กรุงเทพโพลล์: “ความเห็นของประชาชนต่อรถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันแบบถูกกฎหมาย”

ข่าวผลสำรวจ Monday November 18, 2019 08:43 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนส่วนใหญ่ 95.7% เห็นด้วยกับการทำให้รถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันถูกกฎหมาย โดย 70.5% เห็นว่ารถรับจ้างสาธารณะ ผ่านแอปพลิเคชันสร้างทางเลือกให้ผู้โดยสาร

ทั้งนี้ 71.6% เห็นประโยชน์ด้านความปลอดภัย รองลงมาคือ 62.4% ไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร และ สะดวกใช้งานง่าย 67.9% ชี้หากถูกกฎหมายแล้วอยาก ให้มีข้อบังคับมารยาท รองลงมาคือ 56.7% มีเรทค่าโดยสารที่เป็นธรรม

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเห็นของประชาชนต่อรถรับจ้างสาธารณะ ผ่านแอปพลิเคชันแบบถูกกฎหมาย” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,150 คน พบว่า

ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 70.5 เห็นว่ารถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันสร้างทางเลือกให้ผู้โดยสารไม่ผูกขาดการเดินทาง รองลงมาคือ ทันสมัย สมาร์ทแท็กซี่ คิดเป็นร้อยละ 40.6 และยุ่งยากต้องใช้อินเทอร์เน็ตคิดเป็น ร้อยละ 22.6

เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการทำให้รถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันเถูกกฎหมาย พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 95.7 เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 3.9 ไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 0.4 ไม่แน่ใจ

ส่วนเมื่อถามว่าถ้ารถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันถูกกฎหมายแล้วจะเกิดประโยชน์อะไรแก่ผู้โดยสารพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.6 เห็นว่าปลอดภัย เพราะมีข้อมูลผู้ขับ และทะเบียนรถเป็นหลักฐานในแอปฯ รองลงมามีร้อยละ 62.4 เท่ากัน เห็นว่าไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร เรียกใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง และสะดวก ใช้งานที่ง่าย ทั้งเวลาเรียกรถ เวลาจ่ายตัง

สำหรับเรื่องที่อยากให้เพิ่มเติมหากรถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันถูกกฎหมายแล้วพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.9 อยากให้มีข้อบังคับมารยาท การให้บริการของคนขับ รองลงมาร้อยละ 56.7 อยากให้มีเรทอัตราค่าโดยสารที่ยุติธรรม และร้อยละ 56.1 อยากให้มีสภาพรถใหม่พร้อมใช้งาน

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้

1. ความเห็นต่อรถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
สร้างทางเลือกให้ผู้โดยสาร ไม่ผูกขาดการเดินทาง         ร้อยละ 70.5
ทันสมัย สมาร์ทแท๊กซี่                               ร้อยละ 40.6
ยุ่งยากต้องใช้อินเทอร์เน็ต                           ร้อยละ 22.6
ต้องโหลดแอปฯ ใช้ผ่านแอปฯ                         ร้อยละ 21.3

2. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่กับการทำให้รถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันถูกกฎหมาย”
เห็นด้วย                                        ร้อยละ 95.7
ไม่เห็นด้วย                                      ร้อยละ  3.9
ไม่แน่ใจ                                        ร้อยละ  0.4

3. ข้อคำถาม  “ถ้ารถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันถูกกฎหมายแล้วจะเกิดประโยชน์อะไรแก่ผู้โดยสาร”(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ปลอดภัยเพราะมีข้อมูลผู้ขับ และทะเบียนรถเป็นหลักฐานในแอปฯ      ร้อยละ 71.6
ไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร เรียกใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง           ร้อยละ 62.4
สะดวก ใช้งานที่ง่าย ทั้งเวลาเรียกรถ เวลาจ่ายตัง              ร้อยละ 62.4
ได้ทราบค่าบริการและระยะทางได้ก่อนเดินทาง                  ร้อยละ 54.8
แท็กซี่จะได้พัฒนาการบริการเพื่อแข่งขัน                        ร้อยละ 48.3
เลือกประเภทรถให้เหมาะกับจำนวนผู้ร่วมเดินทางได้              ร้อยละ 41.7
ลดความขัดแย้ง การแย่งลูกค้ากับแท็กซี่ หรือวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง    ร้อยละ 39.5
ที่ถูกกฎหมาย
การเดินทางแม่นยำ ไม่หลงหรือขับวน                         ร้อยละ 37.6
มีโปรโมชั่นใช้ลดราคาค่าบริการได้                           ร้อยละ 32.1

4. เรื่องที่ท่านอยากให้เพิ่มเติมหากรถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันถูกกฎหมายแล้ว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
มีข้อบังคับมารยาท การให้บริการของคนขับ                     ร้อยละ 67.9
มีเรทอัตราค่าโดยสารที่ยุติธรรม                             ร้อยละ 56.7
มีสภาพรถใหม่พร้อมใช้งาน                                 ร้อยละ 56.1
มีสติกเกอร์หรือสัญลักษณ์บ่งบอกที่ตัวรถ                         ร้อยละ 54.6
มีความสะอาดทั้งรถและคนขับ                               ร้อยละ 48.8
อื่นๆ อาทิเช่น มีการอบรมก่อนขับ มีกฎระเบียบชัดเจน             ร้อยละ  1.7

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อรถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันถูกกฎหมาย

2) เพื่อสะท้อนถึงประโยชน์ที่ได้รับถ้ารถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันถูกกฎหมายแล้ว

3) เพื่อต้องการทราบเรื่องที่อยากให้เพิ่มเติมหากรถรับจ้างสาธารณะผ่านแอปพลิเคชันถูกกฎหมายแล้ว

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของ กรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 12-14 พฤศจิกายน 2562

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 16 พฤศจิกายน 2562

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ