ประชาชนร้อยละ 42.7 ระบุยังหาซื้อหน้ากากอนามัยไม่ได้เลย และร้อยละ 23.2 ระบุว่าหาซื้อได้ยากถึงยากที่สุด โดยร้อยละ 58.0 เห็นว่าวิธีจัดการปัญหา หน้ากากอนามัยขาดแคลน โดยภาครัฐที่ทำอยู่นั้นอาจเกิดการกักตุนหน้ากากอนามัย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นายทุนเก็งกำไร
ทั้งนี้หากขาดแคลนหน้ากากอนามัยประชาชนกังวลว่าจะกระทบต่อทางการแพทย์ สาธารณสุข การรักษาพยาบาล สูงที่สุด โดยประชาชนร้อยละ 56.4 ระบุว่า รัฐบาลควรเปลี่ยนให้ผู้มีความรู้ความสามารถมาจัดการเรื่องนี้แทน และร้อยละ52.6 ระบุว่าลงโทษให้หนักกับผู้กักตุนหน้ากากอนามัย
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “วิกฤตการณ์ ตามหาหน้ากากอนามัย” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจาก ทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,199 คน พบว่า
ประชาชนร้อยละ 42.7 ระบุว่าปัจจุบันหาซื้อหน้ากากอนามัยไม่ได้เลย รองลงมาร้อยละ 23.2 ระบุว่า หาซื้อได้ยากถึงยากที่สุด ต้องตระเวนหาหลายร้าน หลายจุด และร้อยละ 14.8 ระบุว่าพอหาซื้อได้บ้าง ต้องซื้อ ณ จุด/ร้าน ที่รัฐประกาศขาย
ส่วนความเห็นต่อการจัดการปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน โดยภาครัฐ นั้น ประชาชนร้อยละ 58.0 เห็นว่า อาจเกิดการกักตุนหน้ากากอนามัย เพื่อเอื้อประโยชน์ ให้นายทุนเก็งกำไร รองลงมาร้อยละ 53.8 เห็นว่า ขาดการกระจายสินค้าไปยังร้านค้าปลีก ร้านค้าส่งต่างๆ ทั่วประเทศ และร้อยละ 32.3 เห็นว่า ระบบการจัดการ อาจกระทบ ต่อการสาธารณสุข / การรักษาทางการแพทย์
ทั้งนี้เมื่อให้วัดระดับความกังวลถึงผลกระทบต่างๆ หากขาดแคลนหน้ากากอนามัย จากเต็ม 5 พบว่า ประชาชนกังวลว่าจะกระทบต่อการแพทย์ สาธารณสุข การรักษา พยาบาล สูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87 ซึ่งอยู่ในระดับ “มาก” รองลงมากังวลว่าจะส่งผลกระทบให้เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 มากขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.83 ซึ่งอยู่ในระดับ “มาก” และ จะส่งผลกระทบให้หน้ากากอนามัยมีราคาสูง/หาซื้อไม่ได้/ผู้มีรายได้น้อยเข้าไม่ถึงโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ซึ่งอยู่ในระดับ “มาก”
สำหรับสิ่งที่รัฐบาลควรแสดงบทบาทต่อแผนการจัดการหน้ากากอนามัย พบว่าประชาชนร้อยละ 56.4 ระบุว่ารัฐบาลควรปรับเปลี่ยนให้ผู้มีความรู้ความสามารถมา บริหารจัดการแทน รองลงมาร้อยละ 52.6 ระบุว่าให้ลงโทษผู้กักตุนหน้ากากอนามัยด้วยโทษสถานหนัก และร้อยละ 45.4 ระบุว่านายกรัฐมนตรีควรลงมาดูและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ไม่ควรเชื่อเพียงการรายงาน
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
หาซื้อไม่ได้เลย ร้อยละ 42.7 หาซื้อได้ยาก-ยากที่สุด ต้องตระเวนหาหลายร้าน หลายจุด ร้อยละ 23.2 หาซื้อได้บ้าง ต้องซื้อ ณ จุด/ร้าน ที่รัฐประกาศขาย ร้อยละ 14.8 หาซื้อได้ง่าย ตามร้านขายยาใกล้บ้าน ร้านค้าทั่วไป และซื้อผ่านออนไลน์ ร้อยละ 19.3 2. ความเห็นต่อการจัดการ ปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน โดยภาครัฐ (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ) อาจเกิดการกักตุนหน้ากากอนามัย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้นายทุนเก็งกำไร ร้อยละ 58.0 ขาดการกระจายสินค้าไปยังร้านค้าปลีก ร้านค้าส่งต่างๆ ทั่วประเทศ ร้อยละ 53.8 ระบบการจัดการ กระจายสินค้ากระทบต่อการสาธารณสุข / การรักษาทางการแพทย์ ร้อยละ 32.3 เป็นการผูกขาดการจัดจำหน่าย ร้อยละ 23.0 มีการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 13.7 รัฐควบคุมโรงงาน การผลิตได้อย่างรอบคอบเป็นระบบ ร้อยละ 9.3 3. ระดับความกังวลถึงผลกระทบต่างๆ ต่อการขาดแคลนหน้ากากอนามัย ผลกระทบ ระดับความกังวล (เต็ม 5 ) การแพทย์ สาธารณสุข การรักษาพยาบาล 3.87 มาก เกิดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 /การแพร่ระบาดมากขึ้น 3.83 มาก หน้ากากอนามัยมีราคาสูง/หาซื้อไม่ได้/ผู้มีรายได้น้อยเข้าไม่ถึง 3.80 มาก การกระจายสินค้าไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ไม่ทั่วถึง 3.77 มาก ประชาชนหวาด วิตก เกิดความเครียด เพราะไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน 3.74 มาก 4. สิ่งที่รัฐบาลควรแสดงบทบาทต่อแผนการจัดการหน้ากากอนามัย (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ) รัฐบาลควรปรับเปลี่ยนให้ผู้มีความรู้ความสามารถมาบริหารจัดการ แก้ไขปัญหาหน้ากากอนามัยอย่างมีประสิทธิภาพแทน ร้อยละ 56.4 ลงโทษผู้กักตุนหน้ากากอนามัยด้วยโทษสถานหนัก เพราะมีส่วนทำให้ประชาชนที่หาซื้อไม่ได้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ร้อยละ 52.6 นายกรัฐมนตรีควรลงมาดูและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ไม่ควรเชื่อเพียงรายงานว่าหน้ากากอนามัยมีเพียงพอ ร้อยละ 45.4 กดดันให้รัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมแสดงความรับผิดชอบ ร้อยละ 28.9
รายละเอียดการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับเรื่องหน้ากากอนามัยที่ใช้ป้องการการติดเชื้อ COVID-19 ในประเด็นการหาซื้อ บทบาทและการบริหาร จัดการของรัฐบาลในเรื่องหน้ากากอนามัย ตลอดจนความกังวลถึงผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดขึ้นหากขาดแคลนหน้ากากอนามัยเพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้ สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 10 - 11 มีนาคม 2563
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 14 มีนาคม 2563
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์