ขอพรสงกรานต์ปีใหม่ไทย ประชาชนส่วนใหญ่ 76.1% อยากให้เศรษฐกิจดี ทำมาหากินคล่อง มีกินมีใช้ เรื่องที่อยากให้คำมั่นสัญญา ส่วนใหญ่ 85.7% อยากให้คำมั่นว่าจะอยู่บ้าน-หยุดเชื้อ-เพื่อชาติในช่วง covid-19 เรื่องที่อยากส่งกำลังใจ ส่วนใหญ่ 91.9% อยากขอให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนปลอดภัย
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ขอพรสงกรานต์ปีใหม่ไทย คนไทยอยากได้อะไร” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศพบว่า พรที่ประชาชนอยากขอมากที่สุดในวันสงกรานต์ ปีใหม่ไทยคือ ขอให้เศรษฐกิจดี ทำมาหากินคล่อง มีกินมีใช้ คิดเป็นร้อยละ 76.1 รองลงมาคือ ขอให้ผลิตวัคซีนรักษาเชื้อ covid-19 ได้โดยเร็วคิดเป็นร้อยละ 57.2 ขอให้เชื้อ covid-19 หายไปจากโลกนี้คิดเป็นร้อยละ 55.4 ขอให้ประเทศมีความมั่นคง ปลอดภัยคิดเป็นร้อยละ 46.6 และขอให้คนในประเทศรักและสามัคคีกัน คิดเป็นร้อยละ 46.5
สำหรับเรื่องที่อยากให้คำมั่นสัญญาในช่วงสถานการณ์ covid-19 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 บอกจะอยู่บ้าน-หยุดเชื้อ-เพื่อชาติ รองลงมาร้อยละ 45.7 บอกจะดูแลตัวเอง -ล้างมือ- กินร้อน –ช้อนกู ร้อยละ 45.5 บอกจะเชื่อฟังคำสั่งทางการ –ประกาศ พรก. ฉุกเฉิน – จะฝ่าวิกฤตตินี้ไปด้วยกัน และร้อยละ 28.7 บอกจะป้องกันตนเอง-ป้องกันคนอื่น-ป้องกันสังคม ด้วยการใส่หน้ากาก
ส่วนเรื่องที่อยากบอก อยากทำ อยากส่งกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ที่ต่อสู้กับ covid-19 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.9 อยากบอกว่าเราขอ เป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ขอให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนปลอดภัย รองลงมาร้อยละ 68.8 อยากบอกว่าเราจะไม่เดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัด ข้ามประเทศ และร้อยละ 42.4 อยากบอกว่าเราจะร่วมบริจาคเงินสนับสนุนการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ รวมทั้งชุด PPE
รายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
ขอให้เศรษฐกิจดี ทำมาหากินคล่อง มีกินมีใช้ ร้อยละ 76.1 ขอให้ผลิตวัคซีนรักษาเชื้อ covid-19 ได้โดยเร็ว ร้อยละ 57.2 ขอให้เชื้อ covid-19 หายไปจากโลกนี้ ร้อยละ 55.4 ขอให้ประเทศมีความมั่นคง ปลอดภัย ร้อยละ 46.6 ขอให้คนในประเทศรักและสามัคคีกัน ร้อยละ 46.5 ขอให้สุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บไม่ป่วย ร้อยละ 44.4 ขอให้ตนเองและคนใกล้ตัวไม่ติดเชื้อ covid-19 ร้อยละ 41.3 ขอให้บุคลากรทางการแพทย์มีอุปกรณ์เครื่องมือที่เพียงพอในการตรวจไวรัส COVID19 ร้อยละ 34.3 ขอให้มีงานทำ มีเงินเดือน ไม่ตกงาน ร้อยละ 24.6 ขอให้สถานการณ์ปกติโดยเร็ว เลิกกักตัวเร็วๆ ใช้ชีวิตได้ปกติเสียที ร้อยละ 16.9 ขอให้สินค้าไม่โก่งราคา ไม่มีการกักตุน ร้อยละ 11.4 ขอให้ชีวิตอยู่รอดปลอดภัย ร้อยละ 10.1 อื่นๆ เช่น ขอให้ได้เงินช่วยเหลือจากรัฐ ขอให้แพทย์มีอุปกรณ์เพียงพอ ร้อยละ 1.8 2. เรื่องที่อยากให้คำมั่นสัญญาในช่วงสถานการณ์ covid-19 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) จะอยู่บ้าน-หยุดเชื้อ-เพื่อชาติ ร้อยละ 85.7 จะดูแลตัวเอง -ล้างมือ- กินร้อน -ช้อนกู ร้อยละ 45.7 จะเชื่อฟังคำสั่งทางการ –ประกาศ พรก. ฉุกเฉิน – จะฝ่าวิกฤตตินี้ไปด้วยกัน ร้อยละ 45.5 จะป้องกันตนเอง-ป้องกันคนอื่น-ป้องกันสังคม ด้วยการใส่หน้ากาก ร้อยละ 28.7 จะรักสามัคคีกัน-ช่วยเหลือ-ให้กำลังใจกัน-ไม่เอาเปรียบ-ไม่กักตุนสินค้า ร้อยละ 13.1 จะทิ้งระยะห่าง – ไม่ชุมนุม – ไม่อยู่ในที่คนพลุกพล่าน ร้อยละ 9.1 อื่นๆ เช่น จะทำหน้ากากอนามัยใช้เอง ร้อยละ 1.5 3. เรื่องที่อยากบอก อยากทำ อยากส่งกำลังใจอะไรให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ที่ต่อสู้กับ covid-19 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) เราขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ขอให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนปลอดภัย ร้อยละ 91.9 เราจะไม่เดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัด ข้ามประเทศ ร้อยละ 68.8 เราจะร่วมบริจาคเงินสนับสนุนการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจ รวมทั้งชุด PPE ร้อยละ 42.4 เราจะร่วมบริจาคซื้อแอลกอฮอล์ เจลล้างมือให้แก่ประชาชนทั่วไป ร้อยละ 40.7 เราจะร่วมบริจาคหน้ากากอนามัย / หน้ากาก N95 ที่ใช้ในทางการแพทย์ ร้อยละ 33.4 เราจะปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด-อยู่บ้าน-ทิ้งระยะห่างเมื่อออกไปข้างนอก ร้อยละ 13.9 อิ่นๆ เช่น เราขอขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ร้อยละ 2.3
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อสะท้อนถึงพรที่อยากขอในวันสงกรานต์ ปีใหม่ไทย
2) เพื่อสะท้อนเรื่องที่อยากบอก อยากให้คำมั่นสัญญาในช่วงสถานการณ์ covid-19
3) เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่อยากบอก อยากทำ อยากส่งกำลังใจอะไรให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ที่ต่อสู้กับ covid-19
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 5 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95
ใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ผ่าน social media รูปแบบต่างๆ โดยเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถาม แบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนการประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 1-9 เมษายน 2563
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 12 เมษายน 2563
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์