ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ (ประยุทธ์ 2/1) 4.52 คะแนน โดยมีความเชื่อมั่นด้านการเมืองมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ
โดยเรื่องที่อยากให้ รัฐบาลแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด คือ ปัญหาค่าครองชีพของแพง ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและปัญหาภัยแล้ง
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ (ประยุทธ์2/1)” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,176 คน พบว่า
ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ (ประยุทธ์2/1) เฉลี่ยในภาพรวม 4.52คะแนน โดยมีความเชื่อมั่นด้านการเมืองมากที่สุด (4.80 คะแนน) รองลงมาคือด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม(4.67 คะแนน) และด้านเศรษฐกิจ (4.18 คะแนน) เมื่อแยกพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า
ตัวชี้วัดด้านการเมืองที่ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นมากที่สุดคือ ด้านการธำรงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (6.58 คะแนน) ส่วนตัวชี้วัด ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นมากที่สุดคือ ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (5.37 คะแนน) และตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจที่ประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นมากที่สุดคือด้านศักยภาพของคนไทย (5.08 คะแนน)
ทั้งนี้ประชาชน ร้อยละ 41.5 ระบุว่า ค่อนข้างคาดหวังถึงคาดหวังมากต่อการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ (ประยุทธ์2/1)ขณะที่ร้อยละ 58.5 ระบุว่า ไม่ค่อยคาดหวังถึงไม่คาดหวังเลย
ส่วนเรื่องที่อยากให้รัฐบาลประยุทธ์ 2/1 แก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนที่สุดร้อยละ 75.9 คือ ปัญหาค่าครองชีพของแพงรองลงมาร้อยละ 61.3 คือปัญหาราคา สินค้าเกษตรตกต่ำและร้อยละ 50.8 คือปัญหาภัยแล้ง
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ คะแนนความเชื่อมั่น
(เต็ม10คะแนน)
1)ด้านการธำรงรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข 6.58 2) ด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากภาครัฐ 4.45 (ถูกต้อง เป็นกลาง และเป็นประโยชน์) 3)ด้านความสามารถในการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 4.34 4) ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น 3.85 ความเชื่อมั่นด้านการเมือง (เฉลี่ยรวม) 4.80 5) ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 5.37 6) ด้านความรักและสามัคคีของคนในชาติ 4.76 7) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 4.41 (โจรกรรม ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกายภัยจราจร อาหารปนเปื้อนและมลพิษ) 8) ด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย 4.12 (ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและความเท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมาย) ความเชื่อมั่นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (เฉลี่ยรวม) 4.67 9) ด้านศักยภาพของคนไทย (การศึกษาสุขภาพความรู้ความสามารถความซื่อสัตย์มีวินัยพัฒนาได้) 5.08 10) ด้านภาพลักษณ์ต่อ นานาประเทศทั่วโลก 4.59 11)ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน 4.50 (ด้านการผลิต เป็นแหล่งท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน) 12) ด้านฐานะการเงินของประเทศ 3.55 (เงินคงคลัง หนี้ของประเทศ ทุนสำรองระหว่างประเทศ) 13) ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ 3.20 (รายได้เพียงพอกับรายจ่าย การมีงานทำ การกินดีอยู่ดี) ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ (เฉลี่ยรวม) 4.18 เฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.52 2.ความคาดหวังที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลใหม่ ค่อนข้างคาดหวังถึงคาดหวังมาก ร้อยละ 41.5
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างคาดหวัง ร้อยละ 27.9 และคาดหวังมาก ร้อยละ 13.6)
ไม่ค่อยคาดหวังถึงไม่คาดหวังเลย ร้อยละ 58.5
(โดยแบ่งเป็น ไม่ค่อยคาดหวังร้อยละ31.9 และไม่คาดหวังเลย ร้อยละ 26.7)
ปัญหาค่าครองชีพของแพง ร้อยละ 75.9 ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ร้อยละ 61.3 ปัญหาภัยแล้ง ร้อยละ 50.8 ปัญหายาเสพติดอาชญากรรม ร้อยละ 48.3 ปัญหาคอร์รัปชั่น ร้อยละ 37.2 รายละเอียดการสำรวจ วัตถุประสงค์การสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ ในด้านต่างๆ รวม 13 ด้าน หลังจากได้ ครม. ชุดใหม่ รวมถึงความคาดหวังต่อการปฏิบัติหน้าที่และเรื่องที่ต้องการให้แก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 22-24กรกฎาคม2562
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 27 กรกฎาคม 2562
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--