ประชาชนร้อยละ 95.9 รู้จักรูปแบบแชร์ลูกโซ่ที่แฝงมากับการลงทุนน้ำมันทองคำสกุลเงินต่างประเทศ โดยร้อยละ 47.7 ระบุว่าปัจจัยที่สามารถ จูงใจคนให้หลงเชื่อคือการที่คนมีความโลภเป็นจุดอ่อน
ทั้งนี้ ร้อยละ 40.7 ระบุว่าจากกรณีแชร์ลูกโซ่สิ่งที่สังคมไทยได้รับบทเรียน คือ มีคนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อเพียงเพราะอยากได้รับผลตอบแทนสูง
ส่วนวิธีป้องกันตัวเองเพื่อให้ปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อในวงจรธุรกิจแชร์ลูกโซ่คือ ให้ปฏิเสธทันทีเมื่อมีคนเข้ามาคุยและเชิญชวนร่วมทำธุรกิจประเภทนี้ และให้คิดไว้เสมอว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ถอดบทเรียน แชร์ลูกโซ่ คนไทยได้รับบทเรียนอะไร”โดยเก็บข้อมูลกับประชาชน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,197 คน พบว่า
รูปแบบแชร์ลูกโซ่ที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 95.9 รู้จักและเคยทราบคือ แชร์ลูกโซ่ที่แฝงมากับการลงทุน น้ำมันทองคำสกุลเงินต่างประเทศรองลงมา ร้อยละ 52.9 คือ แชร์ลูกโซ่ที่แฝงมากับธุรกิจขายตรง และร้อยละ 50.0 คือ แชร์ลูกโซ่ออนไลน์
ส่วนความเห็นต่อปัจจัยที่แชร์ลูกโซ่สามารถจูงใจคนให้หลงเชื่อ นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.7 ระบุว่า คนมีความโลภเป็นจุดอ่อนรองลงมาร้อยละ 28.6 ระบุว่าได้รับผลตอบแทนสูงมากกว่าปกติ / สูงกว่าทำธุรกิจอื่นๆ และร้อยละ 10.3 คนอยากหารายได้เพิ่มที่รวดเร็ว/เห็นผลเร็ว
เมื่อถามว่า “จากกรณีแชร์ลูกโซ่สะท้อนหรือให้บทเรียนอะไรกับสังคมไทย” ประชาชนร้อยละ 40.7 ระบุว่า มีคนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อเพียงเพราะ อยากได้รับผลตอบแทนสูงรองลงมาร้อยละ 21.0 ระบุว่าสังคมขาดการให้ความรู้/ เท่าทัน ต่อกระบวนการลงทุน และร้อยละ 17.1 ระบุว่ารายได้ในปัจจุบันไม่เพียงพอ ต้องการอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
ส่วนวิธีป้องกันตัวเองเพื่อให้ปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อในวงจรธุรกิจแชร์ลูกโซ่ นั้น ประชาชนร้อยละ 39.8 ระบุว่า ให้ปฏิเสธทันทีเมื่อมีคนเข้ามาคุยและ เชิญชวนร่วมทำธุรกิจประเภทนี้รองลงมาร้อยละ 33.5 ระบุว่า ให้คิดไว้เสมอว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ และร้อยละ 14.9 ระบุว่า ต้องหาข้อมูลให้รอบด้านและปรึกษา คนรอบข้าง ก่อนตัดสินใจ
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
แชร์ลูกโซ่ที่แฝงมากับการลงทุนเช่นน้ำมันทองคำสกุลเงินต่างประเทศ ร้อยละ 95.9 แชร์ลูกโซ่ที่แฝงมากับธุรกิจขายตรง ร้อยละ 52.9 แชร์ลูกโซ่ออนไลน์ ร้อยละ 50.0 แชร์ลูกโซ่ที่แฝงมากับกองทุน ร้อยละ 33.3 2. เมื่อถามว่า “อะไร/ปัจจัยที่แชร์ลูกโซ่จูงใจคนให้หลงเชื่อ” พบว่า คนมีความโลภเป็นจุดอ่อน ร้อยละ 47.7 ได้รับผลตอบแทนสูงมากกว่าปกติ/ สูงกว่าทำธุรกิจอื่นๆ ร้อยละ 28.6 คนอยากหารายได้เพิ่มที่รวดเร็ว/ เห็นผลเร็ว ร้อยละ 10.3 การถูกชักชวนจากคนสนิท/ คนไว้ใจ/ ไว้ใจคนง่าย ร้อยละ 6.3 รู้ไม่ทันขบวนการจัดฉากสร้างภาพและอาศัยสื่อโซเชียลให้ดูน่าเชื่อถือ ร้อยละ 5.1 มีการจูงใจว่าเป็นการร่วมลงทุน ร้อยละ 2.0 3.จากกรณีแชร์ลูกโซ่สะท้อนหรือให้บทเรียนอะไรกับสังคมไทย มีคนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อเพียงเพราะอยากได้รับผลตอบแทนสูง ร้อยละ 40.7 สังคมขาดการให้ความรู้/ เท่าทัน ต่อกระบวนการลงทุน ร้อยละ 21.0 รายได้ในปัจจุบันไม่เพียงพอ ต้องการอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ร้อยละ 17.1 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และสื่อโซเชียลทำให้คนหลงเชื่อในเวลาอันสั้น ร้อยละ 8.5 คนไทยลืมง่ายและยังไม่เห็นบทลงโทษคดีเหล่านี้รุนแรงพอ ร้อยละ 7.6 ทำให้จำนวนคนเป็นหนี้มากขึ้นเพราะกู้เงินมาลงทุน ส่งผลให้เงินในระบบ ร้อยละ 5.1 เศรษฐกิจของประเทศหายไป 4. วิธีป้องกันตัวเองเพื่อให้ตนเองปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อในวงจรธุรกิจแชร์ลูกโซ่ ปฏิเสธทันทีเมื่อมีคนเข้ามาคุยและเชิญชวนร่วมทำธุรกิจประเภทนี้ ร้อยละ 39.8 คิดไว้เสมอว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ ร้อยละ 33.5 ต้องหาข้อมูลให้รอบด้านและปรึกษาคนรอบข้าง ร้อยละ 14.9 คิดเสมอว่าการลงทุนมีความเสี่ยงถ้าไม่พร้อมอย่าเสี่ยง ร้อยละ 11.8 ?
รายละเอียดการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับกรณีแชร์ลูกโซ่รูปแบบต่างๆในสังคมไทย บทเรียนที่สังคมไทยได้รับ ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจ ตลอดจน วิธีป้องกันไม่ให้ตนเองตกเป็นเหยื่อเพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ?3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 19-20 พฤศจิกายน 2562
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 23 พฤศจิกายน 2562
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--