ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 92.6 ปรับการดำเนินชีวิตเพื่อเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ด้วยการ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน เป็นประจำ ส่วนเรื่องเรียนออนไลน์ ควบคู่ไปกับการไปเรียนที่โรงเรียน/มหาวิทยาลัยนั้น ร้อยละ 70.0 ระบุว่า ยังไม่ได้ปฏิบัติเลย
ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 74.8 ระบุว่า มาตรการที่ควรออกมารองรับ/สนับสนุน ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของประชาชน คือ การจัดอบรม ฝึกอาชีพ จัดหางาน สำหรับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง จากการปรับรูปแบบการทำงาน รองลงมาร้อยละ 67.2 ควรขยายโอกาสให้เด็กที่มีฐานะยากจนมีสิทธิเข้าถึงการ เรียนแบบออนไลน์ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “New Normal ชีวิตวิถีใหม่ของคนไทย” โดยเก็บข้อมูลกับ ประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,201 คน พบว่า
สืบเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 พบว่าประชาชนได้ปรับการดำเนินชีวิตเพื่อเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยพบว่าสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.6 ปฏิบัติเป็นประจำคือ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน รองลงมาร้อยละ 73.5 คือ ล้างมือ กินร้อน ช้อนตัวเอง และร้อยละ 73.3 คือ งด/ ปรับรูปแบบการจัดกิจกรรม งานเลี้ยงสังสรรค์แบบหมู่คณะ ให้มีระยะห่าง
ส่วนสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 70.0 ไม่ได้ปฏิบัติเลย คือ เรียนออนไลน์ ควบคู่ไปกับการไปเรียนที่โรงเรียน/มหาวิทยาลัย รองลงมาร้อยละ 47.4 คือ การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านออนไลน์ จ่ายเงินแบบไร้เงินสด(Cashless) และร้อยละ 44.7 คือ การสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ แทนการออกไปที่ร้าน
ส่วนมาตรการที่ควรออกมารองรับ/สนับสนุน ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของประชาชน นั้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 74.8 ระบุว่าควรจัดอบรม ฝึกอาชีพ จัดหางาน สำหรับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง จากการปรับรูปแบบการทำงาน รองลงมาร้อยละ 67.2 ระบุว่าควรขยายโอกาสให้เด็กที่มีฐานะยากจนมีสิทธิเข้าถึงการเรียน แบบออนไลน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และร้อยละ 62.1 ระบุว่าหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ ต้องหาซื้อง่าย ราคาถูก
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
ประเด็น เป็นประจำ บ่อยๆ บางครั้ง นานๆครั้ง ไม่ได้ทำเลย สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน 92.6 6.0 1.3 0.1 - ล้างมือ กินร้อน ช้อนตัวเอง 73.5 19.4 6.0 0.8 0.3 งด/ ปรับรูปแบบการจัดกิจกรรม งานเลี้ยงสังสรรค์แบบหมู่คณะ ให้มีระยะห่าง 73.3 6.9 4.1 3.4 12.3 เว้นระยะห่างขณะยืนรอ/ใช้บริการขนส่งสาธารณะ 69.2 11.0 5.1 2.9 11.8 ทำงานที่บ้าน เหลื่อมเวลาในการเข้างาน สลับวันหยุด แยกโต๊ะทำงาน 54.8 10.1 5.7 1.1 28.3 การเว้นระยะห่างทางสังคม อย่างน้อย 1-2 เมตร 52.6 25.1 16.6 3.1 2.6 สั่ง/ซื้ออาหารมาทานที่บ้าน ไม่นั่งทานอาหารร่วมกัน นั่งทานอาหารโต๊ะละคน 36.5 8.7 16.1 9.1 29.6 เรียนออนไลน์ ควบคู่ไปกับการไปเรียนที่โรงเรียน/มหาวิทยาลัย 18.2 3.6 7.6 0.6 70.0 การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านออนไลน์ จ่ายเงินแบบไร้เงินสด(Cashless) 15.2 13.0 17.4 7.0 47.4 การสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ แทนการออกไปที่ร้าน 6.7 10.6 23.7 14.3 44.7 2. มาตรการที่ควรมีเพื่อมารองรับ/สนับสนุน ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของประชาชน (เลือกตอบได้มากกว่า1 ข้อ) อบรม ฝึกอาชีพ จัดหางาน สำหรับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง จากการปรับรูปแบบการทำงาน ร้อยละ 74.8 ขยายโอกาสให้เด็กที่มีฐานะยากจนมีสิทธิเข้าถึงการเรียนแบบออนไลน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร้อยละ 67.2 หน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ ต้องหาซื้อง่าย ราคาถูก ร้อยละ 62.1 เพิ่มพื้นที่บริการและความแรงของสัญญาณอินเทอร์เนต เพื่อรองรับการทำงานที่บ้านและการเรียนออนไลน์ ร้อยละ 55.9 เข้มงวดกับผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะทุกราย โดยยึดหลัก Social Distancing ร้อยละ 50.1 ขอความร่วมมืออย่างจริงจังจากภาครัฐและเอกชน ตลอดจนห้างร้านต่างๆ จัดพื้นที่การทำงานของพนักงานโดยเว้นระยะห่าง ร้อยละ 48.7 สนับสนุน และให้ความรู้ แก่ร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ เรื่องการขายออนไลน์ และบริการส่งถึงบ้าน ร้อยละ 43.0
รายละเอียดการสำรวจ
เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการปรับรูปแบบในการดำเนินชีวิตสู่ “ ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)” อันสืบเนื่องจากสถานการณ์ไวรัส COVID -19 ตลอดจนมาตรการต่างๆที่ควรออกมารองรับหรือสนับสนุนชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของประชาชน เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 18 - 20 พฤษภาคม 2563
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 23 พฤษภาคม 2563
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์