ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.9 เห็นว่าการต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินมีผลต่อการดำเนินชีวิตค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด โดยกังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด กับสถานที่ที่ผ่อนปรนในเฟสแรกและเฟสสองว่าจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ทั้งนี้หากมีการผ่อนปรนในเฟสที่ 3 และเฟสที่ 4 สถานที่ที่คนกังวลมากที่สุดว่า อาจจะทำให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 คือ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คิดเป็นร้อยละ 80.5 รองลงมาคือสนามมวย สนามม้าคิดเป็นร้อยละ 77.6 โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 82.4 เห็นด้วยกับการลดเวลาเคอร์ฟิวลง ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.5 เชื่อว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉินยังจำเป็นค่อนข้างมากถึงมากที่สุดต่อการควบคุม การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่วนใหญ่ร้อยละ 77.9 ห่วงอนาคตประเทศเรื่องปัญหาการขาดรายได้ของประชาชนรองลงมาร้อยละ 70.0 มีการว่างงานสูงขึ้น
กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “คนไทยว่ายังไง…กับการต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,205 คน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.9 เห็นว่าการต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน การล็อกดาวน์ มีผลต่อการดำเนินชีวิต การทำงาน การเรียน ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 42.1 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
เมื่อถามว่ากังวลมากน้อยเพียงใดต่อสถานที่ที่เปิดจากมาตรการผ่อนปรนเฟสแรกและเฟสสองว่าจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ได้ พบว่า ใน มาตรการผ่อนปรนเฟสแรกเคอร์ฟิว 22.00 – 04.00 น. เช่น ตลาด ร้านอาหารขนาดเล็ก สนามกีฬากลางแจ้ง ร้านตัดผม ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.8 มีความกังวลต่อสถานที่ที่ผ่อนปรนค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (แบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 43.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 18.0) ขณะที่ร้อยละ 38.2 มีความกังวล ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (แบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 32.8 และมากที่สุดร้อยละ 5.4)
ส่วนมาตรการผ่อนปรนเฟสสอง เคอร์ฟิว 23.00 – 04.00 น. เช่น ห้างสรรพสินค้า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.6 มีความกังวลต่อสถานที่ ที่ผ่อนปรนค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (แบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 44.6 และน้อยที่สุดร้อยละ 17.0) ขณะที่ร้อยละ 38.4 มีความกังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด (แบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 32.6 และมากที่สุดร้อยละ 5.8)
ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าสถานที่ที่กังวลมากที่สุดหากมีการผ่อนปรนในเฟสที่ 3 และเฟสที่ 4 ว่าอาจจะทำให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้ คือ สถานบันเทิง ผับ บาร์คิดเป็นร้อยละ 80.5 รองลงมาคือ สนามมวย สนามม้า สนามแข่งกีฬาต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 77.6 และโรงภาพยนตร์ คิดเป็นร้อยละ 46.2
เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการลดเวลาเคอร์ฟิวลงเหลือ 23.00 – 03.00 น. ส่วนใหญ่ร้อยละ 82.4 เห็นด้วยเพราะ เวลาไม่ได้แตกต่างจาก เดิมที่ 23.00 – 04.00 น. จะได้มีความยืดหยุ่นในการดำเนินชีวิตได้มากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 17.6 ไม่เห็นด้วยเพราะ จะทำให้มีการพบปะ สังสรรค์ ชุมนุมกันเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19
สำหรับความเห็นต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินยังจำเป็นมากน้อยเพียงใดต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ส่วนใหญ่ร้อยละ 69.5 เห็นว่ายัง จำเป็นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 30.5 เห็นว่าจำเป็นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
สุดท้ายเมื่อถามถึงเรื่องที่ห่วงมากที่สุด กับอนาคตของประเทศไทย ในการต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน คือ ปัญหาการขาดรายได้ ค่าครองชีพของประชาชนคิด เป็นร้อยละ 77.9 รองลงมาคือ มีการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 70.0 และการศึกษาของลูกหลานเรียนออนไลน์คิดเป็นร้อยละ 57.7
โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถามดังต่อไปนี้
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 57.9 (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 33.7 และน้อยที่สุดร้อยละ 24.2) ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 42.1 (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 32.6 และมากที่สุดร้อยละ 9.5) 2. ข้อคำถาม “ท่านกังวลมากน้อยเพียงใดต่อสถานที่ที่เปิดจากมาตรการผ่อนปรนเฟสแรกและเฟสสองว่าจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ได้” มาตรการผ่อนปรน ความกังวล ค่อนข้างมาก มากที่สุด ค่อนข้างน้อย น้อยที่สุด รวม (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) (ร้อยละ) เฟสแรก เคอร์ฟิว 22.00 – 04.00 น. เช่น ตลาด 32.8 5.4 43.8 18.0 100.0 ร้านอาหารขนาดเล็ก สนามกีฬากลางแจ้ง ร้านตัดผม เฟสสอง เคอร์ฟิว 23.00 – 04.00 น. เช่น 32.6 5.8 44.6 17.0 100.0 ห้างสรรพสินค้า 3. สถานที่ที่กังวลหากมีการผ่อนปรนในเฟสที่ 3 และเฟสที่ 4 ว่าอาจจะทำให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ได้ (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) สถานบันเทิง ผับ บาร์ ร้อยละ 80.5 สนามมวย สนามม้า สนามแข่งกีฬาต่างๆ ร้อยละ 77.6 โรงภาพยนตร์ ร้อยละ 46.2 สถานบริการ สปา ร้านนวด ร้อยละ 41.7 อื่นๆ อาทิเช่น ไม่กังวลเลย สถานที่กวดวิชา โรงเรียน ร้อยละ 6.1 4. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่กับการลดเวลาเคอร์ฟิวลงเหลือ 23.00 – 03.00 น.” เห็นด้วยเพราะ เวลาไม่ได้แตกต่างจากเดิมที่ 23.00 – 04.00 น. จะได้มีความยืดหยุ่นในการดำเนินชีวิตได้มากขึ้น ร้อยละ 82.4 ไม่เห็นด้วยเพราะ จะทำให้มีการพบปะ สังสรรค์ ชุมนุมกันเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ร้อยละ 17.6 5. ความเห็นต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินยังจำเป็นมากน้อยเพียงใดต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 69.5 (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 55.2 และมากที่สุดร้อยละ 14.3) ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ร้อยละ 30.5 (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ18.7 และน้อยที่สุดร้อยละ 11.8) 6. เรื่องที่ห่วงมากที่สุด กับอนาคตของประเทศไทย ในการต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ปัญหาการขาดรายได้ ค่าครองชีพของประชาชน ร้อยละ 77.9 มีการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 70.0 การศึกษาของลูกหลานเรียนออนไลน์ ร้อยละ 57.7 ธุรกิจ ผู้ประกอบการเจ๊ง ร้อยละ 49.4 ปัญหาการท่องเที่ยวในประเทศ ร้อยละ 42.5 การลงทุนจากต่างประเทศ ร้อยละ 34.6 อื่นๆ อาทิเช่น ไม่มีอะไรห่วง มีการต่อ พ.ร.ก. อีก ร้อยละ 1.9
รายละเอียดการสำรวจ
1) เพื่อต้องการทราบถึง พ.ร.ก. ฉุกเฉิน การล็อกดาวน์ มีผลต่อการดำเนินชีวิต การงาน การเรียน ของประชาชนมากน้อยเพียงใด
2) เพื่อสะท้อนถึงความกังวลต่อสถานที่ที่เปิดจากมาตรการผ่อนปรนว่าจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ได้
3) เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการลดเวลาเคอร์ฟิวลงเหลือ 23.00 – 03.00 น.
4) เพื่อสะท้อนความจำเป็นต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉินต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19
5) เพื่อสะท้อนถึงเรื่องที่ห่วงมากที่สุด กับอนาคตของประเทศไทย ในการต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน
การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการ ปกครองกระทรวงมหาดไทย
การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน ? 3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบ ด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 25-27 พฤษภาคม 2563
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ : 30 พฤษภาคม 2563
ที่มา: ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์