่าสโลแกนนโยบายพรรคที่เห็นหรือได้ยินแล้วสนใจมากที่สุดคือ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส(พรรคเพื่อไทย) คิดเป็นร้อยละ 37.4 รองลงมาคือ นโยบายแก้จน สร้างคน สร้างชาติ (พรรคประชาธิปัตย์) คิดเป็นร้อยละ 34.1 ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน เพื่อแก้ปัญหาปากท้องประชาชน (พรรคภูมิใจไทย)คิดเป็นร้อยละ 23.1 7:7:7 สวัสดิการ สังคม เศรษฐกิจประชารัฐ (พรรคพลังประชารัฐ) คิดเป็นร้อยละ 21.5 และเพิ่มคุณภาพชีวิต แก้ปัญหาปากท้อง พร้อมสานต่อปฏิรูปจริงจัง (พรรคชาติไทยพัฒนา) คิดเป็นร้อยละ 20.7
เมื่อถามว่า“ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ท่านตั้งใจจะเลือกผู้สมัครจากพรรคใดมาบริหารประเทศ” กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 11.7 ตั้งใจจะเลือกพรรคเพื่อไทย (เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจครั้งก่อน ร้อยละ 2.4)รองลงมาร้อยละ 10.6 ตั้งใจจะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3) และร้อยละ 10.2 ตั้งใจจะเลือกพรรค พลังประชารัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2)ขณะที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.7 ยังไม่ตัดสินใจ (ลดลงร้อยละ 14.5)
สุดท้ายเมื่อถามว่า “ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ท่านจะสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรี” กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 15.1 จะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1) รองลงมาร้อยละ 11.0 จะสนับสนุนคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9) และร้อยละ 9.0 จะสนับสนุนนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4) ขณะที่ร้อยละ 47.2 ยังไม่ตัดสินใจ (ลดลงร้อยละ 12.2)
โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
ตั้งใจว่าจะไป ร้อยละ 95.6 ตั้งใจว่าจะไม่ไป ร้อยละ 2.1 โดยให้เหตุผลว่า เรียน ทำงาน ติดธุระ ร้อยละ 1.0 เบื่อหน่ายการเมือง ร้อยละ 0.2
เลือกไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์ให้เลย ร้อยละ 0.1
ไม่เคยไปอยู่แล้ว ร้อยละ 0.1 ไม่มีใครน่าสนใจ ร้อยละ 0.1 อื่นๆ ร้อยละ 0.6 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 2.3 2. สโลแกนนโยบายพรรคที่เห็นหรือได้ยินแล้วสนใจ(เลือกตอบได้มากกว่า ข้อ) ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส(พรรคเพื่อไทย) ร้อยละ 37.4 นโยบายแก้จน สร้างคน สร้างชาติ (พรรคประชาธิปัตย์) ร้อยละ 34.1 ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน เพื่อแก้ปัญหาปากท้องประชาชน (พรรคภูมิใจไทย) ร้อยละ 23.1 7:7:7 สวัสดิการ สังคม เศรษฐกิจประชารัฐ (พรรคพลังประชารัฐ) ร้อยละ 21.5 เพิ่มคุณภาพชีวิต แก้ปัญหาปากท้อง พร้อมสานต่อปฏิรูปจริงจัง (พรรคชาติไทยพัฒนา) ร้อยละ 20.7 อนาคตใหม่ ไทย 2 เท่า(พรรคอนาคตใหม่) ร้อยละ 18.7 น้อมนำคำสอนพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ เพื่อแก้ปัญหาทุกข์ร้อนให้ประชาชน(พรรคประชาชนปฏิรูป)ร้อยละ 18.1 ปลดล็อคประเทศ สร้างโอกาสให้กับคน(พรรคเสรีรวมไทย) ร้อยละ 17.9 9 หน้า 9 ไกล ไทยไร้ปัญหา(พรรคชาติพัฒนา) ร้อยละ 10.1 3. เมื่อถามว่า “ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ท่านตั้งใจจะเลือกผู้สมัครจากพรรคใดมาบริหารประเทศ” พรรค สำรวจ สำรวจ เพิ่มขึ้น/ลดลง (12-13 ก.พ. 62) (18-20 ก.พ. 62) (ร้อยละ) พรรคเพื่อไทย 9.3 11.7 +2.4 พรรคประชาธิปัตย์ 6.3 10.6 +4.3 พรรคพลังประชารัฐ 7.0 10.2 +3.2 พรรคอนาคตใหม่ 7.5 9.8 +2.3 พรรคเสรีรวมไทย 1.7 2.6 +0.9 พรรคภูมิใจไทย 0.4 1.5 +1.1 พรรคชาติไทยพัฒนา 0.7 0.6 -0.1 พรรครวมพลังประชาชาติไทย - 0.4 +0.4 พรรคชาติพัฒนา 0.2 0.3 +0.1 พรรคการเมืองอื่นๆ 0.7 0.6 -0.1 ยังไม่ตัดสินใจ 66.2 51.7 -14.5 4. เมื่อถามว่า “ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ท่านจะสนับสนุนใครเป็นนายกรัฐมนตรี” สำรวจ สำรวจ เพิ่มขึ้น/ลดลง (12-13 ก.พ. 62) (18-20 ก.พ. 62) (ร้อยละ) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 12.0 15.1 +3.1 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 8.1 11.0 +2.9 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 6.6 9.0 +2.4 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 6.1 8.9 +2.8 พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส 3.3 4.8 +1.5 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 2.3 3.0 +0.7 นางกัญจนา ศิลปอาชา 0.5 0.4 -0.1 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 0.5 0.3 -0.2 นายอนุทิน ชาญวีรกุล 0.2 0.2 0 คน อื่นๆ 1.0 0.1 -0.9 ยังไม่ตัดสินใจ 59.4 47.2 -12.2
รายละเอียดการสำรวจ
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ปัจจัยที่นำมาใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร จากพรรคการเมืองต่างๆ ตลอดจนแนวโน้มการเลือกสนับสนุนพรรคการเมืองและนายกรัฐมนตรีจากพรรคต่างๆ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18-20 กุมภาพันธ์ 2562
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 23 กุมภาพันธ์ 2562
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--