วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนที่ติดตามข่าวการทำงานของวุฒิสภาในประเด็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
(สตง.) ดังต่อไปนี้
1. ความเหมาะสมในการสั่งปิดการประชุมของประธานวุฒิสภาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมาโดยไม่ได้มีการสรุปเรื่องการใช้อำนาจของ
วุฒิสภาตีความรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยความเป็นที่สุดของการแต่งตั้งคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เป็นผู้ว่าการ สตง.
2. ความไว้วางใจให้นายสุชน ชาลีเครือ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานวุฒิสภาต่อไปจนครบวาระ
3. ความเหมาะสมในการทำหน้าที่ที่ผ่านมาของวุฒิสภาในประเด็นเรื่องการแต่งตั้งผู้ว่าการ สตง.
4. ความมั่นใจว่าวุฒิสภาจะสามารถตัดสินใจหาทางออกกรณีการแต่งตั้งผู้ว่าการ สตง.ได้อย่างเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของสังคม
5. ความเห็นต่อการทำหน้าที่หลัก 4 ประการของวุฒิสภาชุดปัจจุบัน
6. สิ่งที่ต้องการฝากถึงวุฒิสภาเพื่อเป็นแนวทางการทำงานก่อนครบวาระในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างนักวิชาการ ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน และนิสิตนักศึกษาปริญญาโทสาขารัฐ
ศาสตร์และนิติศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ติดตามข่าวการทำงานของวุฒิสภาในประเด็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
(สตง.) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 551 คน เป็นชายร้อยละ 44.1 หญิงร้อยละ 55.9
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 20-25 ปีร้อยละ 31.4 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 38.3 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 21.6 และอายุ 46 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 8.7
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการร้อยละ 14.2 ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 30.9 พนักงานลูกจ้างบริษัท
เอกชนร้อยละ 35.4 และนิสิตนักศึกษาปริญญาโทร้อยละ 19.6
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 4-5 ตุลาคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 5 ตุลาคม 2548
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามความเห็นต่อการที่นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภาสั่งปิดการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมาโดยไม่ได้มีการ
สรุปเรื่องการใช้อำนาจของวุฒิสภาตีความรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยความเป็นที่สุดของการแต่งตั้งคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
(สตง.) นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.5 เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องไม่เหมาะสม เพราะ เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ หนีปัญหาที่ตนเองมี
ส่วนสร้างขึ้นมา ปัดภาระให้พ้นตัวโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ ปิดกั้นความคิดเห็นของสมาชิกเสียงข้างน้อย และควรมีการประชุมต่อเพื่อ
ให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในส่วนของวุฒิสภาเสียก่อน ขณะที่ร้อยละ 6.2 เห็นว่าเหมาะสม เพราะ เป็นการทำหน้าที่ภายใต้ขอบเขตของอำนาจที่มีอยู่
และร้อยละ 32.3 ไม่แน่ใจ
2. ส่วนความไว้วางใจให้นายสุชน ชาลีเครือ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานวุฒิสภาต่อไปจนครบวาระในวันที่ 21 มีนาคม 2549 นั้น
ร้อยละ 54.1 ระบุว่าไม่ไว้วางใจ มีเพียงร้อยละ 7.1 ที่ไว้วางใจ และร้อยละ 38.8 ไม่มีความเห็น
3. สำหรับความคิดเห็นต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสภาในเรื่องการแต่งตั้งผู้ว่าการ สตง. สรุปผลได้ดังนี้
- ร้อยละ 20.7 เห็นว่าวุฒิสภาทำหน้าที่ดังกล่าวได้เหมาะสมแล้ว โดยให้เหตุผลว่า เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และต้นเหตุของ
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่วุฒิสภา
- ร้อยละ 73.9 เห็นว่าวุฒิสภาทำหน้าที่ไม่เหมาะสม โดยให้เหตุผลว่า วุฒิสภาทำงานไม่รอบคอบจนเกิดปัญหาแล้วยังไม่พยายามแก้ไขให้
ลุล่วง ทำหน้าที่ไม่โปร่งใสจนดูเหมือนมีผลประโยชน์แอบแฝง ควรมีคำตอบมาอธิบายแก่ประชาชนให้ชัดเจนกว่านี้ ควรตีความเรื่องผู้ว่าการ สตง.
ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไม่ใช่ตามข้อกฎหมายอย่างเดียว และขาดความชัดเจนในการทำงานซึ่งอาจเป็นเพราะเลือกปฏิบัติหรือมีความรู้ด้าน
กฎหมายไม่ดีพอ
- ร้อยละ 5.4 ระบุว่าไม่แน่ใจ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวมีความสลับซับซ้อน
4. นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 84.9 ไม่มั่นใจว่าวุฒิสภาจะสามารถตัดสินใจหาทางออกในกรณีผู้ว่าการ สตง.ได้อย่าง
เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของประชาชน (โดยแบ่งเป็นไม่ค่อยมั่นใจร้อยละ 65.7 และไม่มั่นใจเลยร้อยละ 19.2 ) ขณะที่ร้อยละ 15.1 ระบุว่ามั่น
ใจ (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมั่นใจร้อยละ 13.6 มั่นใจมากร้อยละ 1.5)
5. ความเห็นต่อการทำหน้าที่หลัก 4 ประการของวุฒิสภาชุดปัจจุบัน ได้แก่การกลั่นกรองกฎหมาย การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการ
เมือง การตรวจสอบฝ่ายบริหาร และการแต่งตั้งกรรมการองค์กรอิสระ พบว่า กลุ่มตัวอย่างไม่พอใจการทำหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มากที่สุด (ร้อยละ 65.7) รองลงมาได้แก่การแต่งตั้งกรรมการองค์กรอิสระ (ร้อยละ 65.2) การตรวจสอบฝ่ายบริหาร (ร้อยละ 60.1) และ
การกลั่นกรองกฎหมาย (ร้อยละ 45.6) ตามลำดับ
6. สำหรับสิ่งที่ต้องการฝากถึงวุฒิสภาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานก่อนครบวาระในอีก 6 เดือนข้างหน้า ได้แก่ ควรหันหน้าเข้าหา
กันและร่วมมือกันแก้ปัญหาของชาติบ้านเมืองให้มากกว่านี้ ควรทำงานให้มีความชัดเจนโปร่งใสกว่าที่ผ่านมา ควรรีบหาข้อยุติเรื่องผู้ว่าการ สตง.โดย
เร็ว และขอให้สมาชิกวุฒิสภากล้าแสดงจุดยืนของตัวเองให้มากขึ้น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 243 44.1
หญิง 308 55.9
อายุ :
20 — 25 ปี 173 31.4
26 — 35 ปี 211 38.3
36 — 45 ปี 119 21.6
46 ปีขึ้นไป 48 8.7
อาชีพ :
นักวิชาการ 78 14.2
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 170 30.9
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 195 35.4
นิสิต/นักศึกษาปริญญาโท 108 19.6
ตารางที่ 2: ความคิดเห็นต่อการที่นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา สั่งปิดการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม
ที่ผ่านมาโดยไม่ได้มีการพิจารณาเรื่องการใช้อำนาจตีความรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นที่สุดของการแต่งตั้ง
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
จำนวน ร้อยละ
เป็นการกระทำที่เหมาะสมแล้ว เพราะ
- เป็นการทำหน้าที่ภายใต้ขอบเขตของอำนาจที่มีอยู่ 34 6.2
เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เนื่องจาก
- เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ
- เป็นการหนีปัญหาที่ตนเองมีส่วนสร้างขึ้นมา
- เป็นการปัดภาระให้พ้นตัวโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ
- เป็นการปิดกั้นความคิดเห็นของสมาชิกเสียงข้างน้อย
- ควรประชุมต่อเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในส่วนของวุฒิสภาเสียก่อน 339 61.5
ไม่แน่ใจ 178 32.3
ตารางที่ 3: ความไว้วางใจให้นายสุชน ชาลีเครือ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานวุฒิสภาต่อไปจนครบวาระ
ในวันที่ 21 มีนาคม 2549
จำนวน ร้อยละ
ไว้วางใจ 39 7.1
ไม่ไว้วางใจ 298 54.1
ไม่มีความเห็น 214 38.8
ตารางที่ 4: ความคิดเห็นต่อการทำหน้าที่ที่ผ่านมาของวุฒิสภาในส่วนของการแต่งตั้งผู้ว่าการ สตง.
จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม เนื่องจาก
- เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
- ต้นเหตุของปัญหาไม่ได้อยู่ที่วุฒิสภา 114 20.7
ไม่เหมาะสม เนื่องจาก
- วุฒิสภาทำงานไม่รอบคอบจนเกิดปัญหาแล้วยังไม่พยายามแก้ไขให้ลุล่วง
- ทำหน้าที่ไม่โปร่งใสจนดูเหมือนมีผลประโยชน์แอบแฝง
- ควรมีคำตอบมาอธิบายแก่ประชาชนให้ชัดเจนกว่านี้
- ควรตีความเรื่องผู้ว่าการ สตง.ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไม่ใช่ตามข้อกฎหมายอย่างเดียว
- ขาดความชัดเจนในการทำงานซึ่งอาจเป็นเพราะเลือกปฏิบัติหรือมีความรู้ด้านกฎหมายไม่ดีพอ 407 73.9
ไม่แน่ใจ 30 5.4
ตารางที่ 5: ความมั่นใจว่าวุฒิสภาชุดปัจจุบันจะสามารถตัดสินใจหาทางออกต่อกรณีผู้ว่าการ สตง.ได้อย่างเหมาะสม
และเป็นที่ยอมรับของสังคม
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจมาก 8 1.5
ค่อนข้างมั่นใจ 75 13.6
ไม่ค่อยมั่นใจ 362 65.7
ไม่มั่นใจเลย 106 19.2
ตารางที่ 6: ความเห็นต่อการทำหน้าที่หลัก 4 ประการของวุฒิสภา
พอใจร้อยละ (จำนวน) ไม่พอใจร้อยละ (จำนวน) ไม่มีความเห็น ร้อยละ(จำนวน)
การกลั่นกรองกฎหมาย 43.9 (242) 45.6 (251) 10.5 (58)
การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 22.4 (123) 65.7 (362) 12.0 (66)
การตรวจสอบฝ่ายบริหาร 28.0 (154) 60.1 (331) 12.0 (66)
การแต่งตั้งกรรมการองค์กรอิสระ อาทิสตง. กสช. กกต. และ ปปช. 23.3 (128) 65.2 (359) 11.6 (64)
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-
เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนที่ติดตามข่าวการทำงานของวุฒิสภาในประเด็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
(สตง.) ดังต่อไปนี้
1. ความเหมาะสมในการสั่งปิดการประชุมของประธานวุฒิสภาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมาโดยไม่ได้มีการสรุปเรื่องการใช้อำนาจของ
วุฒิสภาตีความรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยความเป็นที่สุดของการแต่งตั้งคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เป็นผู้ว่าการ สตง.
2. ความไว้วางใจให้นายสุชน ชาลีเครือ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานวุฒิสภาต่อไปจนครบวาระ
3. ความเหมาะสมในการทำหน้าที่ที่ผ่านมาของวุฒิสภาในประเด็นเรื่องการแต่งตั้งผู้ว่าการ สตง.
4. ความมั่นใจว่าวุฒิสภาจะสามารถตัดสินใจหาทางออกกรณีการแต่งตั้งผู้ว่าการ สตง.ได้อย่างเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของสังคม
5. ความเห็นต่อการทำหน้าที่หลัก 4 ประการของวุฒิสภาชุดปัจจุบัน
6. สิ่งที่ต้องการฝากถึงวุฒิสภาเพื่อเป็นแนวทางการทำงานก่อนครบวาระในอีก 6 เดือนข้างหน้า
ระเบียบวิธีการสำรวจ
การสุ่มตัวอย่าง
การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างนักวิชาการ ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน และนิสิตนักศึกษาปริญญาโทสาขารัฐ
ศาสตร์และนิติศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ติดตามข่าวการทำงานของวุฒิสภาในประเด็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
(สตง.) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 551 คน เป็นชายร้อยละ 44.1 หญิงร้อยละ 55.9
กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 20-25 ปีร้อยละ 31.4 อายุ 26-35 ปีร้อยละ 38.3 อายุ 36-45 ปีร้อยละ 21.6 และอายุ 46 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 8.7
กลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการร้อยละ 14.2 ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 30.9 พนักงานลูกจ้างบริษัท
เอกชนร้อยละ 35.4 และนิสิตนักศึกษาปริญญาโทร้อยละ 19.6
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)
ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน ฑ 5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : 4-5 ตุลาคม 2548
วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ : 5 ตุลาคม 2548
สรุปผลการสำรวจ
1. เมื่อถามความเห็นต่อการที่นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภาสั่งปิดการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมาโดยไม่ได้มีการ
สรุปเรื่องการใช้อำนาจของวุฒิสภาตีความรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยความเป็นที่สุดของการแต่งตั้งคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
(สตง.) นั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.5 เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องไม่เหมาะสม เพราะ เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ หนีปัญหาที่ตนเองมี
ส่วนสร้างขึ้นมา ปัดภาระให้พ้นตัวโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ ปิดกั้นความคิดเห็นของสมาชิกเสียงข้างน้อย และควรมีการประชุมต่อเพื่อ
ให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในส่วนของวุฒิสภาเสียก่อน ขณะที่ร้อยละ 6.2 เห็นว่าเหมาะสม เพราะ เป็นการทำหน้าที่ภายใต้ขอบเขตของอำนาจที่มีอยู่
และร้อยละ 32.3 ไม่แน่ใจ
2. ส่วนความไว้วางใจให้นายสุชน ชาลีเครือ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานวุฒิสภาต่อไปจนครบวาระในวันที่ 21 มีนาคม 2549 นั้น
ร้อยละ 54.1 ระบุว่าไม่ไว้วางใจ มีเพียงร้อยละ 7.1 ที่ไว้วางใจ และร้อยละ 38.8 ไม่มีความเห็น
3. สำหรับความคิดเห็นต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสภาในเรื่องการแต่งตั้งผู้ว่าการ สตง. สรุปผลได้ดังนี้
- ร้อยละ 20.7 เห็นว่าวุฒิสภาทำหน้าที่ดังกล่าวได้เหมาะสมแล้ว โดยให้เหตุผลว่า เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และต้นเหตุของ
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่วุฒิสภา
- ร้อยละ 73.9 เห็นว่าวุฒิสภาทำหน้าที่ไม่เหมาะสม โดยให้เหตุผลว่า วุฒิสภาทำงานไม่รอบคอบจนเกิดปัญหาแล้วยังไม่พยายามแก้ไขให้
ลุล่วง ทำหน้าที่ไม่โปร่งใสจนดูเหมือนมีผลประโยชน์แอบแฝง ควรมีคำตอบมาอธิบายแก่ประชาชนให้ชัดเจนกว่านี้ ควรตีความเรื่องผู้ว่าการ สตง.
ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไม่ใช่ตามข้อกฎหมายอย่างเดียว และขาดความชัดเจนในการทำงานซึ่งอาจเป็นเพราะเลือกปฏิบัติหรือมีความรู้ด้าน
กฎหมายไม่ดีพอ
- ร้อยละ 5.4 ระบุว่าไม่แน่ใจ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวมีความสลับซับซ้อน
4. นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 84.9 ไม่มั่นใจว่าวุฒิสภาจะสามารถตัดสินใจหาทางออกในกรณีผู้ว่าการ สตง.ได้อย่าง
เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของประชาชน (โดยแบ่งเป็นไม่ค่อยมั่นใจร้อยละ 65.7 และไม่มั่นใจเลยร้อยละ 19.2 ) ขณะที่ร้อยละ 15.1 ระบุว่ามั่น
ใจ (โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมั่นใจร้อยละ 13.6 มั่นใจมากร้อยละ 1.5)
5. ความเห็นต่อการทำหน้าที่หลัก 4 ประการของวุฒิสภาชุดปัจจุบัน ได้แก่การกลั่นกรองกฎหมาย การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการ
เมือง การตรวจสอบฝ่ายบริหาร และการแต่งตั้งกรรมการองค์กรอิสระ พบว่า กลุ่มตัวอย่างไม่พอใจการทำหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มากที่สุด (ร้อยละ 65.7) รองลงมาได้แก่การแต่งตั้งกรรมการองค์กรอิสระ (ร้อยละ 65.2) การตรวจสอบฝ่ายบริหาร (ร้อยละ 60.1) และ
การกลั่นกรองกฎหมาย (ร้อยละ 45.6) ตามลำดับ
6. สำหรับสิ่งที่ต้องการฝากถึงวุฒิสภาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานก่อนครบวาระในอีก 6 เดือนข้างหน้า ได้แก่ ควรหันหน้าเข้าหา
กันและร่วมมือกันแก้ปัญหาของชาติบ้านเมืองให้มากกว่านี้ ควรทำงานให้มีความชัดเจนโปร่งใสกว่าที่ผ่านมา ควรรีบหาข้อยุติเรื่องผู้ว่าการ สตง.โดย
เร็ว และขอให้สมาชิกวุฒิสภากล้าแสดงจุดยืนของตัวเองให้มากขึ้น
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
จำนวน ร้อยละ
เพศ :
ชาย 243 44.1
หญิง 308 55.9
อายุ :
20 — 25 ปี 173 31.4
26 — 35 ปี 211 38.3
36 — 45 ปี 119 21.6
46 ปีขึ้นไป 48 8.7
อาชีพ :
นักวิชาการ 78 14.2
ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 170 30.9
พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน 195 35.4
นิสิต/นักศึกษาปริญญาโท 108 19.6
ตารางที่ 2: ความคิดเห็นต่อการที่นายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา สั่งปิดการประชุมวุฒิสภาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม
ที่ผ่านมาโดยไม่ได้มีการพิจารณาเรื่องการใช้อำนาจตีความรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นที่สุดของการแต่งตั้ง
คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
จำนวน ร้อยละ
เป็นการกระทำที่เหมาะสมแล้ว เพราะ
- เป็นการทำหน้าที่ภายใต้ขอบเขตของอำนาจที่มีอยู่ 34 6.2
เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เนื่องจาก
- เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ
- เป็นการหนีปัญหาที่ตนเองมีส่วนสร้างขึ้นมา
- เป็นการปัดภาระให้พ้นตัวโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ
- เป็นการปิดกั้นความคิดเห็นของสมาชิกเสียงข้างน้อย
- ควรประชุมต่อเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในส่วนของวุฒิสภาเสียก่อน 339 61.5
ไม่แน่ใจ 178 32.3
ตารางที่ 3: ความไว้วางใจให้นายสุชน ชาลีเครือ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานวุฒิสภาต่อไปจนครบวาระ
ในวันที่ 21 มีนาคม 2549
จำนวน ร้อยละ
ไว้วางใจ 39 7.1
ไม่ไว้วางใจ 298 54.1
ไม่มีความเห็น 214 38.8
ตารางที่ 4: ความคิดเห็นต่อการทำหน้าที่ที่ผ่านมาของวุฒิสภาในส่วนของการแต่งตั้งผู้ว่าการ สตง.
จำนวน ร้อยละ
เหมาะสม เนื่องจาก
- เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
- ต้นเหตุของปัญหาไม่ได้อยู่ที่วุฒิสภา 114 20.7
ไม่เหมาะสม เนื่องจาก
- วุฒิสภาทำงานไม่รอบคอบจนเกิดปัญหาแล้วยังไม่พยายามแก้ไขให้ลุล่วง
- ทำหน้าที่ไม่โปร่งใสจนดูเหมือนมีผลประโยชน์แอบแฝง
- ควรมีคำตอบมาอธิบายแก่ประชาชนให้ชัดเจนกว่านี้
- ควรตีความเรื่องผู้ว่าการ สตง.ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไม่ใช่ตามข้อกฎหมายอย่างเดียว
- ขาดความชัดเจนในการทำงานซึ่งอาจเป็นเพราะเลือกปฏิบัติหรือมีความรู้ด้านกฎหมายไม่ดีพอ 407 73.9
ไม่แน่ใจ 30 5.4
ตารางที่ 5: ความมั่นใจว่าวุฒิสภาชุดปัจจุบันจะสามารถตัดสินใจหาทางออกต่อกรณีผู้ว่าการ สตง.ได้อย่างเหมาะสม
และเป็นที่ยอมรับของสังคม
จำนวน ร้อยละ
มั่นใจมาก 8 1.5
ค่อนข้างมั่นใจ 75 13.6
ไม่ค่อยมั่นใจ 362 65.7
ไม่มั่นใจเลย 106 19.2
ตารางที่ 6: ความเห็นต่อการทำหน้าที่หลัก 4 ประการของวุฒิสภา
พอใจร้อยละ (จำนวน) ไม่พอใจร้อยละ (จำนวน) ไม่มีความเห็น ร้อยละ(จำนวน)
การกลั่นกรองกฎหมาย 43.9 (242) 45.6 (251) 10.5 (58)
การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 22.4 (123) 65.7 (362) 12.0 (66)
การตรวจสอบฝ่ายบริหาร 28.0 (154) 60.1 (331) 12.0 (66)
การแต่งตั้งกรรมการองค์กรอิสระ อาทิสตง. กสช. กกต. และ ปปช. 23.3 (128) 65.2 (359) 11.6 (64)
--ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์--
-พห-