กรุงเทพโพลล์: “คนกรุงปฏิบัติตนอย่างไร...ช่วงเข้าพรรษา”

ข่าวผลสำรวจ Monday July 15, 2019 08:23 —กรุงเทพโพลล์

วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษานี้พุทธศาสนิกชน ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.4 มีแผนจะไปทำบุญเวียนเทียนถวายเทียนพรรษา โดยร้อยละ ร้อยละ 48.6 ระบุว่าตั้งใจจะทำบุญตักบาตรทุกวันพระในช่วงเข้าพรรษา

ทั้งนี้ผู้ดื่มสุราส่วนใหญ่ร้อยละ 87.0 ตั้งใจจะเข้าร่วมตามคำเชิญชวนงดเหล้าตลอดเข้าพรรษา แต่อาจขอดื่มเฉพาะงานสังสรรค์บางงาน

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง“คนกรุงปฏิบัติตนอย่างไร...ช่วงเข้าพรรษา”โดยเก็บข้อมูล พุทธศาสนิกชนที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,194 คนได้ผลสำรวจดังนี้

เมื่อถามความเห็นว่า ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนในกรุงเทพฯ ห่างไกลจากการเข้าวัดทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรมหรือไม่ พบว่าร้อยละ 45.5 คิดว่ายังใกล้ชิดกัน เหมือนเดิมรองลงมาร้อยละ 39.9 คิดว่าห่างไกลมากขึ้น และร้อยละ 14.6 ระบุว่าไม่แน่ใจ

สำหรับวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษานี้ พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.4 ระบุว่ามีแผนที่จะทำบุญ (เวียนเทียนถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน) รองลงมาร้อยละ 12.4 ระบุว่ามีแผนที่จะไปทำบุญพร้อมไปท่องเที่ยวด้วย และร้อยละ 9.5 มีแผนที่จะท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนาที่เหลือร้อยละ 26.7 ระบุว่าไม่มีแผน เพราะต้องทำงาน / ไม่ได้หยุดยาว

ส่วนสิ่งที่พุทธศาสนิกชนตั้งใจจะทำในช่วงเข้าพรรษาปีนี้ นั้น ร้อยละ 48.6 ระบุว่าจะทำบุญตักบาตรทุกวันพระช่วงเข้าพรรษา รองลงมาร้อยละ 35.2 ระบุว่า จะสวดมนต์นั่งสมาธิบ่อยขึ้น และร้อยละ 26.5 ระบุว่า จะไม่ดื่มเหล้าตลอด 3 เดือน

เมื่อถามเฉพาะผู้ที่ดื่มสุราว่า จากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มอบคำขวัญ“รักษาชีวิตอย่าติดสุรา” ในกิจกรรม“ วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ชวนคนไทยงดเหล้าตลอดเข้าพรรษาจะเข้าร่วมตามคำเชิญชวนหรือไม่อย่างไร ส่วนใหญ่ร้อยละ 87.0 จะเข้าร่วมตามคำเชิญชวน (โดยร้อยละ 36.8 คิดว่าจะงด แต่อาจดื่มเฉพาะงานสังสรรค์บางงานรองลงมาร้อยละ 32.2 คิดว่าจะงดตลอด 3 เดือนและร้อยละ 18.0 คิดว่าจะงดแต่อาจไม่ครบ 3 เดือน) ขณะที่ ร้อยละ 13.0 ระบุว่าจะไม่เข้าร่วมตามคำเชิญชวนและคิดว่าจะดื่มตามปกติ

สุดท้ายเมื่อถามความเห็นพุทธศาสนิกชนเกี่ยวกับหลักธรรมในราชสังคหวัตถุ 4 หรือหลักธรรมในการวางนโยบายปกครองบ้านเมือง ว่าอยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และครม.ชุดใหม่ ยึดถือข้อใดมากที่สุดส่วนใหญ่ร้อยละ 36.2 เห็นว่าควรยึดหลักธรรมในข้อ สะสะเมธัง คือการบำรุงบ้านเมือง ให้เจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและเกษตรกรรมรองลงมาร้อยละ 29.3 เห็นว่าควรยึดหลักธรรมข้อ สัมมาปาสัง คือฉลาดในการแก้ปัญหาสังคมส่งเสริมอาชีพช่วยให้ คนจนให้ตั้งตัวได้

รายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ปัจจุบันคนกรุงเทพฯห่างไกลจากการเข้าวัดทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรมหรือไม่
คิดว่าห่างไกลมากขึ้น                                          ร้อยละ  39.9
คิดว่าใกล้ชิดกันอยู่เหมือนเดิม                                    ร้อยละ  45.5
ไม่แน่ใจ                                                   ร้อยละ  14.6

2.  เมื่อถามว่า “มีแผนจะทำบุญหรือท่องเที่ยวในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษานี้หรือไม่ อย่างไร”
มีแผนที่จะทำบุญ (เวียนเทียนถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน)          ร้อยละ  51.4
มีแผนที่จะไปทำบุญพร้อมไปท่องเที่ยวด้วย                            ร้อยละ  12.4
มีแผนที่จะท่องเที่ยวหรือกลับภูมิลำเนา                              ร้อยละ   9.5
ไม่มีแผนเพราะต้องทำงาน / ไม่ได้หยุดยาว/อยู่บ้านเฉยๆ               ร้อยละ  26.7

3. สิ่งที่ตั้งใจจะทำในช่วงเข้าพรรษาปีนี้ 5 อันดับแรก คือ
ทำบุญตักบาตรทุกวันพระช่วงเข้าพรรษา                             ร้อยละ  48.6
สวดมนต์ นั่งสมาธิ บ่อยขึ้น                                      ร้อยละ  35.2
ไม่ดื่มเหล้าตลอด 3 เดือน                                      ร้อยละ  26.5
งดเว้นอบายมุขต่างๆ                                          ร้อยละ  20.0
เดินสายทำบุญตามวัดต่างๆ                                      ร้อยละ  19.0

4. จากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มอบคำขวัญ “รักษาชีวิตอย่าติดสุรา” ในกิจกรรม“วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ชวนคนไทยงดเหล้าตลอด
เข้าพรรษาจะเข้าร่วมตามคำเชิญชวนหรือไม่อย่างไร

เข้าร่วมตามคำเชิญชวน โดย.....                                ร้อยละ  87.0

คิดว่าจะงดแต่อาจดื่มเฉพาะงานสังสรรค์บางงาน ร้อยละ 36.8

          คิดว่าจะงดตลอด 3 เดือน                  ร้อยละ 32.2
          คิดว่าจะงดแต่อาจไม่ครบ 3 เดือน            ร้อยละ 18.0
ไม่เข้าร่วมตามคำเชิญชวน คิดว่าจะดื่มตามปกติ                        ร้อยละ  13.0

5.จากหลักธรรมที่ใช้ในการวางนโยบายในการปกครองและบริหารบ้านเมือง“ราชสังคหวัตถุ 4” ข้อที่อยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ
ครม. ชุดใหม่ยึดถือมากที่สุดคือ
สะสะเมธัง คือการบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและเกษตรกรรม             ร้อยละ  36.2
สัมมาปาสัง คือฉลาดในการแก้ปัญหาสังคมส่งเสริมอาชีพ ช่วยให้คนจนให้ตั้งตัวได้              ร้อยละ  29.3
วาจาเปยยัง คือ การพูดตามความเป็นจริง และตามความเป็นธรรม มีวาจาที่ชวนฟัง           ร้อยละ  20.4
ทำให้คนอยากร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน
ปุริสเมธัง คือ รู้จักเลือกใช้คน ให้ตรงกับตำแหน่งที่เหมาะสมส่งเสริมคนดีมีความสามารถ        ร้อยละ  14.1
?

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อสำรวจความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชนที่อยู่ในกรุงเทพฯ เกี่ยวกับ สิ่งที่ตั้งใจจะทำในช่วงเข้าพรรษา ตลอดจนหลักธรรมที่อยากบอกให้รัฐบาล ยึดถือและนำไปปฏิบัติในการบริหารประเทศเพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากพุทธศาสนิกชนอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอกชั้นกลางและชั้นในได้แก่เขตดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางเขน บางซื่อ บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง และสาทรจากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากร เป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,194คน

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 8-10 กรกฎาคม 2562

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 13 กรกฎาคม 2562

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ