กรุงเทพโพลล์: “ลอยกระทงปลอดภัย ใส่ใจสายน้ำ”

ข่าวผลสำรวจ Monday November 11, 2019 07:23 —กรุงเทพโพลล์

เทศกาลลอยกระทง ปีนี้ “ความปลอดภัย” ที่ประชาชนอยากเห็น มากที่สุดคือ การงดดื่มสุราและของมึนเมาทุกชนิดเพื่อลดผลกระทบจากการดื่มสุรา เช่นอุบัติเหตุ และการทะเลาะวิวาทรองลงมาคือ การใช้กระทงที่ประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่ย่อยสลายง่ายปลอดภัยต่อสายน้ำสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 ไม่เห็นด้วย กับแนวคิด#งดลอยกระทงหรือเก็บขยะในแม่น้ำลำคลองแทนการลอยกระทง เพราะเป็นประเพณี ของไทยที่ทำมาแต่เดิมควรอนุรักษ์

โดยประชาชนร้อยละ 43.2 ระบุว่าจะใช้วิธีลอยกระทงร่วมกัน ครอบครัวละ 1 กระทง และเลือก ใช้กระทงที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ ที่ย่อยสลายง่าย

เนื่องด้วยวันที่ 11 พฤศจิกายน 2562 นี้ตรงกับวันลอยกระทง กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ลอยกระทงปลอดภัย ใส่ใจสายน้ำ”โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,213 คน พบว่า

ในงานเทศกาลลอยกระทง 2562 นี้ “ความปลอดภัย” ที่ประชาชนอยากเห็น มากที่สุดร้อยละ 31.7 คือ การงดดื่มสุราและของมึนเมาทุกชนิดเพื่อ ลดผลกระทบจากการดื่มสุรา อาทิอุบัติเหตุ รองลงมาร้อยละ 23.8 คือ การใช้กระทงที่ประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่ย่อยสลายง่ายปลอดภัยต่อสายน้ำสิ่งแวดล้อมและ ร้อยละ 20.0 คือการงดเล่นพลุดอกไม้ไฟโคมลอยโคมไฟในที่ชุมชนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเพลิงไหม้

สำหรับความเห็นต่อแนวคิด#งดลอยกระทงหรือเก็บขยะในแม่น้ำลำคลองแทนการลอยกระทง นั้นพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 ไม่เห็นด้วย โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 51.3 ให้เหตุผลว่าเป็นประเพณีของไทยที่ทำมาแต่เดิมควรอนุรักษ์ไว้ รองลงมาร้อยละ 7.1 ให้เหตุผลว่าเป็นเอกลักษณ์ไทยที่ส่งเสริม การท่องเที่ยวที่ดีงามและร้อยละ 3.3 ให้เหตุผลว่างานลอยกระทง 1 ปีมีเพียงหนเดียวขณะที่ประชาชนร้อยละ 36.1 เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 20.3 ให้เหตุผลว่าจะได้ไม่เป็นการเพิ่มขยะในแม่น้ำลำคลอง รองลงมาร้อยละ 13.6 ให้เหตุผลว่าการทำให้แม่น้ำลำคลองสะอาดเป็นการตอบแทนคุณพระแม่คงคา และร้อยละ 2.0 ให้เหตุผลว่าปัจจุบันสามารถลอยกระทงออนไลน์ผ่านเว็บ/app.ได้

เมื่อถามว่า “ในปีนี้จะออกไปเที่ยวงานลอยกระทงหรือไม่” ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 43.2 ระบุว่าจะออกไปเที่ยวงานโดยลอยกระทงร่วมกัน (ครอบครัวละ 1 กระทง) รองลงมาร้อยละ 12.3 ระบุว่า จะออกไปเที่ยวงานโดยจะลอยกระทงคนละใบ และร้อยละ 7.1 ระบุว่า จะออกไปเที่ยวงานแต่ในปีนี้จะไม่ลอยกระทง ขณะที่ประชาชนร้อยละ 37.4 ระบุว่าจะไม่ออกไปเที่ยวงานลอยกระทง โดยให้เหตุผลว่า คนเยอะวุ่นวายติดงาน/ไม่ตรงวันหยุด และไม่ได้ให้ความสำคัญกับการลอยกระทง

ทั้งนี้เมื่อถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าจะลอยกระทง ว่าจะเลือกซื้อหรือใช้กระทงแบบใด พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 49.4 ระบุว่าจะประดิษฐ์กระทงเองโดยใช้วัสดุ จากธรรมชาติ รองลงมาร้อยละ 47.0 ระบุว่าจะซื้อกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติย่อยสลายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น และร้อยละ 2.2 ระบุว่า จะซื้อกระทง ที่เน้นความสวยงามมาก่อน

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. “ความปลอดภัย”ที่ประชาชนอยากเห็น ในงานเทศกาลลอยกระทง 2562 นี้ มากที่สุด
งดดื่มสุราและของมึนเมาทุกชนิดเพื่อลดผลกระทบจากการดื่มสุราอาทิอุบัติเหตุ          ร้อยละ  31.7
ใช้กระทงที่ประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่ย่อยสลายง่ายปลอดภัยต่อสายน้ำสิ่งแวดล้อม             ร้อยละ  23.8
งดเล่นพลุดอกไม้ไฟโคมลอยโคมไฟในที่ชุมชนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเพลิงไหม้            ร้อยละ  20.0
จัดงานรื่นเริงสนุกสนานอย่างสร้างสรรค์ปลอดภัยไม่ทะเลาะวิวาทไม่ทำผิดศีลธรรม      ร้อยละ  16.7
ผู้คนแต่งกายไปเที่ยวงานสวมเครื่องแต่งกายรัดกุมปลอดภัยไม่ใส่ชุดล่อแหลม           ร้อยละ   7.4
อื่นๆอาทิ อุบัติเหตุจากการพลัดตกน้ำของเด็กๆ  ฯลฯ                           ร้อยละ   0.4

2. ความเห็นต่อแนวคิด#งดลอยกระทงหรือเก็บขยะในแม่น้ำลำคลองแทนการลอยกระทง
ไม่เห็นด้วย                                                         ร้อยละ  63.9
โดยให้เหตุผลว่า
เป็นประเพณีของไทยที่ทำมาแต่เดิมควรอนุรักษ์ไว้                              ร้อยละ  51.3
เอกลักษณ์ไทยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ดีงาม                                 ร้อยละ   7.1
งานลอยกระทง1ปีมีเพียงหนเดียว                                         ร้อยละ   3.3
เป็นกิจกรรมที่ให้คนในครอบครัวได้ทำร่วมกัน                                 ร้อยละ   2.2

เห็นด้วย                                                           ร้อยละ  36.1
โดยให้เหตุผลว่า
จะได้ไม่เป็นการเพิ่มขยะในแม่น้ำลำคลอง                                   ร้อยละ  20.3
การทำให้แม่น้ำลำคลองสะอาดเป็นการตอบแทนคุณพระแม่คงคา                    ร้อยละ  13.6
ปัจจุบันสามารถลอยกระทงออนไลน์ผ่านเว็บ/app.ได้                           ร้อยละ   2.0
อื่นๆอาทิ ลดโลกร้อน ป้องกันอุบัติเหตุทุกด้าน ฯลฯ                             ร้อยละ   0.2

3. เมื่อถามว่า “ในปีนี้จะออกไปเที่ยวงานลอยกระทงหรือไม่”
ออกไปเที่ยวงานโดยลอยกระทงร่วมกัน                                     ร้อยละ  43.2
(ครอบครัวละ 1 กระทง /กลุ่มละ 1 กระทง/คู่ละ1 กระทง)
ออกไปเที่ยวงานโดยจะลอยกระทงคนละใบ                                  ร้อยละ  12.3
ออกไปเที่ยวงานแต่ในปีนี้จะไม่ลอยกระทง                                   ร้อยละ   7.1

ไม่ไป                                                             ร้อยละ  37.4
โดยให้เหตุผลว่า
คนเยอะวุ่นวาย                                                      ร้อยละ  17.9
ติดงาน/ไม่ตรงวันหยุด                                                 ร้อยละ  11.9
ไม่ได้ให้ความสำคัญ                                                   ร้อยละ   5.6
ลอยกระทงออนไลน์แทน                                                ร้อยละ   1.1
อื่นๆ อาทิ สุขภาพไม่ดี แม่น้ำน้ำแห้ง กลัวไม่ปลอดภัย ฯลฯ                       ร้อยละ   0.9

4. กระทงที่จะลอยในปีนี้จะเลือกซื้อหรือใช้กระทงแบบใด(ถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าจะลอยกระทง)
ประดิษฐ์กระทงเองโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ                                  ร้อยละ  49.4
ซื้อกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติย่อยสลายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น          ร้อยละ  47.0
ซื้อกระทงที่เน้นความสวยงามมาก่อน                                        ร้อยละ   2.2
กระทงอะไรก็ได้ที่หาซื้อได้สะดวก                                          ร้อยละ   1.1
เน้นกระทงที่ราคาถูก                                                   ร้อยละ   0.3

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับเทศกาลลอยกระทงในปีนี้ ในประเด็นต่างๆ อาทิ การออกไปลอยกระทง การเลือกวัสดุที่ใช้ทำกระทง กาดูแลความปลอดภัย ตลอดจนความเห็นต่อแนวคิดการงดลอยกระทงเพื่อลดขยะในแม่น้ำลำคลอง เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและ ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 6-7 พฤศจิกายน 2562

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 10 พฤศจิกายน 2562

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ