กรุงเทพโพลล์: “ประชาชนกับวิกฤตภัยแล้ง 2020”

ข่าวผลสำรวจ Monday January 20, 2020 08:34 —กรุงเทพโพลล์

ประชาชนส่วนใหญ่ 72.5% กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุดต่อสถานการณ์ภัยแล้ง

ส่วนใหญ่ 50.5% กังวลเรื่องการทำเกษตร/รายได้เกษตรกร/พืชผลเกษตรเสียหาย 81.5%มีการเตรียมรับมือกับภัยแล้ง โดย 67.8% ใช้น้ำ อย่างประหยัดขึ้น 53.3% เห็นว่าภัยแล้งจะกระทบต่อการดำรงชีวิตและอาชีพค่อนข้างมากถึงมากที่สุด 57.0% เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุดว่าการเปิดกอง อำนวยการน้ำแห่งชาติจะช่วยแก้ภัยแล้งได้

กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ประชาชนกับวิกฤตภัยแล้ง 2020” โดยเก็บข้อมูล กับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,182 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 50.5 กังวลเรื่องการทำเกษตร/รายได้เกษตรกร/พืชผลเกษตรเสียหายมากที่สุด หากเกิดสถานการณ์ภัยแล้ง รองลงมาคือ ไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้คิดเป็นร้อยละ 49.1และข้าวของราคาแพงขึ้น /ราคาสินค้าเกษตรแพงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 48.6

เมื่อถามว่าวิตกกังวลมากน้อยเพียงใดกับสถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่าจะมีความรุนแรงมากเป็นอันดับสองในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ปี 2522 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.5 กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 27.5 กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

สำหรับการเตรียมรับมือกับภัยแล้งพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 81.5 มีการเตรียมรับมือ โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 67.8 ใช้น้ำอย่างประหยัดขึ้น รองลงมา ร้อยละ 19.5 กักตุนน้ำดื่ม และร้อยละ 18.0 ซื้อถังเก็บน้ำ ขณะที่ร้อยละ 18.5 ไม่มีการเตรียมรับมือ เพราะน่าจะมีน้ำใช้เพียงพอ

เมื่อถามความเห็นต่อสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและอาชีพของท่านมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 53.3 เห็นว่า มีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 46.7 เห็นว่ามีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

สุดท้ายเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อการเปิดกองอำนวยการน้ำแห่งชาติของหน่วยงานรัฐ จะสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งและทำให้คนไทยมีน้ำใช้ตลอดทั้งปีได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.0 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 43.0 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้

1. เรื่องที่กังวลหากเกิดสถานการณ์ภัยแล้ง(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
การทำเกษตร/รายได้เกษตรกร/พืชผลเกษตรเสียหาย          ร้อยละ   50.5
ไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้                                      ร้อยละ   49.1
ข้าวของราคาแพงขึ้น /ราคาสินค้าเกษตรแพงขึ้น              ร้อยละ   48.6
ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ                             ร้อยละ   36.7
การเกิดไฟป่า                                       ร้อยละ   26.4
การกักตุนสินค้า /สินค้าขาดแคลน เช่น น้ำดื่ม                ร้อยละ   24.6

2. วิตกกังวลมากน้อยเพียงใดกับสถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่าจะมีความรุนแรงมากเป็นอันดับสองในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ ปี 2522
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด                                ร้อยละ   72.5
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 52.0 และมากที่สุดร้อยละ 20.5)
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด                                ร้อยละ   27.5
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 19.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 7.7)

3. ข้อคำถาม “มีการเตรียมรับมือกับภัยแล้งหรือไม่”
มีการเตรียมรับมือ                                    ร้อยละ   81.5
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  ใช้น้ำอย่างประหยัดขึ้น             ร้อยละ   67.8
                    กักตุนน้ำดื่ม                     ร้อยละ   19.5
                    ซื้อถังเก็บน้ำ                    ร้อยละ   18.0
                    เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน         ร้อยละ    6.7
                    งดทำการเกษตร/เปลี่ยนอาชีพ       ร้อยละ    5.4
                    อื่นๆ เช่น สร้างฝาย ขุดบ่อน้ำ       ร้อยละ    4.4
ไม่มีการเตรียมรับมือ เพราะน่าจะมีน้ำใช้เพียงพอ             ร้อยละ   18.5

4. ความเห็นต่อสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและอาชีพมากน้อยเพียงใด
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด                                ร้อยละ   53.3
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 38.2 และมากที่สุดร้อยละ 15.1)
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด                                ร้อยละ   46.7
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 30.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 15.9 )

5. ความเชื่อมั่นต่อการเปิดกองอำนวยการน้ำแห่งชาติของหน่วยงานรัฐ จะสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งและทำให้คนไทยมีน้ำใช้ตลอดทั้งปีได้
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด                                ร้อยละ   57.0
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 37.3 และน้อยที่สุดร้อยละ 19.7)
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด                                ร้อยละ   43.0
(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 37.0 และมากที่สุดร้อยละ 6.0)

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1) เพื่อสะท้อนถึงความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น

2) เพื่อต้องการทราบถึงการรับมือกับภัยแล้ง

3) เพื่อสะท้อนถึงความเชื่อมั่นต่อการเปิดกองอำนวยการน้ำแห่งชาติของหน่วยงานรัฐ จะสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งและทำให้คนไทยมีน้ำใช้ตลอดทั้งปีได้

ประชากรที่สนใจศึกษา

การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 14-15 มกราคม 2563

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 18 มกราคม 2563

--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ