สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทยร่วมกับกรุงเทพโพลล์แถลงผลสำรวจ “ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทิศทางการสื่อสารของรัฐบาล
ชุดใหม่”
ภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่ผ่านมานับว่าอยู่ในทิศทางที่น่าเป็นห่วงและมีความสำคัญต่อการดำเนินการ จัดการในระดับยุทธศาสตร์เป็นอัน
มาก เป็นอีกภารกิจอันท้าทายของรัฐบาลใหม่ ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดหลายประการ รวมถึงภาพสะท้อนและความคิดเห็นของประชาชน
ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยว่า ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญ
กับปัจจัยรุมเร้าหลายประการ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตลอดจนความมั่นคงทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาครัฐและ
เอกชนในการบริหารธุรกิจ ตลอดจนการครองชีพของประชาชน รวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศในแง่มุมต่างๆ ที่จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศในภาพ
รวม
ภายหลังจากการเลือกตั้งเมื่อได้รัฐบาลใหม่มาบริหารจัดการประเทศ การบริหารภาพลักษณ์ของประเทศและการสื่อสารในเชิงยุทธศาสตร์
นับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในภารกิจของรัฐบาลใหม่นี้ สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมกับศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัย
กรุงเทพออกแบบเครื่องมือและดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในช่วงรอยต่อที่สำคัญอีกครั้งของประเทศ เรื่อง “ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับ
ทิศทางการสื่อสารของรัฐบาลชุดใหม่” โดยมุ่งเน้นในประเด็นสำคัญ ได้แก่ ความสนใจติดตามข่าวสารของประเทศไทยที่รัฐบาลเผยแพร่สู่ประชาชน
การประเมินภาพลักษณ์ในด้านต่างๆ ตามความคิดเห็นของประชาชน จุดอ่อนของการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา จุดเด่นของประเทศไทย
ที่รัฐบาลชุดใหม่ควรนำมาใช้ในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับประเทศ ความต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ให้ความสำคัญต่อการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยเมื่อ
เทียบกับภารกิจด้านอื่นๆ และรูปแบบการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการ
ผศ.สุนิสา ประวิชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้แถลงถึงการสำรวจในครั้งนี้ว่า สถาบันได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจาก
ประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและจังหวัดหัวเมืองของแต่ละภาค เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage
Sampling) โดยมีประชากรเป้าหมายอายุ 21 ปีขึ้นไป จำนวน 2,088 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.8 และเพศหญิงร้อยละ 51.2 โดยใช้แบบสอบ
ถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมาย ใน 6 ประเด็นสำคัญ ได้ผลสรุปดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจติดตามข่าวสารความเป็นไปของประเทศไทยที่รัฐบาลเผยแพร่สู่ประชาชนในช่วงที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ
75.7 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อทราบความเป็นไปของบ้านเมือง รวมถึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สำหรับ
กลุ่มที่ไม่สนใจติดตามข่าวสาร ซึ่งมีร้อยละ 24.3 ให้เหตุผลว่า ข่าวสารมีความซ้ำซาก น่าเบื่อ มีแต่ข่าวทะเลาะกัน และไม่มีความน่าเชื่อถือ สำหรับ
ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น ประชาชนเห็นว่าประเทศไทยมีภาพลักษณ์โดยรวมไม่ดีนัก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.74 คะแนน (จากคะแนนเต็ม
10) เมื่อพิจารณาภาพลักษณ์ประเทศไทยในแต่ละด้านพบว่า ภาพลักษณ์ด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีมีคะแนนสูงที่สุด ร้อยละ 5.86 รอง
ลงมาได้แก่ ด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร ร้อยละ 5.08 ขณะที่ภาพลักษณ์ด้านความมั่นคงทางการเมืองมีคะแนนต่ำที่สุด ร้อยละ 3.75
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 80.7 เห็นว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศยังเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นจุดอ่อนในการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ
ในช่วงที่ผ่านมา และร้อยละ 54.5 เห็นว่ารัฐบาลขาดการสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจริงจัง นอกจากนี้ยังเห็นว่ารัฐบาลชุดใหม่ควรให้ความ
สำคัญกับภารกิจการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆ คิดเป็นร้อยละ 54.7 โดยจุดขายที่รัฐบาลชุดใหม่ควรนำมาใช้ในการสร้างภาพลักษณ์
ประเทศไทยคือ เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งบันเทิงในประเทศไทย และเห็นควรให้มีการแต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านการประชาสัมพันธ์มา
เป็นที่ปรึกษาในการสร้างภาพลักษณ์ ร้อยละ 57.4
จากผลการสำรวจดังกล่าว ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ ได้กล่าวเสริมว่า ภาพลักษณ์ของประเทศเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งภายในประเทศและ
กระทบต่อความรู้สึกของผู้คน อันจะนำมาซึ่งความเชื่อมั่น ทั้งภาพใหญ่ ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวัน การให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของประเทศเป็น
สิ่งที่สำคัญและควรบรรจุเป็น ยุทธศาสตร์ทางด้านการสื่อสารทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ที่สำคัญภาพลักษณ์ของประเทศไม่ใช่ ภาพลักษณ์ของรัฐบาล
หรือการสร้างภาพให้กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงอย่างเดียว ภาพลักษณ์ดังกล่าวจะต้องเป็นการสื่อสารให้เห็นภาพรวมเชิงนโยบายของประเทศ
ไม่ใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยผ่านกระบวนการสื่อสารมวลชนที่ชัดเจน โปร่งใส ให้เกิดความสมานฉันท์ การรับรู้ เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง การสื่อ
สารจะต้องเน้นเป็นองค์กรรวม แบบมีเอกภาพไม่ใช่แยกกันเป็นส่วนๆ ต่างคนต่างทำ ซึ่งจะทำให้ ข้อมูลมีการกระจัดกระจายสูง ไม่ว่าจะเป็นด้าน
เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การเงินการคลัง การลงทุน การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ภายใต้พื้นฐานการจัดการข้อมูลที่เป็นระบบและมีหน่วย
งานเจ้าภาพที่วางกรอบยุทธศาสตร์ติดตามอย่างใกล้ชิด
สิ่งที่พบจากการสำรวจก็คือ พฤติกรรมของประชาชนต่างให้ความสนใจความเป็นไปของบ้านเมืองในอัตราส่วนที่สูงมาก แต่ขณะเดียวกันก็จะ
พบว่าอีกไม่น้อยทีเดียวที่เห็นว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ ภาพของความซ้ำซาก จำเจ ทะเลาะเบาะแว้ง โดยเห็นว่าเป็นจุดอ่อนของประเทศในสัดส่วนถึง 80%
ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของประเทศโดยรวมออกมาไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปวัฒนธรรม คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย เสรีภาพ ประชาธิปไตย ความมั่นคง
เศรษฐกิจการเงิน นอกจากนี้สิ่งที่ประชาชนเห็นว่าเป็นจุดขายสำคัญ ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยว การลงทุนและคุณภาพชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญที่น่าจะนำมาขยายผล
ต่อ
ผลการศึกษา
ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทิศทางการสื่อสารของ รัฐบาลชุดใหม่
(1) ภาพลักษณ์ประเทศไทยที่ผ่านมาในเชิงลบที่ต้องมีการจัดการเร่งด่วน
- ข่าวสารของภาครัฐบาลและการเมืองเป็นข่าวที่ซ้ำซาก น่าเบื่อ มีแต่ปัญหาความขัดแย้ง
- ภาพลักษณ์ที่อยู่ในระดับไม่ดีและต้องมีการ แก้ไขเร่งด่วน ได้แก่ ความมั่นคงทางการเมือง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจการ
เงิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ตลอดจนความพร้อมในการเป็นแหล่งการค้าและการลงทุน
ข้อเสนอ
ทิศทางการบริหารภาพลักษณ์ของประเทศและการสื่อสารในทิศทางที่เหมาะสม
- การแสดงจุดยืนของรัฐบาลที่ชัดเจน เน้นความเป็น เอกภาพ ยึดปัญหาที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนด้วยความสมานฉันท์
- การลำดับความสำคัญของปัญหาของประเทศในแต่ละภาคส่วน การกำหนดโครงสร้างหน้าที่ของการแก้ปัญหาร่วมกันมากกว่าการแยกตาม
หน่วยงาน กระทรวง ทบวง กรม
- การนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนทั้งในระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมและแถลงให้ประชาชนได้รับทราบ
ผลการศึกษา
ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทิศทางการสื่อสารของ รัฐบาลชุดใหม่
(2) ภาพลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นและควรนำมาเป็นจุดขายที่สำคัญของการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ได้แก่ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศ ศิลป
วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและปัจจัยรองรับการเติบโตของประเทศที่ยั่งยืน
ข้อเสนอ
ทิศทางการบริหารภาพลักษณ์ของประเทศและการสื่อสารในทิศทางที่เหมาะสม
- การกำหนดแผนยุทธศาสตร์ทางการสื่อสารและแผนการกอบกู้ภาพลักษณ์ของประเทศไทย
- การเร่งเสริมศักยภาพของแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
ผลการศึกษา
ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทิศทางการสื่อสารของ รัฐบาลชุดใหม่
(3) การสื่อสารของรัฐบาลใหม่ทั้งที่เป็นบุคคลและภาพรวมของรัฐบาล
ข้อเสนอ
ทิศทางการบริหารภาพลักษณ์ของประเทศและการสื่อสารในทิศทางที่เหมาะสม
- การกำหนดวิธีการ ช่องทาง รูปแบบ การประชา-สัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ต่อประชาชน ผ่านสื่อของรัฐ เอกชนอย่างต่อเนื่องและ
ชัดเจน
- การนำเสนอสาระ ข้อมูลด้วยความรวดเร็ว ชัดเจน ถูกต้อง โปร่งใส สม่ำเสมอ ไม่เน้นที่จะแสดงผลงานของรัฐบาลหรือบุคคล แต่เน้น
ประโยชน์ของภาคประชาชนเป็นที่ตั้ง
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศได้บอบช้ำภายใต้ความขัดแย้งมากว่า 2 ปีในหลายๆ ด้าน รวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศที่อยู่ในทิศทางที่น่าเป็น
ห่วง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของรัฐบาล ชุดใหม่ในการวางยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสารของประเทศให้อยู่ในครรลองที่เหมาะสม ปรับภาพลักษณ์ของ
ประเทศไทยให้เกิดความเชื่อมั่นทั้งในระดับประเทศและนานาชาติโดยเร็ววัน
ตารางสรุปผลสำรวจโพลล์
เรื่อง ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทิศทางการสื่อสารของรัฐบาลชุดใหม่
1. ความสนใจติดตามข่าวสารความเป็นไปของประเทศไทยที่รัฐบาลเผยแพร่สู่ประชาชนในรอบปีที่ผ่านมา
- สนใจติดตาม.......................................................ร้อยละ 75.7
โดยให้เหตุผลว่า (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- เพื่อให้ทราบความเป็นไปของบ้านเมือง................ร้อยละ 45.1
- เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน.........................ร้อยละ 16.0
- เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน..............ร้อยละ 7.0
- เพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล..................ร้อยละ 2.4
- ไว้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่น ๆ.............ร้อยละ 0.2
- อื่นๆ.........................................ร้อยละ 2.5
- ไม่ระบุเหตุผล..................................ร้อยละ 2.5
- ไม่สนใจติดตาม.....................................................ร้อยละ 24.3
โดยให้เหตุผลว่า (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- ซ้ำซาก น่าเบื่อ มีแต่ข่าวทะเลาะกัน.................ร้อยละ 14.9
- ไม่น่าเชื่อถือ..................................ร้อยละ 3.4
- ไม่มีเวลา....................................ร้อยละ 3.4
- เป็นเรื่องไกลตัว...............................ร้อยละ 1.2
- เข้าใจยาก...................................ร้อยละ 0.4
- ไม่ใช่หน้าที่..................... .............ร้อยละ 0.2
- อื่นๆ........................................ร้อยละ 0.4
- ไม่ระบุเหตุผล.................................ร้อยละ 0.4
2. สำหรับภาพลักษณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น ความเห็นของประชาชนคนไทยเห็นว่าประเทศไทยมีภาพลักษณ์โดยรวมไม่ค่อยดีนัก โดยมีคะแนน
เฉลี่ย 4.74 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10) โดยเมื่อพิจารณาภาพลักษณ์ในแต่ละด้านพบว่า ภาพลักษณ์ด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีมี
คะแนนสูงที่สุด ขณะที่ภาพลักษณ์ด้านความมั่นคงทางการเมืองมีคะแนนต่ำที่สุด ดังนี้
ภาพลักษณ์ประเทศไทยในด้านต่างๆ คะแนนเฉลี่ย(จากคะแนนเต็ม 10)
ด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี 5.86
ด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร 5.08
ด้านสิทธิเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตย 4.96
ด้านความพร้อมในการเป็นแหล่งการค้าและการลงทุน 4.87
ด้านความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ 4.80
ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.41
ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงิน 4.20
ด้านความมั่นคงทางการเมือง 3.75
เฉลี่ยรวม 4.74
3. จุดอ่อนในการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
- มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ..............................ร้อยละ 80.7
- ขาดกลยุทธ์และวิธีการประชาสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ทันสมัย......................ร้อยละ 34.8
- ขาดการสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจริงจัง..........................ร้อยละ 54.5
- ขาดการประสานเชื่อมโยงแผนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน...ร้อยละ 36.9
- มุ่งเน้นประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาลและบุคคลในรัฐบาลมากเกินไป............ร้อยละ 35.0
- ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ..........................................ร้อยละ 21.5
- อื่น ๆ ขาดงบประมาณ ขาดข้อเท็จจริงด้านบวก ฯลฯ........................ร้อยละ 3.5
4. เมื่อสอบถามว่า ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ให้ความสำคัญกับการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยมากน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับภารกิจด้านอื่น ๆ
พบว่า
- เห็นว่าควรให้ความสำคัญเป็นอันดับดับต้นๆ................................ร้อยละ 54.7
- เห็นว่าควรให้ความสำคัญเป็นอันดับปานกลาง..............................ร้อยละ 41.4
- เห็นว่าควรให้ความสำคัญเป็นอันดับดับท้ายๆ...............................ร้อยละ 3.9
5. จุดเด่นของประเทศไทยที่รัฐบาลชุดใหม่ควรนำมาใช้เป็นจุดขายในการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทย (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- สถานที่ท่องเที่ยว และแหล่งบันเทิงในประเทศไทย..........................ร้อยละ 27.6
- วัฒนธรรม ประเพณี ภาษาไทย การไหว้ ศิลปะ และวิถีชีวิต...................ร้อยละ 18.5
- ความพร้อมทางด้านการค้าและการลงทุน.................................ร้อยละ 13.8
- ความมั่นคง และความสงบสุขภายในประเทศ..............................ร้อยละ 9.3
- ความสามัคคีของคนในชาติ...........................................ร้อยละ 5.5
- อาหารไทย และสินค้าโอทอป.........................................ร้อยละ 4.6
- การยิ้ม การมีมนุษย์สัมพันธ์ และความมีน้ำใจ..............................ร้อยละ 4.2
- คุณภาพชีวิตของประชาชน............................................ร้อยละ 3.7
- การดำเนินชีวิตของคนไทยตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง...............ร้อยละ 1.8
- ความเป็นประชาธิปไตย ............................................ร้อยละ 1.3
- อื่น ๆ เช่น ความทันสมัยและเทคโนโลยีต่าง ๆ สินค้าส่งออก ฯลฯ..............ร้อยละ 4.2
- ไม่ทราบ........................................................ร้อยละ 2.8
- ไม่มีจุดเด่นใดที่ควรนำมาเป็นจุดขายในการสร้างภาพลักษณ์ประเทศ..............ร้อยละ 2.7
6. รูปแบบการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการ
- แต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านการประชาสัมพันธ์เป็นที่ปรึกษา.............ร้อยละ 57.4
- รัฐบาลดำเนินการเองโดยใช้บุคลากรเท่าที่มีอยู่...........................ร้อยละ 22.5
- จ้างบริษัทประชาสัมพันธ์มืออาชีพมาดำเนินการ............................ร้อยละ 15.6
- อื่นๆ เช่น ตั้งทีมเฉพาะกิจโดยระดมผู้มีประสบการณ์จากหน่วยงานต่างๆ
มาทำงานร่วมกัน และใช้วิธีการอื่นนอกเหนือจากการประชาสัมพันธ์.............ร้อยละ 4.5
ระเบียบวิธีในการสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทิศทางการสื่อสารของรัฐบาลชุดใหม่” ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนามเมื่อวัน
ที่ 14-23 มกราคม 2551 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 20 เขต จาก
50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ปริมณฑล 3 จังหวัดได้แก่ จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และ
จังหวัดหัวเมืองเพื่อเป็นตัวแทนในแต่ละภาค ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น นครศรีธรรมราช จันทบุรี และลพบุรี จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้า
หมายอายุ 21 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 2,088 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.8 และเพศหญิงร้อยละ 51.2
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ฑ 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 14 — 23 มกราคม 2551
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 5 กุมภาพันธ์ 2551
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 1,018 48.8
หญิง 1,070 51.2
อายุ
21-30 ปี 631 30.2
31-40 ปี 571 27.3
41-50 ปี 544 16.1
51-60 ปี 204 9.8
61 ปีขึ้นไป 138 6.6
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 288 13.8
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 488 23.4
ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 452 21.7
รับจ้างทั่วไป 344 16.5
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 220 10.5
ผู้สื่อข่าว 28 1.3
นักวิชาการ/นักวิชาชีพประชาสัมพันธ์ 28 1.3
อื่นๆ ได้แก่ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ 240 11.5
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 918 44.0
ปริญญาตรี 1,050 50.3
สูงกว่าปริญญาตรี 120 5.7
ที่อยู่อาศัย
กรุงเทพมหานคร 425 20.4
ปริมณฑล 300 14.4
ต่างจังหวัด 1,363 65.2
รวม 2,088 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
ชุดใหม่”
ภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่ผ่านมานับว่าอยู่ในทิศทางที่น่าเป็นห่วงและมีความสำคัญต่อการดำเนินการ จัดการในระดับยุทธศาสตร์เป็นอัน
มาก เป็นอีกภารกิจอันท้าทายของรัฐบาลใหม่ ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดหลายประการ รวมถึงภาพสะท้อนและความคิดเห็นของประชาชน
ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ นายกสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยว่า ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญ
กับปัจจัยรุมเร้าหลายประการ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตลอดจนความมั่นคงทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาครัฐและ
เอกชนในการบริหารธุรกิจ ตลอดจนการครองชีพของประชาชน รวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศในแง่มุมต่างๆ ที่จะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศในภาพ
รวม
ภายหลังจากการเลือกตั้งเมื่อได้รัฐบาลใหม่มาบริหารจัดการประเทศ การบริหารภาพลักษณ์ของประเทศและการสื่อสารในเชิงยุทธศาสตร์
นับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญในภารกิจของรัฐบาลใหม่นี้ สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทยจึงได้ร่วมกับศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัย
กรุงเทพออกแบบเครื่องมือและดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในช่วงรอยต่อที่สำคัญอีกครั้งของประเทศ เรื่อง “ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับ
ทิศทางการสื่อสารของรัฐบาลชุดใหม่” โดยมุ่งเน้นในประเด็นสำคัญ ได้แก่ ความสนใจติดตามข่าวสารของประเทศไทยที่รัฐบาลเผยแพร่สู่ประชาชน
การประเมินภาพลักษณ์ในด้านต่างๆ ตามความคิดเห็นของประชาชน จุดอ่อนของการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา จุดเด่นของประเทศไทย
ที่รัฐบาลชุดใหม่ควรนำมาใช้ในการสร้างภาพลักษณ์ให้กับประเทศ ความต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ให้ความสำคัญต่อการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยเมื่อ
เทียบกับภารกิจด้านอื่นๆ และรูปแบบการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการ
ผศ.สุนิสา ประวิชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้แถลงถึงการสำรวจในครั้งนี้ว่า สถาบันได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจาก
ประชาชนในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและจังหวัดหัวเมืองของแต่ละภาค เมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage
Sampling) โดยมีประชากรเป้าหมายอายุ 21 ปีขึ้นไป จำนวน 2,088 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.8 และเพศหญิงร้อยละ 51.2 โดยใช้แบบสอบ
ถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมาย ใน 6 ประเด็นสำคัญ ได้ผลสรุปดังนี้
ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจติดตามข่าวสารความเป็นไปของประเทศไทยที่รัฐบาลเผยแพร่สู่ประชาชนในช่วงที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ
75.7 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อทราบความเป็นไปของบ้านเมือง รวมถึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน สำหรับ
กลุ่มที่ไม่สนใจติดตามข่าวสาร ซึ่งมีร้อยละ 24.3 ให้เหตุผลว่า ข่าวสารมีความซ้ำซาก น่าเบื่อ มีแต่ข่าวทะเลาะกัน และไม่มีความน่าเชื่อถือ สำหรับ
ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น ประชาชนเห็นว่าประเทศไทยมีภาพลักษณ์โดยรวมไม่ดีนัก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.74 คะแนน (จากคะแนนเต็ม
10) เมื่อพิจารณาภาพลักษณ์ประเทศไทยในแต่ละด้านพบว่า ภาพลักษณ์ด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีมีคะแนนสูงที่สุด ร้อยละ 5.86 รอง
ลงมาได้แก่ ด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร ร้อยละ 5.08 ขณะที่ภาพลักษณ์ด้านความมั่นคงทางการเมืองมีคะแนนต่ำที่สุด ร้อยละ 3.75
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 80.7 เห็นว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศยังเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นจุดอ่อนในการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ
ในช่วงที่ผ่านมา และร้อยละ 54.5 เห็นว่ารัฐบาลขาดการสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจริงจัง นอกจากนี้ยังเห็นว่ารัฐบาลชุดใหม่ควรให้ความ
สำคัญกับภารกิจการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆ คิดเป็นร้อยละ 54.7 โดยจุดขายที่รัฐบาลชุดใหม่ควรนำมาใช้ในการสร้างภาพลักษณ์
ประเทศไทยคือ เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งบันเทิงในประเทศไทย และเห็นควรให้มีการแต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านการประชาสัมพันธ์มา
เป็นที่ปรึกษาในการสร้างภาพลักษณ์ ร้อยละ 57.4
จากผลการสำรวจดังกล่าว ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ ได้กล่าวเสริมว่า ภาพลักษณ์ของประเทศเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งภายในประเทศและ
กระทบต่อความรู้สึกของผู้คน อันจะนำมาซึ่งความเชื่อมั่น ทั้งภาพใหญ่ ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวัน การให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ของประเทศเป็น
สิ่งที่สำคัญและควรบรรจุเป็น ยุทธศาสตร์ทางด้านการสื่อสารทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ที่สำคัญภาพลักษณ์ของประเทศไม่ใช่ ภาพลักษณ์ของรัฐบาล
หรือการสร้างภาพให้กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพียงอย่างเดียว ภาพลักษณ์ดังกล่าวจะต้องเป็นการสื่อสารให้เห็นภาพรวมเชิงนโยบายของประเทศ
ไม่ใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยผ่านกระบวนการสื่อสารมวลชนที่ชัดเจน โปร่งใส ให้เกิดความสมานฉันท์ การรับรู้ เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง การสื่อ
สารจะต้องเน้นเป็นองค์กรรวม แบบมีเอกภาพไม่ใช่แยกกันเป็นส่วนๆ ต่างคนต่างทำ ซึ่งจะทำให้ ข้อมูลมีการกระจัดกระจายสูง ไม่ว่าจะเป็นด้าน
เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การเงินการคลัง การลงทุน การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ภายใต้พื้นฐานการจัดการข้อมูลที่เป็นระบบและมีหน่วย
งานเจ้าภาพที่วางกรอบยุทธศาสตร์ติดตามอย่างใกล้ชิด
สิ่งที่พบจากการสำรวจก็คือ พฤติกรรมของประชาชนต่างให้ความสนใจความเป็นไปของบ้านเมืองในอัตราส่วนที่สูงมาก แต่ขณะเดียวกันก็จะ
พบว่าอีกไม่น้อยทีเดียวที่เห็นว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ ภาพของความซ้ำซาก จำเจ ทะเลาะเบาะแว้ง โดยเห็นว่าเป็นจุดอ่อนของประเทศในสัดส่วนถึง 80%
ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของประเทศโดยรวมออกมาไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นด้านศิลปวัฒนธรรม คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย เสรีภาพ ประชาธิปไตย ความมั่นคง
เศรษฐกิจการเงิน นอกจากนี้สิ่งที่ประชาชนเห็นว่าเป็นจุดขายสำคัญ ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยว การลงทุนและคุณภาพชีวิตเป็นสิ่งที่สำคัญที่น่าจะนำมาขยายผล
ต่อ
ผลการศึกษา
ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทิศทางการสื่อสารของ รัฐบาลชุดใหม่
(1) ภาพลักษณ์ประเทศไทยที่ผ่านมาในเชิงลบที่ต้องมีการจัดการเร่งด่วน
- ข่าวสารของภาครัฐบาลและการเมืองเป็นข่าวที่ซ้ำซาก น่าเบื่อ มีแต่ปัญหาความขัดแย้ง
- ภาพลักษณ์ที่อยู่ในระดับไม่ดีและต้องมีการ แก้ไขเร่งด่วน ได้แก่ ความมั่นคงทางการเมือง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจการ
เงิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ตลอดจนความพร้อมในการเป็นแหล่งการค้าและการลงทุน
ข้อเสนอ
ทิศทางการบริหารภาพลักษณ์ของประเทศและการสื่อสารในทิศทางที่เหมาะสม
- การแสดงจุดยืนของรัฐบาลที่ชัดเจน เน้นความเป็น เอกภาพ ยึดปัญหาที่เป็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนด้วยความสมานฉันท์
- การลำดับความสำคัญของปัญหาของประเทศในแต่ละภาคส่วน การกำหนดโครงสร้างหน้าที่ของการแก้ปัญหาร่วมกันมากกว่าการแยกตาม
หน่วยงาน กระทรวง ทบวง กรม
- การนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนทั้งในระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมและแถลงให้ประชาชนได้รับทราบ
ผลการศึกษา
ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทิศทางการสื่อสารของ รัฐบาลชุดใหม่
(2) ภาพลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นและควรนำมาเป็นจุดขายที่สำคัญของการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ได้แก่ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศ ศิลป
วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและปัจจัยรองรับการเติบโตของประเทศที่ยั่งยืน
ข้อเสนอ
ทิศทางการบริหารภาพลักษณ์ของประเทศและการสื่อสารในทิศทางที่เหมาะสม
- การกำหนดแผนยุทธศาสตร์ทางการสื่อสารและแผนการกอบกู้ภาพลักษณ์ของประเทศไทย
- การเร่งเสริมศักยภาพของแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
ผลการศึกษา
ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทิศทางการสื่อสารของ รัฐบาลชุดใหม่
(3) การสื่อสารของรัฐบาลใหม่ทั้งที่เป็นบุคคลและภาพรวมของรัฐบาล
ข้อเสนอ
ทิศทางการบริหารภาพลักษณ์ของประเทศและการสื่อสารในทิศทางที่เหมาะสม
- การกำหนดวิธีการ ช่องทาง รูปแบบ การประชา-สัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ต่อประชาชน ผ่านสื่อของรัฐ เอกชนอย่างต่อเนื่องและ
ชัดเจน
- การนำเสนอสาระ ข้อมูลด้วยความรวดเร็ว ชัดเจน ถูกต้อง โปร่งใส สม่ำเสมอ ไม่เน้นที่จะแสดงผลงานของรัฐบาลหรือบุคคล แต่เน้น
ประโยชน์ของภาคประชาชนเป็นที่ตั้ง
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศได้บอบช้ำภายใต้ความขัดแย้งมากว่า 2 ปีในหลายๆ ด้าน รวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศที่อยู่ในทิศทางที่น่าเป็น
ห่วง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของรัฐบาล ชุดใหม่ในการวางยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสารของประเทศให้อยู่ในครรลองที่เหมาะสม ปรับภาพลักษณ์ของ
ประเทศไทยให้เกิดความเชื่อมั่นทั้งในระดับประเทศและนานาชาติโดยเร็ววัน
ตารางสรุปผลสำรวจโพลล์
เรื่อง ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทิศทางการสื่อสารของรัฐบาลชุดใหม่
1. ความสนใจติดตามข่าวสารความเป็นไปของประเทศไทยที่รัฐบาลเผยแพร่สู่ประชาชนในรอบปีที่ผ่านมา
- สนใจติดตาม.......................................................ร้อยละ 75.7
โดยให้เหตุผลว่า (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- เพื่อให้ทราบความเป็นไปของบ้านเมือง................ร้อยละ 45.1
- เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน.........................ร้อยละ 16.0
- เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน..............ร้อยละ 7.0
- เพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล..................ร้อยละ 2.4
- ไว้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่น ๆ.............ร้อยละ 0.2
- อื่นๆ.........................................ร้อยละ 2.5
- ไม่ระบุเหตุผล..................................ร้อยละ 2.5
- ไม่สนใจติดตาม.....................................................ร้อยละ 24.3
โดยให้เหตุผลว่า (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- ซ้ำซาก น่าเบื่อ มีแต่ข่าวทะเลาะกัน.................ร้อยละ 14.9
- ไม่น่าเชื่อถือ..................................ร้อยละ 3.4
- ไม่มีเวลา....................................ร้อยละ 3.4
- เป็นเรื่องไกลตัว...............................ร้อยละ 1.2
- เข้าใจยาก...................................ร้อยละ 0.4
- ไม่ใช่หน้าที่..................... .............ร้อยละ 0.2
- อื่นๆ........................................ร้อยละ 0.4
- ไม่ระบุเหตุผล.................................ร้อยละ 0.4
2. สำหรับภาพลักษณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น ความเห็นของประชาชนคนไทยเห็นว่าประเทศไทยมีภาพลักษณ์โดยรวมไม่ค่อยดีนัก โดยมีคะแนน
เฉลี่ย 4.74 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10) โดยเมื่อพิจารณาภาพลักษณ์ในแต่ละด้านพบว่า ภาพลักษณ์ด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีมี
คะแนนสูงที่สุด ขณะที่ภาพลักษณ์ด้านความมั่นคงทางการเมืองมีคะแนนต่ำที่สุด ดังนี้
ภาพลักษณ์ประเทศไทยในด้านต่างๆ คะแนนเฉลี่ย(จากคะแนนเต็ม 10)
ด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี 5.86
ด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร 5.08
ด้านสิทธิเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตย 4.96
ด้านความพร้อมในการเป็นแหล่งการค้าและการลงทุน 4.87
ด้านความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ 4.80
ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.41
ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงิน 4.20
ด้านความมั่นคงทางการเมือง 3.75
เฉลี่ยรวม 4.74
3. จุดอ่อนในการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
- มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ..............................ร้อยละ 80.7
- ขาดกลยุทธ์และวิธีการประชาสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ทันสมัย......................ร้อยละ 34.8
- ขาดการสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจริงจัง..........................ร้อยละ 54.5
- ขาดการประสานเชื่อมโยงแผนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน...ร้อยละ 36.9
- มุ่งเน้นประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาลและบุคคลในรัฐบาลมากเกินไป............ร้อยละ 35.0
- ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ..........................................ร้อยละ 21.5
- อื่น ๆ ขาดงบประมาณ ขาดข้อเท็จจริงด้านบวก ฯลฯ........................ร้อยละ 3.5
4. เมื่อสอบถามว่า ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ให้ความสำคัญกับการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยมากน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับภารกิจด้านอื่น ๆ
พบว่า
- เห็นว่าควรให้ความสำคัญเป็นอันดับดับต้นๆ................................ร้อยละ 54.7
- เห็นว่าควรให้ความสำคัญเป็นอันดับปานกลาง..............................ร้อยละ 41.4
- เห็นว่าควรให้ความสำคัญเป็นอันดับดับท้ายๆ...............................ร้อยละ 3.9
5. จุดเด่นของประเทศไทยที่รัฐบาลชุดใหม่ควรนำมาใช้เป็นจุดขายในการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทย (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- สถานที่ท่องเที่ยว และแหล่งบันเทิงในประเทศไทย..........................ร้อยละ 27.6
- วัฒนธรรม ประเพณี ภาษาไทย การไหว้ ศิลปะ และวิถีชีวิต...................ร้อยละ 18.5
- ความพร้อมทางด้านการค้าและการลงทุน.................................ร้อยละ 13.8
- ความมั่นคง และความสงบสุขภายในประเทศ..............................ร้อยละ 9.3
- ความสามัคคีของคนในชาติ...........................................ร้อยละ 5.5
- อาหารไทย และสินค้าโอทอป.........................................ร้อยละ 4.6
- การยิ้ม การมีมนุษย์สัมพันธ์ และความมีน้ำใจ..............................ร้อยละ 4.2
- คุณภาพชีวิตของประชาชน............................................ร้อยละ 3.7
- การดำเนินชีวิตของคนไทยตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง...............ร้อยละ 1.8
- ความเป็นประชาธิปไตย ............................................ร้อยละ 1.3
- อื่น ๆ เช่น ความทันสมัยและเทคโนโลยีต่าง ๆ สินค้าส่งออก ฯลฯ..............ร้อยละ 4.2
- ไม่ทราบ........................................................ร้อยละ 2.8
- ไม่มีจุดเด่นใดที่ควรนำมาเป็นจุดขายในการสร้างภาพลักษณ์ประเทศ..............ร้อยละ 2.7
6. รูปแบบการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการ
- แต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านการประชาสัมพันธ์เป็นที่ปรึกษา.............ร้อยละ 57.4
- รัฐบาลดำเนินการเองโดยใช้บุคลากรเท่าที่มีอยู่...........................ร้อยละ 22.5
- จ้างบริษัทประชาสัมพันธ์มืออาชีพมาดำเนินการ............................ร้อยละ 15.6
- อื่นๆ เช่น ตั้งทีมเฉพาะกิจโดยระดมผู้มีประสบการณ์จากหน่วยงานต่างๆ
มาทำงานร่วมกัน และใช้วิธีการอื่นนอกเหนือจากการประชาสัมพันธ์.............ร้อยละ 4.5
ระเบียบวิธีในการสำรวจ
การวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทิศทางการสื่อสารของรัฐบาลชุดใหม่” ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนามเมื่อวัน
ที่ 14-23 มกราคม 2551 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 20 เขต จาก
50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ปริมณฑล 3 จังหวัดได้แก่ จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และ
จังหวัดหัวเมืองเพื่อเป็นตัวแทนในแต่ละภาค ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น นครศรีธรรมราช จันทบุรี และลพบุรี จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้า
หมายอายุ 21 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 2,088 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.8 และเพศหญิงร้อยละ 51.2
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีความคลาดเคลื่อน ฑ 3 % ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 14 — 23 มกราคม 2551
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 5 กุมภาพันธ์ 2551
ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 1,018 48.8
หญิง 1,070 51.2
อายุ
21-30 ปี 631 30.2
31-40 ปี 571 27.3
41-50 ปี 544 16.1
51-60 ปี 204 9.8
61 ปีขึ้นไป 138 6.6
อาชีพ
ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 288 13.8
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 488 23.4
ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว 452 21.7
รับจ้างทั่วไป 344 16.5
พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ 220 10.5
ผู้สื่อข่าว 28 1.3
นักวิชาการ/นักวิชาชีพประชาสัมพันธ์ 28 1.3
อื่นๆ ได้แก่ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ 240 11.5
การศึกษา
ต่ำกว่าปริญญาตรี 918 44.0
ปริญญาตรี 1,050 50.3
สูงกว่าปริญญาตรี 120 5.7
ที่อยู่อาศัย
กรุงเทพมหานคร 425 20.4
ปริมณฑล 300 14.4
ต่างจังหวัด 1,363 65.2
รวม 2,088 100
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-